fbpx
Search
Close this search box.

‘Financial Therapy’ นักบำบัดความเครียดทางการเงิน

การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะในด้านสภาวะเศรษฐกิจถดถอย โรคระบาด หรือปัญหาส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเงิน ความมั่นคงด้านรายได้ เริ่มจากปัญหาเล็กสู่ปัญหาใหญ่ จนมีผลกระทบด้านอารมณ์และจิตใจ เกิดเป็นความเครียดสะสม เมื่อถึงทางตัน อยากปรึกษาใครสักคนที่เข้าใจสุขสภาพใจและสุขภาพเงินในกระเป๋า นักบำบัดการเงิน หรือ ‘Financial Therapy’ ช่วยคุณได้ 

ภาวะความเครียดทางการเงิน ปัญหาที่คนส่วนใหญ่พบเจอ

ทุกคนต่างมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเป็นบางครั้งบางคราว แต่สำหรับบางคนอาจรู้สึกล้มเหลว และสิ้นหวัง ไม่ว่าจะจากจำนวนเงินในกระเป๋าที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตัวเองได้ หรือความล้มเหลวในหน้าที่การงาน จนความรู้สึกนั้นพัฒนาเป็นการสูญเสียความเคารพในตัวเอง เกิดเป็นภาวะวิตกกังวลจากการเงิน หรือ “Financial anxiety” สภาวะความวิตกกังวลที่สามารถได้รับการกระตุ้นจากหลายปัจจัย ผู้คนที่เผชิญกับภาวะนี้จะมีความกังวลอย่างมาก ไม่อยากทำอะไร สิ้นหวังกับชีวิต หรือกลัวแม้แต่จะมองบิลหรือยอดคงเหลือในบัญชีธนาคาร อาจเกิดขึ้นบ่อยกับคนวัยเกษียณที่จะต้องพึ่งพาเงินจากคนรอบตัวเพราะไม่สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองได้เต็มที่

เมื่อมีจำนวนผู้ที่วิตกกังวลเรื่องการเงินเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดเป็นการก่อตั้ง Therapy Association (FTA) ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ปี 2009 มีการรวบรวมบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งศาสตร์ของจิตวิทยา และการเงินมาเจอกัน โดยพวกเขาเข้ามาศึกษา ทดลอง และวิจัยกับ Financial Therapy จนเกิดเป็นวิจัยที่ชื่อว่า The Journal of Financial Therapy จนปัจจุบันนักบำบัดการเงินกลายเป็นที่รู้จักและมีผู้คนเข้ามารับคำปรึกษาเพิ่มมากขึ้น

นักบำบัดการเงิน (Finacial Therapist) ต่างจาก นักปรึกษาการเงิน (Financial counselor) อย่างไร

หลายคนอาจสับสนระหว่าง นักบำบัดการเงิน กับ นักปรึกษาการเงิน ว่าสองอาชีพนี้ต่างกันอย่างไร ความจริงแล้วหน้าที่ของสองอาชีพนี้แตกต่างกันมาก เพราะนักปรึกษาการเงินจะเน้นการให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนทางการเงิน ไปจนถึงการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ กลับกัน นักบำบัดการเงินจะเป็นผู้ที่คอยช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึก ต้นต่อของปัญหา และพฤติกรรมของตนเอง ให้สภาพจิตใจสามารถกลับมาพร้อมจัดการกับปัญหาการเงินของตัวเองมากขึ้น

น่าเสียดายที่ปัจจุบันนักบำบัดการเงินส่วนใหญ่มีให้บริการอยู่ในสหรัฐอเมริกา ผ่านบริการเว็บไซต์ของ FTA โดยมีค่าใช้จ่ายตามการปรึกษาแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม ACU PAY มีทางเลือกอื่นในการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตจากการเงินมาฝาก ซึ่งมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. วางแผนเพื่อให้ดี มีวินัยตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน 

เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยการตั้งเป้าหมายในแต่ละครั้ง ว่าต้องการออมเงินเท่าไหร่ บริหารสัดส่วนการใช้เงินของตัวเองให้ดีและมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้เสมอ 

2. รู้จักสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง

รู้จักการจดบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้รู้ว่ารายรับแต่ละเดือนมีเท่าไหร่และรายจ่ายใช้ไปเท่าไหร่ ซึ่งถ้ามีสภาพคล่องทางการเงินดี ก็สามารถหมุนเงินในการใช้จ่าย มีเงินเหลือเก็บ และไม่ต้องไปเป็นหนี้สิน

3. ใช้แอปพลิเคชันให้เป็นประโยชน์

เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก สามารถใช้แอปพลิเคชันการเงินในโทรศัพท์ เป็นตัวช่วยในการจัดการบริหารเงิน ซึ่งจะง่ายต่อการจดบันทึกมาก 

4. เปิดใจพูดคุยปัญหา

บางครั้งก็เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราได้เปิดอกคุยปัญหาการเงินของตัวเองกับใครสักคนที่ไว้ใจ แฟน เพื่อน หรือพ่อแม่ แต่ถ้ารู้สึกว่าต้องการพบผู้เชี่ยวชาญ แนะนำให้ปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกปรึกษาทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ตามสะดวก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่