fbpx
Search
Close this search box.

มาเรียนรู้วัฒนธรรมจีนกับหน้ากากงิ้วกันเถอะ

หน้ากากงิ้ว

หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยหรือรู้จักกับหน้ากากงิ้วหรือที่เรียกว่า “เหลียนผู่” ศิลปะการแสดงของประเทศจีนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความพิเศษอยู่ที่ลวดลายที่มาจากการวาดลงบนหน้ากากโดยตรง แต่ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับงิ้วหรืออุปรากรจีนไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเว่ย เหลียงฝู่ นำนิยายพื้นบ้านดัง ๆ เรียกว่า “คุนฉวี่” มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือกลองและขลุ่ย 

ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของเฉียนหลงฮ่องเต้ ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้วแบบใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลายราชวงศ์ชิง งิ้วจึงมีลักษณะต่าง ๆ กันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉาก เพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉวี่ หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง 

หน้ากากงิ้ว หรือ เหลียนผู่ เป็นยังไงนะ ?

หน้ากากงิ้ว เป็นรูปแบบการแต่งหน้าของตัวละครงิ้วอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปมักจะใช้แต่งหน้าตัวละครจิ้ง(ตัวละครชาย)และโฉ่ว(ตัวตลกหรือตัวโกง) โดยแต่ละตัวละครจะมีลักษณะของหน้างิ้วที่แตกต่างกันออกไป ทำให้แสดงลักษณะนิสัยของตัวละครนั้นๆออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ว่าตัวละครมีนิสัยอย่างไร หน้ากากงิ้วจึงถูกยกย่องว่าเป็น “ภาพลักษณ์ของจิตวิญญาณ”

หน้ากากงิ้วมีกี่สีและมีความหมายว่าอะไร ?

  1. สีดำ (เฮยเซ่อ) มักใช้กับตัวละครที่มีความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา เช่น เปาบุ้นจิ้น เตียวหุย เป็นต้น
  2. สีแดง (หงเซ่อ) มักใช้กับตัวละครที่มีความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี เช่น เทพเจ้ากวนอู เป็นต้น
  3. สีขาว (ไป๋เซ่อ) มักแสดงถึงตัวโกง ทรยศหักหลัง เช่น โจโฉ ฉินฮุ่ย เป็นต้น
  4. สีน้ำเงิน (หล่านเซ่อ) มักแสดงถึงคนที่เจ้าเล่ห์ 
  5. สีเขียว (ลวี่เซ่อ) มักแสดงถึงบุคคลที่มีความหนักแน่น เป็นวีรบุรุษ
  6. สีเหลือง (หวงเซ่อ) มักแสดงถึงความก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว 
  7. สีเงินและสีทอง (หยินเซ่อ และ จินเซ่อ)  มักแสดงถึงเทพเจ้าหรือภูตผีปีศาจ เช่น ซุนหงอคง *บางครั้งสีทองจะใช้แทนบุคคลที่มีความน่าเกรงขาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่