fbpx
Search
Close this search box.

สิ่งเหล่านี้ก็ใช้วัดเงินเฟ้อด้วย!

สินค้าเหล่านี้ก็ใช้วัดเงินเฟ้อด้วย
สารบัญ

           เรากำลังเผชิญกับราคาสินค้าที่ราคาแพงขึ้นอย่างเลี่ยงไมไ่ด้ ถึงแม้ว่ารัฐฯจะมีเงินอุดหนุนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือเงินเฟ้อ

บทความจากบีบีซีไทยที่ได้พูดคุยกับคุณจรีพร รุ่งประเสริฐสุข นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ มาอธิบายเรื่่องยาก แต่ใกล้ตัว ให้เข้าใจง่าย ไปรู้จักโลกแห่งสินค้าที่เอาไว้ใช้วัดค่าครองชีพของคนไทย

สินค้าที่คุณอาจไม่รู้ว่าใช้วัดเงินเฟ้อ

บีบีซีไทยยกตัวอย่างสินค้า 10 ชนิด ที่คุณอาจแปลกใจเมื่อรู้ว่าอยู่ใน “ตะกร้าสินค้า” ที่ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อรายเดือน

สินค้าเหล่านี้ก็ใช้วัดเงินเฟ้อด้วย

ตะกร้าสินค้า 7 หมวด

ปัจจุบันไทยมีสินค้าทั้งหมด 430 ประเภท ที่เอาไว้ใช้วัดระดับราคาเพื่อสะท้อนค่าครองชีพของคนไทย

จากทั้งหมด 430 ประเภทสินค้านั้นแบ่งได้เป็น 7 หมวดย่อย

หมวดแรกที่มีความสำคัญที่สุดหรืออีกนัยคือหมวดที่ประชาชนใช้จ่ายมากที่สุดได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งคิดเป็น 40.35% ของรายจ่ายรวมของประชาชน

อีก 6 หมวดที่เหลือนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่อมดื่ม หมวดเคหสถาน กินสัดส่วนค่าใช้จ่ายประชาชนสูงที่สุดถึง 23.17% รองลงมาคือ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ที่ 22.67% ของค่าใช้จ่ายรวม

นอกจากนี้ยังมีหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า หมวดการตรวจรักษาและบริารส่วนบุคคล, หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ตามปกตินั้น “ตะกร้าสินค้า” นี้จะมีการปรับปรุงทุก 4-5 ปี เพื่อให้สะท้อนความจริงกับรายจ่ายของผู้บริโภค โดยนางจรีพรชี้ว่า “ความทันสมัย” เป็นสิ่งที่กองของเธอให้ความสำคัญ

เธอเสริมว่าล่าสุดทางหน่วยงานกำลังจัดทำรายชื่อสินค้าที่จะใส่เข้าไปในแบบสำรวจสำหรับปีฐาน 2566 ซึ่งจะเอามาแทนข้อมูลล่าสุดซึ่งเป็นการอ้างอิงสินค้าจากปีฐาน 2562

“หม้อทอดไฟฟ้ายังไม่เข้า…ส่วนเน็ตฟลิกซ์กับจู๊กซ์ [JOOX] เข้ามาแล้ว” เธอมายถึงแพลตฟอร์มสตริมมิงภาพและเสียงยอดนิยม

สินค้าใหม่ ๆ มี “ชานมไข่มุกกำลังเสนออยู่” ทั้งยังมีสินค้าอย่างหม้อทอดไฟฟ้า ซึ่งมีการซื้อค่อนข้างมากในเมืองหลวง แต่เมื่อเทียบกับระดับประเทศโดยรวม ยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่มาก

นอกจากนี้ยังมีการเตรียมเสนอชุดตรวจโควิดแบบเอทีเคและยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร

อีกหนึ่งรายจ่ายประจำที่เตรียมเข้ารายชื่อสินค้าสำหรับปี 2566 ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสำหรับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ทั้งอาหารและสิ่งของ ซึ่งในฐานสินค้าของปี 2562 ยังไม่มี

นางจรีพรอธิบายว่าเวลาจะสำหรับว่าจะใช้สินค้าใดเป็นฐานเพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน จะมีการเสนอเข้ามาจากหลายฝ่าย จากนั้นทางหน่วยงานจะส่งรายชื่อสินค้าเหล่านี้ฝากไปกับสำนักงานสถิติแห่งชาติเผื่อเก็บข้อมูลกลับมา

“ผักกระเฉดไม่เคยเข้า บางทีช้อน ชาม หม้อก็ไม่มี”

เธออธิบายว่าสุดท้ายแล้วสินค้าเหล่านี้ก็อยู่ที่การตอบแบบสอบถามของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งบางทีก็มีสินค้าบางอย่างที่หลุดออกไปได้ แต่โดยมากแล้วสินค้าหลัก ๆ มักอยู่ในแบบสำรวจเสมอ และ “ค่าเช่าบ้าน” คิดเป็นส่วนมากเสมอของสัดส่วนค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายรายเดือนของคนไทย

จากการสำรวจของ สนค.พบว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยประจำเดือน มิ.ย.2565 อยู่ที่ 18,088 บาท ในจำนวนนี้เกือบ 60% เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ส่วนที่เหลือเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

จากรายจ่ายรายเดือนนี้ ครัวเรือนไทยเสียค่าโดยสาร-ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าบริการโทรศัพท์มือถือรวมประมาณ 4,400 บาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา คือค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซ่อมแซ่มและดูแลบ้านเรือน รวมค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม รวมเครื่องใช้ภายในบ้านประมาณ 4,000 บาท

สิ่งที่น่าสนใจจากตัวเลขรายจ่ายรวมเฉลี่ยนี้คือ เมื่อย้อนกลับไปดูวิธีการคำนวณ CPI ของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งมีการปรับปรุงปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อทุก ๆ 4-5 ปี พบว่าปีฐานล่าสุดที่กระทรวง ใช้อ้างอิงคือปี 2562

ในปีดังกล่าว ฐานรายได้ที่กระทรวงใช้เพื่อสำรวจข้อมูลและหาค่าเฉลี่ยคือครัวเรือน (นับตั้งแต่ที่มีสมาชิก 1 คนขึ้นไป) ที่มีรายได้ตั้งแต่ 6,987 – 50,586 บาท/เดือน

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองค่าจะพบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประจำเดือน มิ.ย.2565 คิดเป็นเกือบ 160% ของผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดที่เข้าเกณฑ์การจัดเก็บสถิติ CPI

ความแตกต่างในแต่ละประเทศ

เวลาที่เราได้ยินว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักรปรับตัวสูงขึ้น แม้วิธีการคำนวณเบื้องต้นจะไม่ได้แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อของไทย ทว่าสินค้าที่ใช้ในการคำนวณไม่ได้เหมือนกัน

ต้องไม่ลืมว่า การคำนวณเงินเฟ้ออ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งคำนวณจากสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงมีสินค้าจำเป็นแตกต่างกันออกไป และขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศว่าจะเลือกสินค้าไหนเข้ามาในตะกร้าสินค้าและบริการ รวมถึงจะจัดหมวดหมู่อย่างไร

ยกตัวอย่างในกรณีของสหราชอาณาจักร สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษแบ่งหมวดหมู่สินค้าออกเป็น 12 ประเภท

  • อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบ
  • เสื้อผ้าและรองเท้า
  • ที่อยู่อาศัยและบริการที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • เฟอร์นิเจอร์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
  • สุขภาพ
  • การเดินทาง
  • การสื่อสาร
  • สันทนาการและวัฒนธรรม
  • การศึกษา
  • ร้านอาหารและโรงแรม
  • สินค้าและบริการเบ็ดเตล็ด

เมื่อลงไปดูสินค้ารายชนิดของอังกฤษก็จะพบว่าสินค้าบางส่วนมีอัตราราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าระดับค่าเฉลี่ยรวม

ตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ ณ เดือน มิ.ย.2565 อยู่ที่ 9.4% ขณะที่ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นถึง 11.5% ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมีราคาเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 11.3%

ยิ่งจ่ายค่าอาหารเยอะ ยิ่งลำบาก

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งบีบีซีไทยเคยหยิบมาพูดแล้วในบทความชิ้นก่อน ๆ คือ แท้จริงแล้วสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารเป็นหนึ่งในเครื่องบ่งชี้ว่าประชาชนในประเทศนั้น ๆ มีความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อมากน้อยแค่ไหน

บทวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยบรู้คกิ้งส์ (Brookings) ของสหรัฐฯ ชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าครัวเรือนที่จนกว่าจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาการครัวเรือนที่มั่งคั่งกว่า

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ครั้วเรือนรายได้น้อยในประเทศที่กำลังพัฒนามักมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งไปกับค่าอาหาร และระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกตอนนี้ก็มีปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานและราคาอาหาร ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้รับผลกระทบมากกว่าครัวเรือนที่มั่งคั่ง

อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาจส่งผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางส่วนได้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าด้านอาหารเป็นผลดีกับเกษตรกรผู้ขายสินค้าเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีรายได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ท้ายที่สุดแล้วกลุ่มคนจนในประเทศกำลังพัฒนาโดยมากยังคงเป็นผู้ซื้อมากกว่าผู้ขายอาหารอยู่ดี การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารจึงเป็นความเสี่ยงต่อการเพิ่มความยากจนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ

ที่มา : บีบีซี

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่