fbpx
Search
Close this search box.

เกิดวิกฤต ฟองสบู่แตก ต้องรับมือแบบไหน

“ฟองสบู่แตก” คำนี้หลายคนอาจเคยได้ยินเวลาดูข่าวเรื่องเศรษฐกิจหรือการลงทุน ซึ่งคำว่า ฟองสบู่แตก นี้ก็สร้างผลกระทบต่อนักลงทุนมามากมาย โดยครั้งนี้ ACU PAY จะพาไปทำความรู้จักว่าฟองสบู่แตก คืออะไร ส่งผลกับเราอย่างไร และจะรับมือแบบไหนได้บ้าง

เนื้อหา

ฟองสบู่แตก คืออะไร ?

“ภาวะฟองสบู่แตก” หมายถึงสถานการณ์ที่ราคาของสินทรัพย์ลงทุน เพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาเป็นจริง หรือเฟ้อเกินไปจนเริ่มไม่สมเหตุสมผล โดยทั่วไปเหตุการณ์นี้มักเกิดจากนักลงทุนที่มีความพยายามเก็งกำไรสินทรัพย์นั้น จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวและระเบิดออก ราคาสินทรัพย์ลงทุนจึงรูดลงอย่างรวดเร็วไม่ทันได้ตั้งตัว เปรียบเสมือนฟองสบู่ ที่ถูกดันจนลอยตัวขึ้นสูงจนแตกและเหลือเพียงความว่างเปล่า 

ตัวอย่างภาวะฟองสบู่แตก

Dot Com Crisis 

นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดความเสียหายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ย้อนกลับไปช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ยุคที่การใช้อมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกำลังเพิ่มมากขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจึงวิ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่ง จากการแห่ซื้อหุ้นบริษัทอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในตอนแรกก็สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนตามคาด

แต่พอนานวันเข้านักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเริ่มเข้ามาลงทุนตามกระแส ราคาหุ้นจึงพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะหุ้นตัวที่ลงท้ายว่า ดอทคอม (.com) ท้ายที่สุดก็เกิดเหตุการณ์ ฟองสบู่แตก หรือที่เรียกกันว่า ฟองสบู่ดอทคอม (Dot-com Bubble) ส่งผลให้ตลาดหุ้นตกจากจุดสูงสุด 78% และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งล้มละลาย

วิธีรับมือฟองสบู่แตกสำหรับคนทั่วไป

  1. ทบทวนวัตถุประสงค์ในการลงทุนของตัวเองทุกครั้งก่อนจะลงทุน 

    เพราะเมื่อเราเห็นว่าภาวะฟองสบู่กับกำลังจะเกิดขึ้น เราจะเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ในการลงทุนสินทรัพย์นี้คืออะไร 

  2. ไม่ลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้จริง หลีกเลี่ยงการลงทุนกับสิ่งที่ฟังต่อ ๆ กันมา หรือเป็นสิ่งที่เราไม่มีความรู้ ซึ่งยิ่งถ้าจุดเริ่มต้นของการลงทุนนี้มาจากการฟังต่อ ๆ กันมา เพราะเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงและรวดเร็ว นี่เป็นสัญญาณว่าเรากำลังร่วมเป่าฟองสบู่นี้ให้ลอยสูงขึ้นอยู่ 
  3. หากจำเป็นต้องลงทุน ให้ลงทุนในสินทรัพย์นั้นทีละน้อย จำกัดสัดส่วนการลงทุนให้น้อยลงและกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่ให้ความสบายใจได้มากกว่าแทน หรือถ้าวิเคราะห์แล้ว พบว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นไม่ตรงกับเป้าหมายการลงทุนของเรา ก็อาจให้ออกจากการลงทุนนั้นตั้งแต่เนิ่น ๆ 
  4. เลือกลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ

    สำหรับใครที่สนใจอยากลงทุนแต่กังวลเรื่องความเสี่ยง แนะนำให้ลองลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อป้องกันเงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าเงินในมือเราลดลงในทุกๆ ปี หรือรอตลาดฟื้นค่อยเริ่มลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

  5.  มีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

    สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยชีวิตจากวิกฤตฟองสบู่แตกนี้ คือการมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เพื่อที่เราจะได้มีเงินใช้จ่ายและดำเนินชีวิตต่อไปในสภาวะฟองสบู่แตกนี้ได้

นี่คือเรื่องราวของคำว่า ภาวะฟองสบู่แตก คำศัพท์ที่นักลงทุนมือใหม่หลายคนอาจพบเจอได้ เพื่อให้ผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปได้อย่างปลอดภัย ก่อนลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ควรศึกษาและวางแผนการลงทุนให้ถูกวิธีทุกครั้ง 

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่