fbpx
Search
Close this search box.

สรรพากรรู้ ‘รายได้’ ของเราได้อย่างไร?

ใครคิดว่าทำงานมีเงินแล้วไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ สรรพากรคงไม่มีทางรู้หรอก บอกเลยว่าเตรียมตัวกันให้ดี เพราะความจริงแล้วสรรพากรสามารถรู้รายได้ของเราได้หลากหลายช่องทางมากมาย แล้วจะมีช่องทางไหนบ้างที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกความอธิบายให้ฟัง

1. ข้อมูลการรับเงิน (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ใบกำกับภาษี)

ถึงแม้ว่าการรับเงินจะไม่โอนผ่านธนาคาร สรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ของท่านได้ เนื่องจากผู้จ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งให้แก่สรรพากรเสมอ รวมถึงแจ้งข้อมูลผู้ได้รับเงิน ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชนไปในแบบนำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย

และถ้าหากบริษัทผู้จ่ายเงินถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน

2. มีเงินโอนเข้าบัญชีหลายครั้ง และเป็นเงินจำนวนมาก ผ่าน E-Payment

หากมีเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ผ่านช่องทางสมาร์ตโฟน บัตรเครดิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สรรพากรทราบรายละเอียดของเงินที่เข้ามาเยอะผิดปกติได้ เพราะตามกฎหมายผู้ให้บริการด้านการเงิน อย่าง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ รวมถึง Payment Gateway หรือ e-Wallet ต่าง ๆ จำเป็นต้องส่งรายงานข้อมูลธุรกรรมให้กับกรมสรรพากร ไม่ว่าจะกรณีฝากเงินหรือโอนเงิน โดยเงื่อนไขในการส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร มีดังนี้

2.1. มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่สนใจยอดจำนวนเงิน

2.2. มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี และ จำนวนเงิน (นับเฉพาะฝั่งเงินรับฝากเข้า) รวมเกิน 2 ล้านบาท 

ทั้งนี้ จะนับรวมเป็นรายปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ โดยข้อมูลที่ส่งให้กับกรมสรรพากรจะรู้แค่ข้อมูลรายได้เบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาเก็บภาษีได้ ต้องนำไปประมวลผลกับข้อมูลอื่น ๆ ร่วมด้วย ว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษีแล้วหรือไม่

3. การร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของสรรพากร

สรรพากรได้เปิดให้ประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสข้อมูล เมื่อพบเห็นความไม่ถูกต้องในการเสียภาษี มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี หรือแจ้งข้อมูลผู้เสียภาษีรายใหม่ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ผ่านช่องทาง www.rd.go.th เมื่อมีรายงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก สรรพากรก็จะดำเนินเรื่องติดตามต่อไป 

4. Web Scraping

เป็นระบบ AI ที่สรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อดึงข้อมูลจากเว็บไซต์มาวิเคราะห์ตรวจสอบ และบันทึกเป็นฐานข้อมูล โดยสามารถสุ่มตรวจกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านการดึงข้อมูล ราคา และจำนวนสินค้าที่ขายได้ตามเว็บ e-commerce นอกจากนี้สรรพากรยังสามารถรู้ข้อมูลของผู้จ่ายเงินให้ร้านค้าได้ อย่างเช่น เราขายของผ่านเว็บ e-commerce เช่น Shopee, Lazada  ทางเว็บ e-commerce จะหักค่าบริการในอัตราที่กำหนดจากยอดขายของเรา เช่น 20% หรือ 30% ของยอดขาย พร้อมกันนั้นทางเว็บ e-commerce ก็จะส่งใบกำกับภาษีให้กับเราและส่งให้สรรพากรด้วย

5. ระบบ Big Data & Data Analytics

เพื่อคัดกรองตรวจสอบความผิดปกติว่า ผู้ประกอบการใดบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี โดยวิเคราะห์จากตัวเลขทรัพย์สินที่สูงผิดปกติ หรือมีพนักงานเงินเดือนสูงๆ ในกลุ่ม SMEs

สรรพากรยังรวบรวมประวัติการเสียภาษีทุกรูปแบบร่วมกับข้อมูลจากภายนอก เช่น กรมการขนส่ง การไฟฟ้า และการประปา เป็นต้น จากนั้นนำมารวบรวมเพื่อคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน และประเมินออกมาเป็นคะแนน หากรายใดคะแนนสูง ถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่ารายที่มีคะแนนต่ำกว่า ยกตัวอย่างการใช้ระบบ Data Analytic เช่น สรรพากรเชื่อมข้อมูลกับการไฟฟ้า การประปา ซึ่งหากพบว่าการใช้ไฟฟ้ากับการใช้น้ำประปาของเราใกล้เคียงกับคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเรา แต่เขาแจ้งรายได้สูงกว่า สรรพากรก็อาจสงสัยว่าเราแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้

สำหรับบุคคลใดไม่เคยยื่นภาษีเลย สรรพากรสามารถใช้อำนาจในตรวจภาษีย้อนหลังได้ถึง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าบุคคลนั้นทำการยื่นภาษี ก่อนโดนหมายเรียก อำนาจในการตรวจของสรรพากรจะลดลงเหลือแค่ 5 ปี ในกรณีไม่มีความผิดร้ายแรง สรรพากรจะทำการตรวจสอบย้อนหลังแค่ไม่เกิน 2 ปี

ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะโดนสรรพากรตรวจ ประชาชนทุกคนที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ควรจะดำเนินเรื่องยื่นภาษีให้ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงด้วยอะไรก็ตาม ถ้าสรรพากรสังเกตถึงความผิดปกติ สรรพากรสามารถใช้อำนาจตรวจสอบได้ทุกเวลาที่คุณอาจคาดไม่ถึง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่