อยากใช้ชีวิตวัยเกษียณให้สุขสบาย ไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน แต่กลับเป็นว่าแผนที่วางไว้ กลับไม่ตรงใจอย่างที่ฝัน สาเหตุเป็นเพราะอะไร ครั้งนี้ ACU PAY จะพาไปหา 5 ข้อผิดพลาดที่ไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากทำลายแผนหลังเกษียณ
หลายคนมัวแต่คิดว่าเรื่องการวางแผนการเงินไม่ค่อยสำคัญ ไม่ก็คิดว่าตัวเองมีเวลาอีกนาน ไว้ทำงานไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยเก็บก็ได้ แต่ความจริงการมัวแต่ทำงานจนลืมวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบหรือเริ่มวางแผนช้าเกินไป คิดถึงแค่ความสุขความสบายในตอนนี้ นี่กำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังก้าวเข้าไปอยู่ในหลุมพรางที่ฉุดลงจากแผนชีวิตสุขสบายในวันเกษียณ
เมื่อจะวางแผนหลังเกษียณเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในแต่เดือนในวัยเกษียณ แต่ปัญหาหลายคนเจอคือ คำนวณเงินเกษียณออกมาน้อยกว่าความเป็นจริง ทำให้เงินออมที่มีหมดก่อนเวลา ข้อแนะนำในการมีเงินเกษียณที่เพียงพอคือ ต้องมาดูว่าตัวเองอยากมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไร และจะใช้เงินหลังเกษียณไปอีกกี่ปี
เช่น อยากมีเงินใช้เดือนละ 15,000 บาท ไปอีก 20 ปีหลังเกษียณ ดังนั้นเราควรมีเงินประมาณ 3.6 ล้านบาท (15,000 x 12 x 20) และต้องคิดเปอร์เซ็นต์เงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นด้วย จากนั้นให้ลองคำนวณต่อว่า เงินที่ออมอยู่นี้ เมื่อถึงวันที่เกษียณจะเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ นำมาเปรียบเทียบว่าการออมหรือการลงทุนของเราจะเพียงพอถึงวัยเกษียณแล้วหรือยัง
ข้อแนะนำในการคิดคำนวณเกี่ยวกับการจัดสรรสินทรัพย์สำหรับวัยเกษียณ จาก SET มีตัวอย่างตามนี้
ทั้งนี้อาจปรับการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง และผลตอบแทนที่คาดหวังว่าจะได้รับด้วย ซึ่งบางครั้งถ้ายิ่งคิดว่าจะมีอายุยืน เราต้องยิ่งกล้าที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น
ถ้าลองมามองเกณฑ์เงินเบี้ยคนชราในประเทศไทยตอนนี้ เริ่มต้นที่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยจะได้เบี้ย 600 – 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยมาก ในขณะเดียวกันหลายคนฝากความหวังไว้กับทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยที่หักจากเงินเดือนและเงินที่นายจ้างช่วยสมทบตลอดการทำงานทั้งชีวิตอย่างเดียว
จากผลสำรวจสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปี 2560 ชี้ให้เห็นว่า 50% ของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีเงินก้อนไม่ถึง 1 ล้านบาท แต่ตามความเป็นจริงแล้วเราควรมีเงินออมในวัยเกษียณอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 ล้านบาท ถ้ารอแต่เงินพวกนี้และเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าคงไม่พอใช้ในวัยเกษียณแน่นอน
หลาย ๆ คนวางแผนเงินเกษียณมาอย่างดี แต่กลับลืมคิดถึงเรื่องเงินเฟ้อและค่าเงินที่เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจในอนาคตอย่างน้อย 1 – 3% ต่อปี ทำให้เงินที่เก็บออมมาไม่พอใช้ซะอย่างนั้น ดังนั้นก่อนจะเก็บเงินเกษียณ แนะนำให้คำนวณอัตราเงินเฟ้อเผื่อเอาไว้ หรือเข้าโปรแกรมคำนวณเงินเฟ้อ ก็จะช่วยให้เห็นภาพรวมของการเตรียมเงินเกษียณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การวางแผนเกษียณอายุนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว ดังนั้นเราควรวางแผนเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินสำหรับการดำเนินชีวิตในวัยเกษียณให้มั่นคงและเหมาะกับการใช้ชีวิตของเรา ยิ่งเริ่มได้เร็วเท่าไหร่ได้ ก็ยิ่งดีเท่านั้น แล้ววันนี้คุณวางแผนเกษียณกันแล้วหรือยัง?
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |