fbpx
Search
Close this search box.

ไขข้อเท็จจริง เพราะอะไร ทำไมค่าไฟประเทศไทยถึงแพงที่สุดในอาเซียน

ไขข้อเท็จจริง เพราะอะไรทำไมค่าไฟแพง

ค่าไฟเป็นของจำเป็นต่อประชาชนทุกคนอย่างมากเพราะทุกคนต้องเสียค่าไฟฟ้าในทุกๆเดือน และแต่ละเดือนมีค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน และยังเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนรู้ว่าในแต่ละเดือนค่าไฟฟ้ามีอัตราการคำนวณอย่างไร แล้วทำไมหน่วยค่าไฟแต่ละตัวไม่เท่ากัน และที่สำคัญที่สุดเลย คือวันนี้เราจะมาดูกันว่า เพราะอะไรทำไมค่าไฟประเทศไทยถึงแพงที่สุดในอาเซียน มาเริ่มกันเลย

       ในช่วงเดือพฤษภาคม – สิงหาคมที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีค่าไฟจากเดิม 3.78 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นเป็น 4 บาทต่อหน่วย โดยทั้งนี้รัฐยังมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนอีกด้วย และคาดการณ์ว่าในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 จะมีอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยนอยู่ที่ 4.72 บาทต่อด้วย แต่ถ้าเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนประเทศไทยถือว่ามีค่าไฟฟ้าที่ค่อนข้าสูงเลยทีเดียว มาดูกันว่าอะไรที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น

       หน่วยงานที่รับเรื่องและทำหน้าที่ในการพิจารณาปรับค่าไฟฟ้านั่นก็คือ กกพ. หรือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในการกำกับดูแลพลังงานและมีอำนาจในการพิจารณาปรับค่าเอฟทีขึ้น 

  • ค่าเอฟที (FT) คือ ค่าไฟฟ้าผันแปรเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าควบคุมไม่ได้ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราค่าแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ หรือจะเป็นราคาเชื้อเพลิง เป็นต้น ซึ่งค่าไฟฟ้าจะถูกลง หรือแพงขึ้นก็ขึ้นอยู่กับค่าเอฟที (FT) นี่แหละ

       และในปัจจุบันมีค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีค่าไฟฟ้าที่แพง ซึ่งปัจจัยหลักมาจาก “ก๊าซธรรมชาติขาดแคลน” เกิดจากก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งในอ่าวไทยจากแหล่งผลิตหลักเอราวัณขาดหายไป และอีกส่วนมากจากการเมียนมาร์ที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำลังการผลิตเดิม และมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศไทยบ้านเราต้องนำเข้า “ก๊าซธรรมชาติเหลว” หรือที่รู้จักกันดีว่า “LNG” จากต่างประเทศเข้ามาเสริมเพื่อทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทย แต่ทั้งนี้ก๊าซธรรมชาติเหลวก็ยังคงมีราคาสูงและมีการผันผวนอยู่ตลอดเวลา

       โดยสาเหตุที่ทำให้ก๊าซธรรมชาติเหลวมีราคาสูงและผันผวนตลอดเวลานั่นก็คือ การเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่รัสเซียลดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ทำให้เกิดความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้นในยุโรป และ ปัญหาที่เกิดจากการสะสมในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ที่แพร่ระบาดหนัก แต่พอสถานการณ์เริ่มดีขึ้นก็ทำให้มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อราคาซื้อขายและสัญญาซื้อขาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่