fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศ กระทบประเทศไทยมากกว่าที่เราคิด

            การขึ้น – ลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายที่หลายๆ ประเทศใช้เพื่อควบคุม และสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้กับประเทศนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง และคนในประเทศ แต่ก็ทำให้ต่างประเทศอย่างเราเองได้รับผลกระทบไปด้วย ได้รับผลกระทบอย่างไรลองมาดูกันครับ

ทำไมการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศ_กระทบประเทศไทยมากกว่าที่เราคิด_-02
สารบัญ

นโยบายอัตราดอกเบี้ยคืออะไร

             นโยบายอัตราดอกเบี้ยคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของประเทศจะเป็นคนกำหนดให้กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ภายในประเทศดำเนินตามนโยบายดอกเบี้ยที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับนโยบายเงินฝาก และเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และส่งผลต่อการใช้จ่าย การลงทุน และการออมของคนในประเทศ และในท้ายที่สุดก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ

แล้วนโยบายอัตราดอกเบี้ย " เกี่ยวอะไรกับเรา "

                คำตอบคือ นโยบายอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของพันธบัตร และผลตอบแทนพันธนบัตรนี้เอง ส่งผลโดยตรงต่อการขึ้นลงของค่าเงินประเทศนั้นๆโดยตรง และส่งผลต่อการแข็ง หรืออ่อนของค่าเงินแต่ละสกุลเมื่อเราทำการแลกเปลี่ยน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วส่งผลกระทบได้อย่างไร เพราะอะไร

             หลักการขึ้นลงของดอกเบี้ย อย่างที่กล่าวไปเมื่อข้างต้น นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่นโยบายที่ใช้เพื่อควบคุม และสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ดังนั้นการขึ้น – ลงของดอกเบี้ย จะขึ้นอยู่กับความต้องการเพิ่ม หรือลดปริมาณเงินให้ระบบเศรษฐกิจนั้นๆ โดยจะทำผ่านการซื้อขายพันธบัตร

             คำถามคือ พันธบัตร คืออะไร พันธบัตรคือตราสารทางการเงินที่เป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกับหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และดอกเบี้ยของพันธบัตรจะถูกกำหนดโดยนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นเอง เราลองนึกภาพว่า เราเป็นเจ้าหนี้ ให้ลูกหนี้ยืมเงินโดยให้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงก็ยิ่งน่าให้ยืม ส่วนลูกหนี้ในที่นี้คือผู้ที่ขายพันธบัตร ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐบาล หรือธนาคาร

ดังนั้น การที่เราให้ยืมเงิน เงินในมือเราก็จะลดลงไปตามระยะเวลาที่เราให้ยืม และได้คืน พร้อมดอกเบี้ยนั้นเอง

              ซึ่งหากเรามองในภาพใหญ่การที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้ผลตอบแทนพันธบัตรที่สูง หรือให้ดอกเบี้ยที่สูง ทำให้ประเทศนั้นน่าลงทุนเป็นอย่างมาก และจะทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาให้ประเทศอย่างมหาศาล และทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น แข็งค่าขึ้น

ตัวอย่างเช่น

            ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า FEB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้สกุลเงิน USD มีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้เงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุน และทำให้ USD แข็งค่าขึ้นในที่สุด

กระทบกับประเทศไทยเราอย่างไร

               อย่างที่เราทราบกันดีว่า USD เป็นสกุลเงินที่ทุกประเทศยอมรับให้เห็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ดังนั้น การที่สหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่า ส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินบ้านเรา ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทเราอ่อนค่าลง ทำให้การนำเข้าสินค้าแพงขึ้น หรือถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศเท่าเดิมต้องใช้เงินมากขึ้น

               ตัวอย่างเช่น  ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,015,944 บาร์เรล/วัน  คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 7,468 ล้านบาท/เดือน ในอัตราแลกเปลี่ยน 33.2 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากในเดือนต่อมา เรานำเข้าน้ำมันเท่าเดิมแต่ค่าเงินเราอ่อนขึ้นเปลี่ยน 34.2 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เราต้องนำเข้าน้ำมันจาก 7,468 ล้านบาท/เดือน เพิ่มเป็น 7,692.93 ล้านบาท/เดือน 

           ดังนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อราคาในปั๊มน้ำมัน ทำให้เราเติมน้ำมันแพงขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้เราต้องใช้เงินไปกับการเติมน้ำมันมากขึ้น ส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น เงินการออมและเงินการลงทุนของเราที่ลดลงเป็นอย่างมาก ยังไม่รวมถึงภาคธุรกิจที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีกด้วย ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและบริการที่แพงขึ้น และในที่สุดเราเองที่เป็นผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้า หรือบริการสูงขึ้นอีกด้วยนั่นเอง 

เพื่อนๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่