เรากำลังเผชิญกับราคาสินค้าที่ราคาแพงขึ้นอย่างเลี่ยงไมไ่ด้ ถึงแม้ว่ารัฐฯจะมีเงินอุดหนุนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือเงินเฟ้อ
บทความจากบีบีซีไทยที่ได้พูดคุยกับคุณจรีพร รุ่งประเสริฐสุข นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ มาอธิบายเรื่่องยาก แต่ใกล้ตัว ให้เข้าใจง่าย ไปรู้จักโลกแห่งสินค้าที่เอาไว้ใช้วัดค่าครองชีพของคนไทย
บีบีซีไทยยกตัวอย่างสินค้า 10 ชนิด ที่คุณอาจแปลกใจเมื่อรู้ว่าอยู่ใน “ตะกร้าสินค้า” ที่ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อรายเดือน
ปัจจุบันไทยมีสินค้าทั้งหมด 430 ประเภท ที่เอาไว้ใช้วัดระดับราคาเพื่อสะท้อนค่าครองชีพของคนไทย
จากทั้งหมด 430 ประเภทสินค้านั้นแบ่งได้เป็น 7 หมวดย่อย
หมวดแรกที่มีความสำคัญที่สุดหรืออีกนัยคือหมวดที่ประชาชนใช้จ่ายมากที่สุดได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งคิดเป็น 40.35% ของรายจ่ายรวมของประชาชน
อีก 6 หมวดที่เหลือนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่อมดื่ม หมวดเคหสถาน กินสัดส่วนค่าใช้จ่ายประชาชนสูงที่สุดถึง 23.17% รองลงมาคือ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ที่ 22.67% ของค่าใช้จ่ายรวม
นอกจากนี้ยังมีหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า หมวดการตรวจรักษาและบริารส่วนบุคคล, หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ตามปกตินั้น “ตะกร้าสินค้า” นี้จะมีการปรับปรุงทุก 4-5 ปี เพื่อให้สะท้อนความจริงกับรายจ่ายของผู้บริโภค โดยนางจรีพรชี้ว่า “ความทันสมัย” เป็นสิ่งที่กองของเธอให้ความสำคัญ
เธอเสริมว่าล่าสุดทางหน่วยงานกำลังจัดทำรายชื่อสินค้าที่จะใส่เข้าไปในแบบสำรวจสำหรับปีฐาน 2566 ซึ่งจะเอามาแทนข้อมูลล่าสุดซึ่งเป็นการอ้างอิงสินค้าจากปีฐาน 2562
“หม้อทอดไฟฟ้ายังไม่เข้า…ส่วนเน็ตฟลิกซ์กับจู๊กซ์ [JOOX] เข้ามาแล้ว” เธอมายถึงแพลตฟอร์มสตริมมิงภาพและเสียงยอดนิยม
สินค้าใหม่ ๆ มี “ชานมไข่มุกกำลังเสนออยู่” ทั้งยังมีสินค้าอย่างหม้อทอดไฟฟ้า ซึ่งมีการซื้อค่อนข้างมากในเมืองหลวง แต่เมื่อเทียบกับระดับประเทศโดยรวม ยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่มาก
นอกจากนี้ยังมีการเตรียมเสนอชุดตรวจโควิดแบบเอทีเคและยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
อีกหนึ่งรายจ่ายประจำที่เตรียมเข้ารายชื่อสินค้าสำหรับปี 2566 ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสำหรับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ทั้งอาหารและสิ่งของ ซึ่งในฐานสินค้าของปี 2562 ยังไม่มี
นางจรีพรอธิบายว่าเวลาจะสำหรับว่าจะใช้สินค้าใดเป็นฐานเพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน จะมีการเสนอเข้ามาจากหลายฝ่าย จากนั้นทางหน่วยงานจะส่งรายชื่อสินค้าเหล่านี้ฝากไปกับสำนักงานสถิติแห่งชาติเผื่อเก็บข้อมูลกลับมา
“ผักกระเฉดไม่เคยเข้า บางทีช้อน ชาม หม้อก็ไม่มี”
เธออธิบายว่าสุดท้ายแล้วสินค้าเหล่านี้ก็อยู่ที่การตอบแบบสอบถามของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งบางทีก็มีสินค้าบางอย่างที่หลุดออกไปได้ แต่โดยมากแล้วสินค้าหลัก ๆ มักอยู่ในแบบสำรวจเสมอ และ “ค่าเช่าบ้าน” คิดเป็นส่วนมากเสมอของสัดส่วนค่าใช้จ่าย
จากการสำรวจของ สนค.พบว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยประจำเดือน มิ.ย.2565 อยู่ที่ 18,088 บาท ในจำนวนนี้เกือบ 60% เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ส่วนที่เหลือเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
จากรายจ่ายรายเดือนนี้ ครัวเรือนไทยเสียค่าโดยสาร-ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าบริการโทรศัพท์มือถือรวมประมาณ 4,400 บาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา คือค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซ่อมแซ่มและดูแลบ้านเรือน รวมค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม รวมเครื่องใช้ภายในบ้านประมาณ 4,000 บาท
สิ่งที่น่าสนใจจากตัวเลขรายจ่ายรวมเฉลี่ยนี้คือ เมื่อย้อนกลับไปดูวิธีการคำนวณ CPI ของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งมีการปรับปรุงปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อทุก ๆ 4-5 ปี พบว่าปีฐานล่าสุดที่กระทรวง ใช้อ้างอิงคือปี 2562
ในปีดังกล่าว ฐานรายได้ที่กระทรวงใช้เพื่อสำรวจข้อมูลและหาค่าเฉลี่ยคือครัวเรือน (นับตั้งแต่ที่มีสมาชิก 1 คนขึ้นไป) ที่มีรายได้ตั้งแต่ 6,987 – 50,586 บาท/เดือน
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองค่าจะพบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประจำเดือน มิ.ย.2565 คิดเป็นเกือบ 160% ของผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดที่เข้าเกณฑ์การจัดเก็บสถิติ CPI
เวลาที่เราได้ยินว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักรปรับตัวสูงขึ้น แม้วิธีการคำนวณเบื้องต้นจะไม่ได้แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อของไทย ทว่าสินค้าที่ใช้ในการคำนวณไม่ได้เหมือนกัน
ต้องไม่ลืมว่า การคำนวณเงินเฟ้ออ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งคำนวณจากสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงมีสินค้าจำเป็นแตกต่างกันออกไป และขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศว่าจะเลือกสินค้าไหนเข้ามาในตะกร้าสินค้าและบริการ รวมถึงจะจัดหมวดหมู่อย่างไร
ยกตัวอย่างในกรณีของสหราชอาณาจักร สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษแบ่งหมวดหมู่สินค้าออกเป็น 12 ประเภท
เมื่อลงไปดูสินค้ารายชนิดของอังกฤษก็จะพบว่าสินค้าบางส่วนมีอัตราราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าระดับค่าเฉลี่ยรวม
ตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ ณ เดือน มิ.ย.2565 อยู่ที่ 9.4% ขณะที่ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นถึง 11.5% ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมีราคาเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 11.3%
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งบีบีซีไทยเคยหยิบมาพูดแล้วในบทความชิ้นก่อน ๆ คือ แท้จริงแล้วสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารเป็นหนึ่งในเครื่องบ่งชี้ว่าประชาชนในประเทศนั้น ๆ มีความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อมากน้อยแค่ไหน
บทวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยบรู้คกิ้งส์ (Brookings) ของสหรัฐฯ ชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าครัวเรือนที่จนกว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาการครัวเรือนที่มั่งคั่งกว่า
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ครั้วเรือนรายได้น้อยในประเทศที่กำลังพัฒนามักมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งไปกับค่าอาหาร และระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกตอนนี้ก็มีปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานและราคาอาหาร ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้รับผลกระทบมากกว่าครัวเรือนที่มั่งคั่ง
อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาจส่งผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางส่วนได้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าด้านอาหารเป็นผลดีกับเกษตรกรผู้ขายสินค้าเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีรายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ท้ายที่สุดแล้วกลุ่มคนจนในประเทศกำลังพัฒนาโดยมากยังคงเป็นผู้ซื้อมากกว่าผู้ขายอาหารอยู่ดี การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารจึงเป็นความเสี่ยงต่อการเพิ่มความยากจนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ
ที่มา : บีบีซี
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |