fbpx
Search
Close this search box.

เทียบอัตราเงินเฟ้อ กับเบอร์เกอร์ Bigmac

เทียบอัตราเงินเฟ้อ_กับเบอร์เกอร์_Bigmac_-02

             เพื่อให้เข้าต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ เราลองมาดูกันครับว่าเมื่อเราเปรียบเทียบราคาเบอร์เกอร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ราคาเปลี่ยนไปเท่าไหร่บ้าง

           Big Mac ถูกสร้างขึ้นในปี 1967 โดย Jim Delligati เจ้าของแฟรนไชส์ของ McDonald ในเพนซิลเวเนีย และเปิดตัวทั่วสหรัฐอเมริกาในปีถัดมา จนวันนี้เราสามารถซื้อ Big Mac หรือ McDonald ได้ในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ราคาที่เราจ่ายในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป ซึ่งเห็นจะได้จากดัชนี Big Mac

ดัชนี Big MAC คืออะไร

           ดัชนี Big Mac ถูกคิดค้นโดย The Economist ในปี 1986 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อง่ายต่อการเปรียบเทียบและแสดงแนวคิดเกี่ยวกำลังซื้อของในแต่ละประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันช่วยแสดงให้เห็นถึงอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดระหว่างประเทศว่า “แตกต่างกันหรือไม่” เมื่อเทียบกับต้นทุน และกำลังซื้อสินค้าและบริการที่เหมือนกัน แต่มีราคา และต้นที่ต่างออกไป

               เนื่องจาก McDonald’s เป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ มี Big Mac จำหน่ายทั่วโลก อีกนัยหนึ่งคือ หมายความว่าเบอร์เกอร์ Big Mac สามารถใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบสินค้าพื้นฐานระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกหลายอย่างเช่นวัตถุดิบ และการจัดการค่อนข้างที่จะคล้ายกันเช่น ใช้ไส้ไก่ในอินเดียแทนเนื้อวัว

             การใช้ราคาของ Big Mac ในสองประเทศ สามารถบ่งบอกว่าสกุลเงินมีค่าสูงหรือต่ำเกินไป ตัวอย่างเช่น Big Mac ราคา 129฿ ในประเทศไทยและ $5.81 ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนโดยนัยกับอัตราแลกเปลี่ยนจริง เราจะเห็นได้ว่าเงินหยวนมีค่าสูงหรือต่ำเกินไป

           ตามดัชนี Big Mac หมายความว่าเราซื้อเบอร์เกอร์ได้ถูกกว่าที่สหรัฐ 36% แต่ในความเป็นจริงแม้เราซื้อได้ถูกกว่า แต่รายได้เฉลี่ยของเราต่ำกว่าสหรัฐเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากต้องการเปรียบว่าสินค้าถูกหรือแพงจริงๆ จำเป็นจะต้องเทียบราคาสินค้ากับค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละประเทศ

              นอกเหนือจากความคลาดเคลื่อนของสกุลเงินแล้ว ดัชนียังมีประโยชน์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น มันแสดงให้เห็นอัตราเงินเฟ้อของราคาเบอร์เกอร์เมื่อเวลาผ่านไป หากเราเปรียบเทียบราคาของ Big Mac ในประเทศต่างๆ ในสกุลเงินเดียวกัน—เช่น ดอลลาร์สหรัฐ—เราจะสามารถเห็นได้ว่าเบอร์เกอร์ที่ใดถูกกว่าหรือค่อนข้างแพงกว่า

เทียบอัตราเงินเฟ้อ_กับเบอร์เกอร์_Bigmac_-01

ประเทศ

พฤษภาคม 2547มกราคม 2022% เปลี่ยน

สวิตเซอร์แลนด์

$4.88$6.9843%

สหรัฐ

$2.90$5.81100%

เวเนซุเอลา

$1.48$5.06243%

ศรีลังกา

$1.41$4.15193%

ประเทศไทย

$1.45$3.84166%

จีน

$1.26$3.83205%

เกาหลีใต้

$2.72$3.8240%

ญี่ปุ่น

$2.32$3.3846%

ไต้หวัน

$2.25$2.7020%

รัสเซีย

$1.45$1.7420%

           ถึงสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นประเทศมีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็มีค่าแรงที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

            ส่วนเวเนซุเอลาได้เห็นการกระโดดครั้งใหญ่ของราคาเบอร์เกอร์ โดยราคาของบิ๊กแม็คพุ่งขึ้นเกือบ 250%ตั้งแต่ปี 2547 ประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อรุนแรงมาหลายปี จึงไม่แปลกใจเลยที่ข้อมูลของประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างมาก

             เป็นที่น่าสังเกตว่ารัสเซียมีบิ๊กแม็คที่ถูกที่สุด แต่อย่าลืมว่าต้นค่าแรงในรัสเซียเพียงแค่ประมาณหนึ่งในสามของสวิตเซอร์แลนด์

               แม้ว่าประเทศไทยจะราคา Big Mac ค่อนข้างที่จะใกล้เคียงกับเกาหลีใต้แต่กลับมีราคามากถึง 26% ในขณะที่เกาหลีใต้มีราคาเพียง 6%ของค่าแรงขั้นต่ำ

ข้อจำกัดของ Burgernomics

                ดัชนี Big Mac มีประโยชน์ด้วยเหตุผลหลายอย่าง นักลงทุนสามารถใช้เพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อได้เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยการเปรียบเทียบกับบันทึกอย่างเป็นทางการ ทำให้เรารับรู้ถึงมูลค่าของเงินที่เปลี่ยนไป 

แน่นอนว่าดัชนี Bigmac ยังมีข้อจำกัดในหลายประการ เช่น

  • สินค้าหรือบริการที่ซื้อขายอาจมีราคาแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ราคาของ Big Mac จะขึ้นอยู่กับต้นทุนของสิ่งต่างๆ เช่น ค่าแรง ค่าบริหารจัดการต่างๆ
  • McDonald’s ไม่ได้อยู่ในทุกประเทศในโลก ซึ่งหมายความว่าการเข้าถึงทางภูมิศาสตร์ของดัชนี Big Mac มีข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา
  • ดัชนีขาดความหลากหลาย ดัชนีประกอบด้วยหนึ่งรายการ : บิ๊กแม็ค ด้วยเหตุนี้จึงขาดความหลากหลายของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค

          อย่างไรก็ถามถึงแม้จะมีข้อจำกัดทั้งหมดเหล่านี้ แต่ดัชนี Big Mac ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำความเข้าใจถึงความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ และมูลค่าของเงิน จากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ซับซ้อน ดังนั้น ดัชนี Big Mac จะทำให้เราสามารถย่อยข้อมูลได้ง่ายกว่าด้วยของกินที่คุ้นเคยอย่างเบอร์เกอร์

ที่มา :  visualcapitalist

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่