fbpx
Search
Close this search box.

สรุปแนวทางผ่อนหนี้บ้าน รถ สินเชื่อ อย่างไรในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

สรุปแนวทางผ่อนหนี้บ้าน รถ สินเชื่อ อย่างไรในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

            หลังจากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมา และตามมาด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคือภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จะจัดผ่อนอย่างไรมาดูกันครับ

สารบัญ

4 วิธีจัดการกับการผ่อนชำระหนี้

1. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมหนี้ (Debt Consolidation)

         เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรายย่อยพร้อมกัน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น การรวมหนี้โดยใช้บ้านเป็นหลักประกันจะช่วยลดภาระดอกเบี้ย และค่างวดลงได้ เพราะดอกเบี้ยบ้านจะมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า

2. การขอรีไฟแนนซ์ (Refinance)

          เหมาะกับผู้ให้กู้ยืมที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง เหมาะกับผู้มีภาระสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาระยะหนึ่งแล้ว

3. สำหรับผู้ขอกู้ใหม่อาจตัดสินใจเลือกสัญญากู้บ้านที่ให้ระยะเวลากู้นาน และเสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)

        โดยผ่อนด้วยดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งก่อนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด (Floating Rate) ในอนาคต หรือ สินเชื่อ Hybrid

4. จัดการรายรับ – รายจ่าย ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เพื่อนำเงินไปโปะค่าบ้าน

          ทั้งการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะช่วยให้เรามีเงินคงเหลือในแต่ละเดือนเพิ่มมากขึ้น (เงินคงเหลือ = รายรับ – รายจ่าย – ภาระผ่อนหนี้) พอมีเงินเหลือมากขึ้น เราก็สามารถนำเงินที่มีไปโปะหนี้เพิ่มเพื่อปลดหนี้ให้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายอีกด้วย

          เราอาจเริ่มจากการปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ อย่างค่าลอตเตอรี่หรือค่ากาแฟ ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เพราะหากสามารถลดได้ เช่น จากซื้อทุกวันเหลือสัปดาห์ละครั้ง หรือลดจำนวนเงินที่จ่ายต่อครั้งลง นอกจากจะดื่มด่ำกับกาแฟแก้วโปรดยิ่งขึ้นแล้ว ยังอาจมีเงินเหลือเป็นก้อนใหญ่จนเราตกใจก็เป็นได้ (ลองคำนวณจำนวนเงินคร่าว ๆ ได้ที่ โปรแกรม “เงินหายไปไหน”) นอกจากนี้ อาจจะมองหารายได้เสริมเพิ่มเติมจากสิ่งที่เราถนัดหรือสนใจด้วย เช่น ขายของออนไลน์ ขายเสื้อผ้า

หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร

          ถึงตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางในขณะนี้จะไม่ได้เร่งตัวขึ้น และตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดในเดือน ก.ค.จะอยู่ที่ 7.61% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย

          แต่ ธปท.มองว่าเงินเฟ้อของไทยยังไม่ผ่านจุดต่ำสุด เพราะรัฐบาลยังช่วยพยุงราคาอยู่ในบางส่วน นอกจากนั้น สิ่งที่ ธปท.เป็นห่วงคือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับสูง และในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากการส่งผ่านต้นทุนไปยังเงินเฟ้อพื้นฐานที่อาจมากและเร็วกว่าคาด ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนเงินเฟ้อลดต่ำลงในปีหน้า

          “การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการที่เราขึ้นดอกเบี้ยเร็วในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ กนง.มีช่องว่างที่จะค่อยๆปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะต่อไปได้โดยไม่ต้องกระชากเศรษฐกิจให้ชะลอลงแรงเพื่อเร่งกดเงินเฟ้อลง แม้จะมีการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า”

          และหลังจากการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ครั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าปีนี้ กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50-0.75% ไปที่ 1.00-1.25% และปีหน้าปรับขึ้นอีก 1% ไปหยุดที่ 2.00-2.25%

อ้างอิง ttb analytics BOT

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่