fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมต้องสนใจวิกฤตอสังหาฯ ในจีน

ทำไมต้องสนใจวิกฤตอสังหาฯ ในจีน

          ภาคอสังหาฯ คิดเป็น 1 ใน 3 ของ GDP ของจีน อุตสาหกรรมนี่ผสานรวมทั้งผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย การเช่าที่พัก นายหน้า/ตัวกลาง เช่นเดียวกับเหล่าผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน อาทิ ตู้เย็น เตาไฟฟ้า หรือเครื่องซักผ้า และยังนับรวมวัตถุดิบที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง

สารบัญ

          เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาสล่าสุดโตแค่ 0.4%YoY นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่าเศรษฐกิจจีนปีนี้อาจไม่เติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 5%YoY

          สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนโยบาย ZERO COVID ที่บังคับใช้การล็อกดาวน์หลายต่อหลายครั้ง และมาตรการจำกัดหลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบโดยตรงกับ รายรับ การออม และการลงทุน

          ด้วยขนาดของเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หมายความว่าการหยุดชะงักในตลาดหลักก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลกได้

          ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกังวลว่าผลกระทบนี้จะลามไปยังตลาดอื่น ๆ ธนาคารเองก็จะไม่ปล่อยกู้ ถ้าพวกเขามองว่าภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังจะดิ่งลงเหว

          “ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับนโยบาย” ดิง ฉวน หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจีนจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ กล่าว “ขณะที่ฟองสบู่อสังหาฯ ในที่อื่น ๆ ทั่วโลกเกิดขึ้นจากตลาด แต่สำหรับจีน รัฐบาลเป็นตัวการ”

          บริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน 30 แห่งผิดนับชำระหนี้ต่างประเทศ เอเวอร์แกรนด์ซึ่งผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 10 ล้านล้านบาท) S&P เตือนว่าหากยอดขายยังไม่เพิ่มสูงขึ้น จะมีอีกหลายบริษัทที่เดินตามรอยทางนี้

          ความต้องการซื้อบ้านไม่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากจีนเองกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ทั้งการขยายเมื่อง (urbanisation) และตัวเลขประชากรที่ชะลอลง

จีนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

          อสังหาริมทรัพย์เป็น 70% ของความมั่นคั่งในจีน และผู้ซื้อบ้านในจีนจะต่างจากบ้านเราคือ จะจ่ายเงินซื้อบ้านกับโครงการตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จ

          “พรีเซล” หรือการซื้อก่อนสร้างเหล่านี้คิดเป็น 70%-80% ของยอดขายบ้านทั้งหมดในจีน นายอีวานส์-พริตซาร์ด อธิบายเสริมว่า ผู้พัฒนาโครงการเองก็ต้องการเงินเหล่านั้นเพราะพวกเขาต้องบริหารหลายโครงการในเวลาเดียวกัน

          แต่ว่าคนจีนชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่เริ่มไม่ลงทุนในภาคอสังหาฯ แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง การว่างงาน และเงินเดือนที่ถูกลด สำหรับตอนนี้ มีความกลัวการถูกโกงเพิ่มขึ้นไปอีก

         เพราะสินเชื่อมากกว่า 220,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พัวพันอยู่กับโครงการอสังหาฯ ที่สร้างไม่เสร็จ ตามข้อมูลจากกลุ่มธนาคารเอเอ็นแซด 

          เมื่อปี 2020 รัฐบาลจีนออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ (three red lines) ซึ่งเข้าไปเจาะประเด็นเพดานเงินกู้ของบริษัทอสังหาฯ นั่นเป็นการตัดแหล่งเงินทุน และผลที่ตามมาคือการขาดความเชื่อมั่น จนนำไปสู่ภาวะที่ธนาคารไม่อยากปล่อยสินเชื่อ

รัฐบาลจีนทำอะไรอยู่

          หนึ่งในสิ่งที่ชัดเจนคือรัฐบาลกลางจีนผลักภาระให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นแก้ปัญหา ตอนนี้รัฐบาลท้องถิ่นเหล่านี้ทั้งเสนอให้มีการปรับลดเงินฝาก ส่วนลดหย่อนภาษี เงินอุดหนุนให้กับผู้ซื้อบ้าน รวมไปถึงเงินทุนช่วยเหลือผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ อย่างไรก็ดีความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นต้นทุนที่รัฐบาลท้องถิ่นต้องแบก และกำลังใช้งบกองทุนอยู่ และต้องไม่ลืมด้วยว่าปัจจุบันมีบริษัทผู้พัฒนาซื้อที่ดินน้อยลง นี่เป็นแหล่งรายได้สำคัญขอบรัฐบาลท้องถิ่นจีน

          สำนักข่าวไฟแนนซ์เชียล ไทมส์ รายงานว่ารัฐบาลจีนเพิ่งออกสินเชื่อวงเงินรวม 148,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 5.2 ล้านล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือผู้พัฒนาอสังหาฯ ขณะที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าลูกหนี้บ้านอาจได้ช่วงเวลาหยุดจ่ายหนี้โดยไม่ส่งผลกระทบกับข้อมูลเครดิตของพวกเขา

          ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ เพิ่งออกมาเตือนว่า การแทรกแซงตลาดอสังหาฯ ของรัฐบาลจะกระตุ้นได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น แต่ “นี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะยาว เรื่องจากรัฐบาลจีนและภาคการเงินถูกบังคับให้ต้องรักษาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ไร้ประสิทธิผล (และกำลังล้มเหลว)”

          นี่ไม่ใช่แค่วิกฤตการเงิน การไม่ผ่อนชำระหนี้ค่าบ้านเสี่ยงต่อการพัฒนาขึ้นไปเป็นปัญหาทางสังคม นายดิง ฉวน ชี้

          และนี่จะกลายเป็นปัญหาที่ผู้นำสี จิ้นผิง ต้องเผชิญในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าเขาจะดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศต่อเป็นวาระที่สาม

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป

          นักวิเคราะห์มองว่าเงินกู้ 5.2 ล้านล้านบาท น่าจะไม่เพียงพอ แคปิตอล อีโคโนสิกส์ ประเมินว่าบริษัททั้งหลายอาจต้องการเงินราว 444,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 16 ล้านล้านบาท) เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการที่หยุดชะงักอยู่ให้เสร็จสิ้น

           วิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่นี้เป็นหนึ่งในเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดที่เคยมีมาว่าเศรษฐกิจจีนเดินมาถึงทางแยกแล้ว

          “รัฐบาลทำทุกวิถีทางเพื่อหาแหล่งสนับสนุนการเติบโตใหม่ ๆ แต่ว่ามันเป็นเรื่องยากเนื่องจากเศรษฐกิจจีนเป็นประเทศพึ่งพาภาคอสังหาฯ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการส่งออก มาเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ” นายอีวานส์-พริตซาร์ด กล่าวว่า

           “ยุคสมัยแห่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนน่าจะสิ้นสุดลงแล้ว และเห็นได้ชัดเจนที่สุดอย่างที่เกิดกับภาคอสังหาฯ ตอนนี้”

ที่มา : bangkoknews

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่