fbpx
Search
Close this search box.

การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตแค่ไหน และเราจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

         การใช้โทรศัพท์มือถือของคนทั้งโลกมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และในปี 2564 มีการใช้มือถือทั่วโลกมากกว่าจำนวนประชากรบนโลกใบนี้ และด้วยเหตุนี้เองไม่แปลกนักที่เราจะเห็นว่า การทำธุรกรรมต่างๆ บนมือถือ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และคาดว่าปี 2568 จะมีการใช้งาน หรือทำธุรกรรรมผ่านมือถือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตแค่ไหน_และเราจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง_-02

การทำธุรกรรมหรือการชำระเงินมือถือคืออะไร

         การทำธุรกรรมหรือการชำระเงินผ่านมือถือ หรือ เรียกว่า mCommerce เป็นหนึ่งในการทำธุรกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตกต่างกับ eCommerce ตรงที่เป็นการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ และด้วยความคุ้นชิน สะดวกสบาย และเราทุกคนพกโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลา ทำให้การทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องที่ง่าย และมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายอย่างทั่วโลก

โดยพื้นฐานแล้วการทำธุรกรรม หรือการชำระเงินผ่านทางมือถือ จะมี 3 ประเภทหลักๆ คือ

1. Mobile Shopping

           Mobile Shopping คือ ตลาด eCommerce ที่ปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือซื้อของโดยเฉพาะ หรือเว็บไซต์เองก็ปรับตัวให้เหมาะกับการใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ ไม่เว้นแม้แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เพิ่มฟีเจอร์การช้อปปิ้งเข้ามา เช่น Market Place ของ Facebook Tiktok shop ของ Tiktok

2. Mobile Banking

            Mobile Banking คือ ธนาคารออนไลน์ ที่เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และสามารถเข้าถึงบริการของธนาคารนั้นได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา

3. Mobile Payments หรือ e-Wallet

         Mobile Payments หรือ e-Wallet คือ กระเป๋าเงินที่อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน รวมไปถึง การชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส การโอนเงิน หรือบริการที่สามารถชำระสินค้าหรือบริการได้ผ่านแอปพลิเคชัน

          ความหมายในอีกนัยหนึ่ง การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้เราสามารถซื้อและขายสินค้าได้จากเกือบทุกที่ ทุกเวลานั่นเอง

ส่วนแบ่งการตลาดของการทำธุรกรรม หรือการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

         ยอดขายของตลาด eCommerce มาจากการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มากถึง 65 % จากตลาด eCommerce ทั่วโลก ซึ่งในเอเชียมีการทำธุรกรรมผ่านมือถือมากเป็นอันดับ 1 จาก 7 ทวีป คือ 79.7% ของตลาด eCommerce

ภูมิภาค% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซค้าปลีกทั้งหมด
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก79.7%
ตะวันออกกลางและแอฟริกา65.0%
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้63.5%
ละตินอเมริกา48.8%
ยุโรปตะวันตก45.5%
ยุโรปกลางและตะวันออก38.9%
อเมริกาเหนือ38.2%

         เพราะอะไรทำไมในภูมิภาคเอเชียถึงมีการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือมากเป็นอันดับ 1  visualcapitalist เผยว่า เหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจากเป็นทวีปที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรน้อย และมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี โดยคนมีคนที่ อายุ 19 – 24 ปี คือเป็น 19% ของประชากร

         ควบคู่ไปกับความมั่งคั่งระดับสูงของเอเชียและความสามารถใน การแข่งขันทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน เป็นคำตอบที่อธิบายได้เป็นอย่างดีว่าทำไม mCommerce หรือการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

          แม้ว่า mCommerce หรือการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ของแต่ละภูมิภาคจะดูแตกต่างกันเล็กน้อย แต่คาดว่าการเติบโตไปทั่วโลก ในอีก 3 ปีของข้างหน้า ตลาด mCommerce ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตเป็น 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเติบโตปีล่ะ 34%

ข้อดี - ข้อเสียของการทำธุรกรรม หรือการชำระเงินผ่านทางมือถือ

         แน่นอนว่าจากความแพร่หลายที่เพิ่มขึ้นของ mCommerce หรือการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ มีผลกระทบเชิงบวกหลายประการพร้อมกับความท้าทายหลายอย่างที่เกิดขึ้น

         ผลกระทบในเชิงบวกที่สำคัญคือความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งซื้อของผ่านมือถือช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการช้อปปิ้งแบบตามต้องการ ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือ

          แถมยังช่วยสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่น ตัวอย่างเช่น การจ่ายเงินผ่าน e-Wallet ที่เราไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูล บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตให้เสียเวลา เพราะเพียงคลิกเดียวสามารถชำระค่าสินค้า หรือบริการได้อย่างง่ายดาย

          อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างรวดเร็วยังหมายความว่าธุรกิจต่างๆ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิธีการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งคน และอุปกรณ์เพื่อรองรับการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมในแนว mCommerce นั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่างๆ จำเป็นที่จะต้องตามให้ทัน เพื่อไม่ให้ตกเทรนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ที่มา : visualcapitalist

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่