fbpx
Search
Close this search box.

ทำความรู้จัก วันเหมายัน คือวันอะไร

วันนี้ เอซียูเพย์ จะพาทุกคนมารู้จักกับ วันเหมายัน ว่าแต่มีใครรู้จักวันเหมายันกันบ้างไหมเอ่ว ว่าวันเหมายันคือวันอะไร วันเหมายันมีความเป็นมายังไง ไปดูพร้อมกันเล๊ยยย!

วันเหมายัน คือวันอะไร

ในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้ สังเกตได้จากท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุด ในวันเหมายันของแต่ละปี

“วันเหมายัน” มีเวลากลางคืนที่ยาวนานที่สุด และเวลากลางวันที่สั้นที่สุด ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06.36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17.55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที

นอกจากนี้ “วันเหมายัน” ยังนับเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้

ความเชื่อของ "วันเหมายัน" หรือ ตะวันอ้อมข้าว

คนไทยจะเรียก วันเหมายัน ว่าปรากฏการณ์ “ตะวันอ้อมข้าว” โดยมีที่มาของความเชื่อเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่มีความเกี่ยวโยงกับคนไทยมากที่สุด

มีตำนานเล่าว่า ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าว เป็นช่วงที่พระแม่โพสพกำลังตั้งครรภ์ ดวงอาทิตย์จึงทำความเคารพพระแม่ด้วยการไม่โคจรข้ามศีรษะของท่าน แล้วเปลี่ยนเส้นทางโคจรอ้อมไปทางทิศใต้แทน

นอกจากนี้ “ตะวันอ้อมข้าว” ยังเป็นสัญญาณบอกให้เกษตรกรเตรียมตัวเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากฤดูหนาวมาถึงแล้วนั่นเอง โดยในแต่ละภาคจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ วันเหมายัน หรือ ตะวันอ้อมข้าว ที่ต่างกันไป เช่น

  • ภาคอีสาน : มีประเพณีบุญคูนลาน
  • ภาคเหนือ : มีประเพณีทานข้าวใหม่
  • ภาคใต้ : มีประเพณีทานไฟ เป็นต้น

ความเชื่อวันเหมายัน ในต่างประเทศ

ความเชื่อของวันเหมายัน – ที่กองหินสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) อนุสรณ์สถานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี (Salisbury Plain) บริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ สำหรับผู้คนที่มีความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ยุคชาวดรูอิด จะไปรวมตัวกันเพื่อรับแสงอาทิตย์ของวันที่สู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ

สำหรับคนจีน วันเหมายันนั้น ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาวที่เป็นมงคล โดยในอดีต คนจีนให้ความสำคัญเสมือนเทศกาลสิ้นปี เรียกว่า เทศกาลตังโจ่ย (วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว) จะมีการกินขนมที่มีหน้าตาคล้ายบัวลอยเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และมีการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล

ขณะที่ความเชื่อของอินเดียนั้น ฤดูหนาว เป็นฤดูของปรโลก ไม่ถือว่าเป็นมงคล เป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนาน จึงไม่มีการเฉลิมฉลองใด ๆ แต่จะมีการฉลองเมื่อพระอาทิตย์เริ่มย้ายขึ้นเหนือ เข้าสู่ราศีมังกร ที่เรียกว่า “มกรสงกรานติ” โดยจะมีการทำความสะอาดบ้าน และห้องครัว หรือเล่นว่าวเฉลิมฉลอง

ปรากฏการณ์วันเหมายันนั้นจะเกิดขึ้นในวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ แต่มีบางคน นำไปกล่าวอ้าง เชื่อมโยงกับเรื่องวันสิ้นโลก ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด 

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่