fbpx
Search
Close this search box.

เปิดเหตุผล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขอปรับราคาในรอบ 14 ปี เป็น 8 บาท

เปิดเหตุผล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขอปรับราคาในรอบ 14 ปี เป็น 8 บาท

            เหล่าผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวอนรัฐ ขอไฟเขียวปรับขึ้นราคาเป็น 8 บาทต่อซอง ต้นเหตุเพราะอะไรบ้างที่ทำให้ต้องขอขึ้นราคาในรอบ 14 ปี 

สารบัญ

เหตุผลที่ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขอปรับราคา

ผู้ผลิต ‘ไวไว’

        คุณวีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ให้เหตุผลว่า  

  1. ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

  2. อีกหนึ่งผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะบริษัททำหน้าที่กระจายสินค้าเอง

  3. เกรงว่าค่าแรงที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

กล่าวต่อว่าบริษัทมีการตรึงราคามาโดยตลอด ทั้งที่ต้นทุนต่างๆ เงินเฟ้อ ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยที่ผ่านมา การบริหารจัดการต้นทุนเพื่ออยู่รอด บริษัทมีการลดการจัดโปรโมชันต่างๆ ตัดส่วนลดให้ร้านค้า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

เปิดใจถึงสถานการณ์ต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพุ่งขึ้นสูงมาก ทำให้บางเดือน ผลประกอบการ “สินค้าบางรายการ”(เอสเคยู) ของบริษัทอยู่ในโซนแดง หรือ “ขาดทุน”

ผู้ผลิต ‘ยำยำ’

       คุณกิตติพศ ชาญภาวรกิจ บริษัท วันไทย อุตสาหกรรม จำกัด ให้เหตุผลว่า 

  1. เพราะวัตถุดิบหลัก พุ่งสูงขึ้นมากตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ระบาด และพุ่งขึ้นทุกปี ล่าสุดขยับเพิ่มราว 40% คือ  แป้งสาลี ปาล์มน้ำมัน

  2. แจงว่าการขายในต่างประเทศมีการขึ้นราคาแล้วเป็น 2 เท่าของไทย

ผู้ผลิต ‘นิชชิน’

      ฮิจิริ ฟูกุโอกะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิชชิน ฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ให้เหตุผลว่า

  1. เผชิญกับปัญหาต้นทุนวัตถุดิบสูงเหมือนกับรายอื่นๆ
  2. นิชชินในประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐ อินเดีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนามฯ มีการปรับราคาไปแล้ว 5 – 12 % ในเดือนมิถุนายน
  3. “บริษัทคิดว่า การขยับราคาให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ผลิตมีกำไรสมเหตุสมผล เพื่อผลิตสินค้าส่งมอบถึงผู้บริโภคในตลาดอย่างต่อเนื่อง”

ผู้ผลิต ‘มาม่า’

        คุณพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักอำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) ให้เหตุผลว่า 

    1. เพราะภาวะต้นทุนพุ่งสูง กระทบการผลิตบะหมี่ฯ ทำให้เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ผู้ผลิตไม่เคยมานั่งบนเวทีเดียวกัน แต่ครั้งนี้ เพราะทุกรายไม่ไหวแล้วจริงๆ

    2. ที่ผ่านมาขยับราคาไม่ได้เพราะกฎหมาย บะหมี่ ฯ เป็นสินค้าจำเป็นและถูกควบคุมเข้มงวดต้องได้รับอนุมัติจากภาครัฐเท่านั้น

ผู้ผลิต ‘ซื่อสัตย์’

คุณปริญญา สิทธิดำรง กรรมการ บริษัท โชคชัยพิบูล จำกัด ให้เหตุผลว่า

    1. ภาวะต้นทุนการผลิตสินค้าถือว่าชนเพดาแล้วจริงๆ ทำให้บริษัทดำเนินการขอขึ้นราคาสินค้า 
    2. บริษัทเผชิญภาวะขาดทุนจริงๆ ไม่ขาดทุนแค่ตัวกำไร
    3. มีสินค้า 6 บาทมากกว่า 70% ที่ขายอยู่ในประเทศ และไม่สามารถขยันต้นทุนได้ตามสภาวะ “อยากให้กรมการค้าภายในพิจารณาเรื่องราคากับเราด้วย เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้”

         เพื่อนๆ คิดว่าจะมีสินค้าอะไรบ้างที่มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตัวเป็นวัตถุดิบหลักที่จะขยับราคาขึ้นต่อจากนี้บ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่