fbpx
Search
Close this search box.

มาตรการ LTV ในปี 2566 จะเป็นอย่างไรบ้าง?

มาตรการ LTV ในปี 2566 จะเป็นอย่างไรบ้าง?

ใครที่กำลังจะกู้เงินซื้อบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไปห้ามพลาด!! นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทางธนาคารแห่งชาติหรือแบงก์ชาติในเรื่องของมาตรการ LTV ว่าจะกลับมาใช้มาตรการ LTV การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอีกครั้ง หลังจากที่ปลดล็อคมานานกว่า 2 ปี หลายคนที่ผ่อนบ้านอาจยังไม่รู้ว่า “มาตรการ LTV” คืออะไร เดี๋ยววันนี้ ACU PAY จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมทั้งมาดูกันว่า มาตรการ LTV ส่งผลกระทบอย่างไร กับใครบ้าง เป็นเรื่องที่คนซื้อบ้านต้องรู้ไปดูพร้อมกันเลยยยย

มาตรการ LTV คืออะไร

       มาตรการ LTV หรือชื่อเต็มที่ว่า Loan to Value Ratio คือ อัตราส่วนที่ทางธนาคารสามารถให้สินเชื่อได้ หรือผู้กู้จำเป็นต้องวางเงินดาวน์ เช่น หากต้องการจะกู้เงินซื้อบ้านหลังที่ 2 และมีมาตรการ LTV จำกัดอยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นทำให้ธนาคารปล่อยกู้บ้านในราคา 1,000,000 บาท นั่นหมายความว่าผู้กู้สามารถกู้เงินจากธนาคารสูงสุดเพียง 900,000 บาท โดยอีก 10 เปอร์เซ็นที่เหลือหรือเงินจำนวน 100,000 บาท อาจจะเป็นเงินสดส่วนตัวของผู้กู้ โดยมาวางไว้เป็นเงินดาวน์นั้นเอง

เงื่อนไขของมาตรการ LTV ปี 2566

  • ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคาต่ำกว่า 10 ล้าน

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 1 สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นของราคาบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องวางเงินดาวน์ อีกทั้งยังได้เพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็น สำหรับค่าตกแต่งภายใน

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 2  สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 80 – 90 เปอร์เซ็นตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ในส่วนที่เหลือผู้กู้อาจจะเป็นคนออกเองโดยจ่ายเป็นเงินดาวน์ 10 – 20 เปอร์เซ็น

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 3 สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 70 เปอร์เซ็นของราคาบ้าน และในส่วนที่เหลือผู้กู้อาจจะเป็นคนออกเองโดยจ่ายเป็นเงินดาวน์ 30 เปอร์เซ็น

  • ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคา 10 ล้านขึ้นไป

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 1 สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 90 เปอร์เซ็นของราคาบ้าน โดยในส่วนที่เหลือผู้กู้อาจจะเป็นคนออกเองโดยจ่ายเป็นเงินดาวน์เป็นจำนวน 10 เปอร์เซ็น

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 2 สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 80 เปอร์เซ็นของราคาบ้าน โดยในส่วนที่เหลือผู้กู้อาจจะเป็นคนออกเองโดยจ่ายเป็นเงินดาวน์เป็นจำนวน 20 เปอร์เซ็น

สำหรับคนที่กู้สัญญาซื้อบ้านหลังที่ 3 สามารถขอกู้สินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 70 เปอร์เซ็นของราคาบ้าน โดยในส่วนที่เหลือผู้กู้อาจจะเป็นคนออกเองโดยจ่ายเป็นเงินดาวน์เป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็น

ข้อดีของมาตรการ LTV

  1. สามารถซื้อบ้านได้ในราคาที่เหมาะสม จากการเก็งกำไรในท้องตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง จะเหมาะกับผู้ที่ซื้อสำหรับอยู่อาศัย
  2. ประเมินความเสี่ยงจากการลงทุนได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงราคาอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวลงรุนแรงในอนาคตได้ กรณีที่ผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่