fbpx
Search
Close this search box.

มารู้จักกับ “หน่วยทองคำ กับ มาตราฐานทองคำ” กันเถอะ

มารู้จักกับหน่วยทองคำกับมาตราฐานทองคำกันเถอะ

ถ้าพูดถึง ทองคำ ใครๆก็อยากได้ ยิ่งในปัจจุบันมีราคาทองพุ่งสูงกว่าบาทละ 30,000 บาท ซึ่งทองถือว่าเป็นสิ่งของที่ยิ่งเก็บไว้ ยิ่งมีราคา ถ้านับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ราคาทองยังอยู่ที่ประมาณ 19,000 บาท เปรียบกับปัจจุบันราคาทองขึ้นมาถึงประมาณ 11,000 บาท ใครที่เป็นมือใหม่หัดซื้อทองต้องอ่าน เพราะวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหน่วยทองคำ กับ มาตรฐานทองคำ กันว่าเป็นยังไง

หน่วยน้ำหนักทองคำ คืออะไร

       เวลาไปซื้อทองไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ เรามักจะซื้อกันด้วยน้ำหนักทองเป็นหน่วยบาท หรือเป็นสลึง แต่ในบางครั้งที่เราดูจากข่าวสารที่เกี่ยวกับทองเรามันจะได้เห็นคำอื่นๆอีกด้วย เช่น ออนซ์ หรือ กรัม ทั้งนี้แต่ละประเทศจะเรียกหน่วยน้ำหนักทองคำที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • กรัม (Gram : g) เป็นหน่วยทองคำสากล ที่หลายๆประเทศใช้กัน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย ไม่ว่าจะซื้อขายทองคำเป็นหน่วยอะไรก็ตาม ก็ต้องมาชั่งวัดเป็นค่าหน่วย กรัมก่อนเสมอ
  • บาท (Baht) เป็นหน่วยที่ประเทศไทยนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก เช่น ทอง 1 บาท เท่ากับทอง 4 สลึงหรือ 100 สตางค์ เป็นต้น โดยคำว่า สลึง และ สตางค์ เป็นหน่วยที่ใช้สำหรับเรียกน้ำหนักทองคำน้อยกว่า 1 บาท
  • ทรอยออนซ์ หรือ ออนซ์ (Oz) ซึ่งจะนิยมใช้กำหนดราคาซื้อขายกันในตลาดทองคำโลก และนิยมใช้ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ประเทศอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษ เป็นต้น
  • โทลา (Tolar) เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำที่ใช้กันในประเทศอินเดีย ประเทศสิงคโปร ประเทศปากีสถาน รวมไปถึงประเทศในแถบตะวันออกกลางอีกด้วย
  • ตำลึง (Tales) เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำที่นิยมใช้กันในประเทศจีน ไต้หวัน และฮ่องกง
  • ชิ (Chi) เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำที่นิยมใช้กันในประเทศเวียดนาม
  • ดอน (Don) เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำที่นิยมใช้กันในประเทศเกาหลี

และนอกจากนี้ในอดีตได้เคยมีการเรียกหน่วยน้ำหนักทองคำว่า เฟื้อง โดยทอง 1 เฟื้องเท่ากับทองครึ่งสลึง หรือจะเป็นหน่วย หุน จะมีค่าหน่วยที่ต่ำกว่าหน่วยทองสลึง เช่น ทอง 10 หุนเท่ากับทอง 1 สลึง

มาตราฐานทองคำ คืออะไร

       โดยในปัจจุบันจะแบ่งเปอร์เซ็นทองคำ หรือ ทองคำบริสุทธิ์ออกเป็นสองแบบ คือ ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 เปอร์เซ็น และทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็น ซึ่งทองคำบริสุทธิ์ทั้ง 2 แบบจะนิยมเอามาใช้งานที่แตกต่างกันได้

  • ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 เปอร์เซ็น จะมีความแข็งแรงพอที่จะเอาไปทำเป็นเครื่องประดับต่างๆได้ ซึ่งทองคำบริสุทธิ์ 96.5 เปอร์เซ็นจะมีน้ำหนักให้เลือกตั้งแต่ 0.6 กรัม – 5 บาท และ 10 บาท อีกทั้งทองคำชนิดนี้ยังนิยมที่สุดในประเทศไทย
  • ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็น จะมีความอ่อนกว่าทองคำบริสุทธิ์ 69.5 เปอร์เซ็น เนื่องจากเป็นทองคำอยู่เกือบ 100 เปอร์เซ็น ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการนำมาเป็นเครื่องประดับ แต่ส่วนใหญ่จะนำมาขายต่อเป็นกิโลกรัมซะมากกว่า

       สาเหตุที่ทองคำแท่งมีน้ำหนักเยอะและซื้อขายได้ในราคาที่ดีกว่าทองคำรูปพรรณ เพราะขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยาก สามารถเทลงบล็อคได้เลย ทำให้เนื้อทองเต็มมากกว่า แต่ทองรูปพรรณจะมีน้ำหนักทองหายไปส่วนหนึ่ง เนื่องจากต้องแปรรูปเป็นเครื่องประดับ อีกทั้งยังมีส่วนประกอบของน้ำประสานทองอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่