fbpx
Search
Close this search box.

ตำนานที่มา ‘หมั่นโถว’ แป้งนึ่งที่ทำขึ้นเพื่อแทน ‘หัวคน’

หมั่นโถว

‘หมั่นโถว’ แป้งนึ่งก้อนกลม รสชาตินุ่มลิ้น ที่เรียกได้ว่าเป็นหลักที่คนจีนทานกันได้ทุกมื้อ และยังถือเป็นขนมไหว้ในเทศกาลตรุษจีนและเทศกาลมงคลต่าง ๆ อีกด้วย แล้วรู้หรือไม่ว่าหมั่นโถว ก้อนแป้งนึ่งที่เรากินกันเนี่ย มีที่มาและเรื่องเล่าที่น่าสนใจและคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว จะเป็นอย่างไร เดี๋ยว เอซียูเพย์ จะมาเล่าให้ฟัง

เจ้าแป้งนึ่งก้อนขาว ๆ นี้ มีเรื่องเล่าที่มาโดยอ้างอิงจากหนังสือ The Origin of Things ที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 1127 – 1279) ได้บรรยายเกี่ยวกับประวัติของหมั่นโถวในสมัยในช่วงยุครัฐสงคราม (ค.ศ. 220 – 280) ช่วงที่สามอาณาจักรแย่งชิงดินแดน หรือสามก๊ก

ช่วงนั้นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ที่เรียกว่า ‘หนานหมาน’ (南蛮) แปลว่า ‘คนเถื่อนทางตอนใต้’ คนกลุ่มนี้มักก่อความวุ่นวาย และชอบยกทัพมาตีแคว้นซู่อยู่เป็นประจำ จนวันหนึ่ง ‘ขงเบ้ง’ หรือ ‘จูเก๋อเลี่ยง’ นักยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่เก่งกาจแห่งรัฐซู่ ได้ออกมาปราบคนเถื่อน ซึ่งสุดท้ายก็คว้าชัยและได้เชลยศึกกลับไป

แต่ในระหว่างเดินทางกลับ กองทัพของจูเก๋อเลี่ยงต้องข้ามแม่น้ำหลูสุ่ย (หรือ แม่น้ำจินซาเจียงในปัจจุบัน) เกิดมีคลื่นลมแรง ทำให้กระแสน้ำเชี่ยว ชาวบ้านบริเวณนั้นจึงบอกกองทหารให้ใช้หัวคนเป็นเครื่องเซ่นสังเวยเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ จะทำให้ข้ามแม่น้ำได้อย่างปลอดภัย 

เหล่าทหารศึกเสนอให้จูเก๋อเลี่ยงบั่นหัวพวกหนานหมานเสีย เพื่อเซ่นบูชาเทพเจ้า แต่จูเก๋อเลี่ยงนั้นไม่ต้องการที่จะฆ่าคนผู้บริสุทธิ์เพียงแค่เซ่นสังเวยเทพ เขาจึงสั่งให้ ทหารฆ่าสัตว์มาชนิดหนึ่ง จากนั้นให้ยัดเนื้อสัตว์ลงไปในแป้งที่มีทรงโตกลมคล้ายศีรษะมนุษย์ แล้วนำไปนึ่งให้สุก เพื่อใช้เป็นเครื่องสังเวยแทนหัวคนเถื่อน

หลังจากนั้นเหล่ากองทัพก็สามารถข้ามแม่น้ำได้อย่างปลอดภัย จากนั้นมาอาหารชนิดนี้จึงเรียกกันว่า ‘หมานโถว’ มีความหมายว่า ‘หัวของชาวหมาน’ แต่ด้วยชื่อเดิมที่มีความหมายน่ากลัวและรุนแรง เลยได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘หมั่นโถว’ โดยใช้ตัวอักษรภาษาจีนที่เกี่ยวกับอาหารแทน

อีกเรื่องราวที่เป็นไปได้เกี่ยวกับที่มาหมั่นโถวนั้นอยู่ในตำรายาที่เขียนโดยแพทย์ชาวอุยกูร์ของจักรวรรดิราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279 – 1368) จักรพรรดิมองโกลที่เขารับใช้ (ซึ่งเป็นทายาทสายตรงของเจงกีสข่าน) ได้กล่าวถึงหมั่นโถวที่มีรูปร่างคล้ายเกี๊ยว ซึ่งหมั่นโถวในยุคแรกนั้นมีไส้เหมือนเปา ที่สมัยนี้เรียกกันนั่นเอง ช่วงนั้นลักษณะของหมั่นโถวจะมีสีสัน และรสชาติที่หลากหลาย เช่น หมั่นโถวไส้เนื้อ หมันโถวไส้หน่อไม้ ต่าง ๆ

กระทั่งช่วงราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1636 – 1912) ชื่อเรียกของหมั่นโถวได้แตกแยกย่อยออกไปอีก คนตอนเหนือมักเรียกแป้งนึ่งที่ไม่มีไส้ว่า ‘หมั่นโถว’ เรียกแป้งนึ่งที่สอดไส้ว่า ‘ซาลาเปา’ แต่คนตอนใต้จะเรียกแป้งนึ่งที่มีไส้ว่า ‘หมั่นโถว’ แต่ถ้าไม่มีไส้จะเรียกว่า ‘ต้าเปาจึ’ (ซาลาเปาลูกใหญ่) แทน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่