การขึ้น – ลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายที่หลายๆ ประเทศใช้เพื่อควบคุม และสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้กับประเทศนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง และคนในประเทศ แต่ก็ทำให้ต่างประเทศอย่างเราเองได้รับผลกระทบไปด้วย ได้รับผลกระทบอย่างไรลองมาดูกันครับ
นโยบายอัตราดอกเบี้ยคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของประเทศจะเป็นคนกำหนดให้กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ภายในประเทศดำเนินตามนโยบายดอกเบี้ยที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับนโยบายเงินฝาก และเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และส่งผลต่อการใช้จ่าย การลงทุน และการออมของคนในประเทศ และในท้ายที่สุดก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
คำตอบคือ นโยบายอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของพันธบัตร และผลตอบแทนพันธนบัตรนี้เอง ส่งผลโดยตรงต่อการขึ้นลงของค่าเงินประเทศนั้นๆโดยตรง และส่งผลต่อการแข็ง หรืออ่อนของค่าเงินแต่ละสกุลเมื่อเราทำการแลกเปลี่ยน
หลักการขึ้นลงของดอกเบี้ย อย่างที่กล่าวไปเมื่อข้างต้น นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่นโยบายที่ใช้เพื่อควบคุม และสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ดังนั้นการขึ้น – ลงของดอกเบี้ย จะขึ้นอยู่กับความต้องการเพิ่ม หรือลดปริมาณเงินให้ระบบเศรษฐกิจนั้นๆ โดยจะทำผ่านการซื้อขายพันธบัตร
คำถามคือ พันธบัตร คืออะไร พันธบัตรคือตราสารทางการเงินที่เป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกับหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และดอกเบี้ยของพันธบัตรจะถูกกำหนดโดยนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นเอง เราลองนึกภาพว่า เราเป็นเจ้าหนี้ ให้ลูกหนี้ยืมเงินโดยให้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงก็ยิ่งน่าให้ยืม ส่วนลูกหนี้ในที่นี้คือผู้ที่ขายพันธบัตร ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐบาล หรือธนาคาร
ดังนั้น การที่เราให้ยืมเงิน เงินในมือเราก็จะลดลงไปตามระยะเวลาที่เราให้ยืม และได้คืน พร้อมดอกเบี้ยนั้นเอง
ซึ่งหากเรามองในภาพใหญ่การที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้ผลตอบแทนพันธบัตรที่สูง หรือให้ดอกเบี้ยที่สูง ทำให้ประเทศนั้นน่าลงทุนเป็นอย่างมาก และจะทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาให้ประเทศอย่างมหาศาล และทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น แข็งค่าขึ้น
ตัวอย่างเช่น
ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า FEB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้สกุลเงิน USD มีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้เงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุน และทำให้ USD แข็งค่าขึ้นในที่สุด
อย่างที่เราทราบกันดีว่า USD เป็นสกุลเงินที่ทุกประเทศยอมรับให้เห็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ดังนั้น การที่สหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่า ส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินบ้านเรา ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทเราอ่อนค่าลง ทำให้การนำเข้าสินค้าแพงขึ้น หรือถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศเท่าเดิมต้องใช้เงินมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,015,944 บาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 7,468 ล้านบาท/เดือน ในอัตราแลกเปลี่ยน 33.2 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากในเดือนต่อมา เรานำเข้าน้ำมันเท่าเดิมแต่ค่าเงินเราอ่อนขึ้นเปลี่ยน 34.2 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เราต้องนำเข้าน้ำมันจาก 7,468 ล้านบาท/เดือน เพิ่มเป็น 7,692.93 ล้านบาท/เดือน
ดังนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อราคาในปั๊มน้ำมัน ทำให้เราเติมน้ำมันแพงขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้เราต้องใช้เงินไปกับการเติมน้ำมันมากขึ้น ส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น เงินการออมและเงินการลงทุนของเราที่ลดลงเป็นอย่างมาก ยังไม่รวมถึงภาคธุรกิจที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีกด้วย ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและบริการที่แพงขึ้น และในที่สุดเราเองที่เป็นผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้า หรือบริการสูงขึ้นอีกด้วยนั่นเอง
เพื่อนๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |