fbpx
Search
Close this search box.

สภาพคล่องคืออะไร สำคัญอย่างไร

สภาพคล่องคืออะไร สำคัญอย่างไร​
สารบัญ

สภาพคล่อง คือ ความสามารถในการที่จะมีเงินหรือสินทรัพย์หมุนเวียนพอเมื่อต้องใช้ หรืออีกความหมายหนึ่งสภาพ คล่อง (Liquidity) คือความสามารถในการมีเงินจ่ายเมื่อต้องจ่าย แต่อาจจะมีความหมายแตกต่างกันไปขึ้นบริบทของผู้พูด

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk)

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ก็คือ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถขายสินทรัพย์ได้ทันทีเมื่อต้องการเงินสด หรืออาจจะต้องขาดทุนหากต้องการเปลี่ยนเป็นเงินสด หากในมุมกิจการคือ ความเสี่ยงที่กิจการอาจจะไม่สามารถทำตามความต้องการทางการเงินในระยะสั้นได้ โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถแปลงหลักทรัพย์ หรือ สินทรัพย์ไปเป็นเงินสดได้ 

สภาพคล่องสำคัญอย่างไร

อย่างไปกล่าวไปข้างต้น สภาพคล่อง คือ ความสามารถในการที่จะมีเงินหรือสินทรัพย์หมุนเวียนพอเมื่อต้องใช้จ่าย ซึ่งการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์บางอย่างเป็นเงินสด แปลว่า จะต้องมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องใช้เงินสด หรือมีความจำเป็นบางอย่างที่จะต้องทรัพย์สินที่เป็น เพื่อแปลงเป็นเงินสด

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นลองนึกว่าภาพว่าเงินสดคือเชื้อเพลิง หรือพลังงานที่จะทำให้บริษัทขับเคลื่อนไปได้ในยามที่มีเชื้อเพลิงเยอะ เรานำไปขายเปรียบเหมือนนำไปลงทุนเพื่อให้ได้กำไรกลับมา แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดวิกฤตหรือนำไปขาย หรือลงทุนจนเยอะเกินไป จนทำให้เชื้อเพลิงไม่พอที่จะขับเคลื่อนบริษัท การจะไปต่อนั้นคงยาก ดังนั้นบริษัทอาจจะต้องขายชิ้นส่วนบางอย่างเพื่อนำมาแลกเป็นเชื้อเพลิงหรือเงินสด เพื่อที่จะขับเคลื่อนบริษัทไปต่อได้

สภาพคล่องหรือเงินสดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการที่เกิดวิกฤต หรือเกิดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจึงจะเห็นได้ว่า ในยามที่เกิดวิกฤตสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงจะมีมูลค่าที่ลดลงก่อนสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากนักลงทุนต้องการความปลอดภัย และเสริมสภาพคล่องในยามที่เกิดความเสี่ยงในกับตัวเอง เพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคตด้วยเช่นกัน

อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)

อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่องทางการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้สินของกิจการ  ในการดำเนินกิจการ สภาพคล่องถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากกิจการมีสภาพคล่องที่ดี แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นดีตามไปด้วย

อัตราส่วนสภาพคล่อง ประกอบด้วย

  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = เป็นการวัดอัตราส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูง เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว จึงตัดรายการสินค้าคงเหลือออกไป (เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า) กับหนี้สินหมุนเวียน

 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน ÷ หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)

ค่าที่ได้

  • ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่องดี เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ
  • ถ้ามีค่า < 1 แสดงว่า บริษัทขาดสภาพคล่อง เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ

 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ ÷ หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)

ค่าที่ได้

  • ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงถึงสภาพคล่องของบริษัทในระดับสูง
  • ถ้ามีค่า < 1 แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อย จึงมีสภาพคล่องต่ำ ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ค่านี้ถ้ามีค่าน้อยแสดงว่าสภาพคล่องของบริษัทต่ำ

           อย่างไรก็ตามไม่ใช่เพียงแค่บริษัทที่จำเป็นจะต้องมีสภาพคล่อง ตัวเราเองก็เช่นกันเมื่อในยามเกิดวิกฤตการที่เรามีเงินสดอยู่ในมืออย่างเหมาะ เพื่อเตรียมพร้อมสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เพราะว่าอย่างน้อยๆ ถึงเราไม่ได้ผลตอบแทน สิ่งที่สำคัญในยามวิกฤตคือเราไม่เสียหาย หรือบาดเจ็บนั้นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่