fbpx
Search
Close this search box.

10 โรคร้าย วัยทำงาน ต้องระวัง

เชื่อว่าคนวัยทำงานหลายคน คงจะเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวดเมื่อยตามร่างกาย การปวดหัวบ่อย ๆ หรือแม้กระทั่งอาการตาล้า ซึ่งบทความนี้เอซียูเพย์จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ 10 โรคร้ายในวัยทำงาน เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้ระมัดระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดโรคร้ายเหล่านี้กันค่ะ

1. ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม

โรคยอดฮิตของกลุ่มวัยทำงาน คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น

2. โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน

เกิดจากพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การรับประทานอาหารเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป เป็นต้น มักมีอาการท้องอืดหรือแน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียนหลังรับประทานอาหาร และแสบร้อนบริเวณหน้าอก

3. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

พบได้บ่อยจากกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ ที่ทำงานแบบไม่ค่อยลุกออกจากโต๊ะ ชอบอั้นปัสสาวะไว้นานๆ หรือกลุ่มที่ต้องเดินทางไกลแล้วไม่อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ รวมถึงการดื่มน้ำน้อยไปในแต่ละวัน มักมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะออกได้ไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด และปวดหน่วงท้องน้อย

4. โรค CVS (Computer Vision Syndrome)

โรค CVS (Computer Vision Syndrome)

คือกลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ที่มีผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเลต หรือโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น มักมีอาการตาแห้ง ระคายเคืองตา และสายตาพร่ามัว

5. โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงอาการ อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและใจสั่น การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างมากและจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมา

6. โรคไมเกรน

โรคไมเกรน

โรคไมเกรนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ความเครียด การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เป็นต้น มักจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว และอาจมีอาการนำก่อนปวดหัว เช่น เห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ เป็นต้น

7. โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ แบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น มักมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ใจสั่น วูบบ่อย ดังนั้นใครที่มีอาการเหล่านี้ ควรต้องรีบไปพบแพทย์กันนะคะ

8. โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น

ผู้ป่วยกว่า 80% – 90% ที่ปวดหลังจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือปวดเอวด้านล่าง อาการชาบริเวณปลายเท้า  โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2 โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการยกของ ออกกำลังกาย หรือนั่งนาน ๆ หากกดตามแนวกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บ เพราะกล้ามเนื้อเกิดอาการล้า 

9. โรคปลอกประสาทอักเสบ

โรคปลอกประสาทอักเสบ

ปัจจุบันทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำการวิจัยให้ข้อมูลออกมาว่าอะไรคือสาเหตุของโรค แต่มีข้อสันนิษฐานจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ คือ พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส EVB ขาดวิตามินดี การสูบบุหรี่ และโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ลำไส้อักเสบ ไทรอยด์ เป็นต้น มักจะมีอาการเจ็บตา อารมณ์แปรปรวน เคี้ยวอาหารลำบาก ทรงตัวไม่ค่อยได้ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย

10. โรคอาหารไม่ย่อย

โรคอาหารไม่ย่อย

สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาหารไม่ย่อย คือการรับประทานอาหารมากเกินไปหรือรับประทานเร็วเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การวิตกกังวล การรับประทานอาหารไขมันสูง มันเยิ้ม หรือเผ็ดจัด และมักจะมีอาการปวดบริเวณลิ้นปี่ และแสบร้อนกลางอก

การดูแลตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เราควรใช้ชีวิตให้เกิดความสมดุลกัน ตั้งใจทำงาน อย่าหักโหมจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เต็มที่ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการตรวจสุขภาพประจำปีนั่นเอง เท่านี้เราก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้

ผู้เขียน

Picture of ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่