fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมเราถึงขำเวลาเห็นคนอื่นเจ็บตัว

ทำไมเราถึงขำเวลาเห็นคนอื่นเจ็บตัว-02
ใครบ้างที่เห็นเพื่อนสะดุดล้ม ลื่น หรือดูคลิปคนเจ็บตัว แล้วไม่เคยหัวเราะบ้าง ฮั่นแน่ สารภาพมาเถอะว่ามีกันบ้าง แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราเห็นคนเจ็บตัวแท้ ๆ แต่ทำไมถึงหัวเราะออกมาได้ เหตุผลจะเป็นเพราะอะไร เอซียู เพย์ จะพาไปหาคำตอบกันจริง ๆ แล้วเวลาที่เราหรือเห็นเพื่อนเจ็บตัวและเผลอหัวเราะออกมา นั่นไม่ใช่เพราะว่าเราไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่เพราะว่าการหัวเราะทำงานกับสมองเรามากกว่านั้น ตามทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเมื่อเราหัวเราะกับเรื่องขำขัน สมองของเราจะหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาคือ ‘เอนโดรฟีน’ (endorphins) ที่มีผลกับความรู้สึกเจ็บปวดของมนุษย์

เนื้อหา

ซึ่งสมองจะจำกิริยาการหัวเราะเชื่อมกับสารเอนโดนฟีนที่สมองส่วนกลาง ทำให้เวลาเราอยู่ในสถานการณ์ที่เรา ‘เจ็บ’ ร่างกายจะตอบสนองความรู้สึกและหัวเราะออกมาเพื่อให้สารเอนโดนฟีนหลั่งบรรเทาความเจ็บปวด

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford พบว่าเราทนความเจ็บปวดได้มากขึ้น จากเสียงหัวเราะ โดยมีการทดลองให้ผู้เข้าร่วมดูรายการตลก 15 นาที และพบว่าพวกเขาสามารถทนความเจ็บปวดได้มากขึ้น 10% ซึ่งผู้วิจัยระบุว่านี่เป็นผลลัพธ์ของการเอนโดรฟีนที่หลั่งออกมาจากเสียงหัวเราะ 

ส่วนในเวลาที่เราเห็นเพื่อนสะดุดล้ม หรือดูคลิปวิดีโอที่มีการเจ็บตัวเล็ก ๆ ที่ทำให้เราขำออกมา ที่ไม่ใช่ในเชิงหัวเราะเยาะ แต่เป็นการหัวเราะในเชิงอยากให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้น และกระตุ้นให้คนที่กำลังเจ็บปวดหัวเราะออกมาและคลายความเครียดลงเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้นโดยปกติเสียงหัวเราะมักจะมาพร้อมกับเรื่องตลก ความสุข แต่การหัวเราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสังคมได้เช่นกัน เป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้น และเป็นมิตร กล่าวคือ เสียงหัวเราะที่เกิดขึ้น เป็นดัชนีวัดความเหนียวแน่นของความสัมพันธ์นั่นเอง

ความไม่สอดคล้องและการคลี่คลาย (Incongruity-resolution Theory)

นอกจากปัจจัยตามหลักชีววิทยาของทางร่างกายแล้ว ความตลกขบขันนั้นสามารถเกิดจากปัจจัยรอบตัวได้ อย่างเช่นทฤษฎีความไม่สอดคล้องและการคลี่คลาย ที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดจากการค้นพบความไม่เข้ากัน ของเหุตการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือจากการเปลี่ยนทิศทางกระทันหันจากสิ่งที่เราหวังจะเห็น

อย่างเราคาดการณ์สถานการณ์ว่าพอทำแบบ A จะเป็น B แต่แล้วเหตุการณ์ก็คลี่คลายด้วยวิธีที่ไม่คาดคิดผ่านการทำแบบ Y ซึ่งเมื่อการคาดเดาเกิดความผิดพลาด ไม่สอดคล้องกัน การหัวเราะเลยกลายเป็นวิธีในการแก้ไขความไม่ลงรอยกันโดยการสร้างการตีความเป็นสิ่งที่เรามักพบตามการ์ตูน หรือในหนังตลก คอมเมดี้ต่าง ๆ 

ดังนั้นเวลาที่เราหัวเราะเพื่อน ๆ ของเราได้ในเหตุการณ์ที่มันไม่ค่อยน่าหัวเราะเท่าไร เราไม่ได้ขำแค่ความซุ่มซ่ามเท่านั้น แต่ยังมีเบื้องหลังหลาย ๆ อย่างทั้งทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาซ่อนเอาไว้ภายใต้เสียงหัวเราะนั่นเอง 

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่