fbpx
Search
Close this search box.

เตือนภัย ใช้ e-Payment หรือโอนเงิน อย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจร

      แม้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจะถูกพัฒนาไปอย่างมาก แต่กลับยังมีข่าวเกี่ยวกับการโดนโกง หรือตกเป็นเหยี่อของโจรจากการถูกหลอกให้โอนเงินอยู่แทบทุกวัน ดังนั้นเราลองมาดูกันครับว่า เราจะป้องกันตัวเราเองจากมิจฉาชีพได้อย่างไร
เตือนภัย_ใช้_e-Payment_หรือโอนเงิน_อย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจร-02

1. ทำธุรกรรมการเงิน หรือซื้อของออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ

      เพราะว่าอาจจะเข้าเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาให้เหมือนกับเว็บไซต์จริงๆ เพื่อดักข้อมูลของเรา เราต้องสังเกต URL ที่มี “HTTPS” ย่อมาจาก “Hypertext Transfer Protocol Secure” เป็นวิธีการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีการเข้ารหัส ทำให้ผู้อื่นไม่สามารถอ่านข้อมูลที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่งไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ได้ ดังนั้น เว็บไซต์ที่ใช้ HTTPS (https://…) จึงมีความปลอดภัยกว่า

2. ไม่ส่งต่อ OTP ให้กับบุคคลอื่น ไม่ว่ากรณีใดๆ

      เนื่องจาก OTP เป็นข้อมูลที่สำคัญมากๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่จะยืนยันตัวตนของเรา

3. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

        รวมถึงข้อมูลทางการเงิน เช่น เลขบัญชี หมายเลขบัตรเดบิต บัตรเครดิต เลขท้ายหลังบัตรเครดิต (CVV) แก่บุคคลอื่น (ธนาคารจะไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ SMS และโซเชียลมีเดีย)

4. หลีกเลี่ยงการติดตั้งโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่เสี่ยง

         ก่อนผู้ใช้งานติดตั้งแอปพลิเคชันลงสมาร์ทโฟน ต้องแน่ใจว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงที่ออกโดยธนาคารที่ให้บริการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากชื่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชันที่ระบุอยู่ด้านล่างก่อนจะดาวน์โหลด และเมื่อเข้าใช้งานจะต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ไม่มีมัลแวร์(Malware)แฝงอยู่ ซึ่งสามารถป้องกันด้วยการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ถูกกฏหมาย โดยผู้ใช้งานมือถือป้องกันตัวเองเบื้องต้น ด้วยการตั้งรหัสผ่านไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหรือการลากเส้น แต่ต้องตั้งรหัสผ่านให้ยากต่อการลากเส้นและตั้งรหัสผ่านให้ยากต่อการคาดเดา

5. อย่าคลิกลิงก์ต้องสงสัยที่ส่งมาทางอีเมล หรือ SMS ในการเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์

         ให้สังเกตตัวอักษร HTTPS บนเบราเซอร์ก่อนป้อนข้อมูลส่วนตัว หรือเข้าสู่ระบบ สังเกตชื่อเว็บไซต์ว่าถูกต้องหรือไม่ และควรพิมพ์ URL ด้วยตัวเองไม่ควรคลิกจากลิงก์ที่ส่งมา เพราะอาจจะเป็นการหลอกเพื่อโจรกรรมข้อมูลไปสร้างความเสียหาย จากการใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หรือโมบายแบงก์กิ้งได้

6. เลือกแอปพลิเคชัน หรือบริการทางการเงินที่น่าเชื่อถือ

          สังเกตได้จากชื่อบริษัท หรือชื่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชันนั้นๆ เพื่อให้เราแน่ใจว่า แอปพลิเคชันมีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ที่จะทำธุรกรรมทางการเงิน

7. ไม่ควรตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัสที่ง่ายต่อการคาดเดา

         เพราะง่ายต่อการถูกแฮค ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบของบริการทางการเงิน จนกระทั่งไวไฟของเราเอง ควรที่จะมีตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และตัวอักษรพิเศษ

8. การโอนเงิน หรือสแกน QR Code ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีว่าถูกต้องหรือไม่

       ส่วนใหญ่ตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ย่อมไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอาจจะเกิดจากการที่เราสแกน QR Code เพื่อจ่ายเงินร้านค้า หรือบริการต่างๆ ควรเช็คร้านค้านั้นๆให้ดี เพราะมีโอกาสที่มิจฉาชีพอาจจะสร้างร้านค้า และปลอมชื่อร้านปลอมขึ้นมา

           อย่างไรก็ตามมิจฉาชีพจะมีวิธีการโจรกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ หากเราสงสัยหรือไม่แน่ใจ ให้ทำการตรวจสอบโดยละเอียดก่อนทำธุรกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่