พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เสียภาษียังไง ?
ภาษีออนไลน์เป็นเรื่องพื้นฐานที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้และต้องทำความเข้าใจ ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายละเอียดยังไงบ้างไปดูกันเลย
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เกี่ยวข้องยังไงกับขายของออนไลน์?
โดยปกติแล้วการขายของออนไลน์จะอยู่ในรูปแบบธุรกิจซื้อมาขายไป ซึ่งจัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 เป็น เงินได้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หมายความว่าจะต้องยื่นภาษี และเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรและภาษีก็ยังมีมุมน่ารักอยู่บ้าง เพราะเราสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 ช่องทาง (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) ไม่ว่าจะเป็น การหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาตามที่กฎหมายกําหนด
วิธีคํานวณภาษี จะคิดจากรายได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปี
พ่อค้าแม่ค้าหลายคน (ที่ทําธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดา) มักจะเข้าใจผิดว่า การคํานวณภาษีสําหรับคนขายของคือ เมื่อมีรายได้เท่าไหร่ ให้นําเงินที่ได้นั้นมาคูณอัตราภาษีได้ทันที จึงทําให้หลายๆ คนเห็นจํานวนภาษีที่ต้องจ่ายผิดไป ซึ่งในความจริงแล้ว อัตราภาษีที่คุณต้องจ่ายจะสามารถคํานวณได้จากเงินได้สุทธิ คือ
เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี
หมายความว่า เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกําหนด และหากเรามีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างเหมาะสม ภาษีที่เราจะต้องจ่ายก็จะลดน้อยลงไปด้วย
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขายของต้องยื่นภาษี ทั้งภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีด้วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนมักจะไม่รู้ว่า รายได้จากการค้าขายตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน ของทุกปี มากกว่า 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือ รายได้รวมกับคู่สมรสแล้วเกิน 120,000 บาท เราจะต้องทําการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ด้วย หมายความว่า ใน 1 ปี เราจะต้องทําการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปีในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี ควบคู่ไปกับการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ด้วย โดยอาจจะต้องยื่นภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง (ประจําปี 1 ครั้ง และครึ่งปีอีก 1 ครั้งด้วย)
สรุป ความสะดวกไม่ใช่สถานที่ แต่หมายถึงสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าสะดวกสบาย ที่จะได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่ต้องการ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกี่ยวข้องกับ “ภาษีขายของออนไลน์” ?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นภาษีขายของออนไลน์ ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องเจอเมื่อยอดขายตลอดทั้งปีเกิน 1,800,000 บาท โดยกฎหมายจะบังคับให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ยอดขายเกิน 1,800,000 บาท (แต่จะเลือกเข้าระบบ VAT ก่อนยอดขายเกิน 1.8 ล้าน ก็สามารถทําได้ เช่นกัน เมื่อจด VAT แล้วพ่อค้าแม่ค้าจะต้องจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค โดยคํานวณจากมูลค่าสินค้า แล้วนําส่ง ให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที โดยต้องยื่นภาษีเป็นรายเดือน ซึ่งเรียกว่า “ภ.พ.30
สรุป เมื่อขายสินค้าจะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นจํานวนเงินรวมทั้งสิ้น 107 บาท (ค่าสินค้า 100 บาท + VAT 7 บาท)
โดยค่าสินค้าจะนำไปคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ส่วน VAT 7 บาท จะต้องนําส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปโดยไม่ต้องนําไปคํานวณเป็นเงินได้ของกิจการ โดยภาษีที่เรียกเก็บจากตอนขายจะเรียกสั้นๆ ว่า ภาษีขายในทางกลับกัน ถ้าซื้อสินค้ามาในราคา 107 บาท แสดงว่าสินค้านั้นจริงๆ ราคาเพียง 100 บาท แต่อีก 7 บาทนั้นคือ VAT ที่ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จด VAT แล้วจ่ายตอนซื้อสินค้า ซึ่งค่าภาษี 7 บาทที่จ่ายไปตอนซื้อสินค้าเข้ามา เรียกสั้นๆ ว่า ภาษี ซื้อ
การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จด VAT แล้วจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน (เดือนภาษี) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัด ไปไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนําส่งหรือไม่ก็ตาม ซึ่งในแต่ละเดือนอาจเกิดผลลัพธ์แตกต่างกันในแต่ละกรณีดังต่อไปนี้
1. ในกรณีที่ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ
กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายมากกว่ายอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) มากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป (ภาษีซื้อ) ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนําส่วนต่างนี้มานำส่งให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นภาษีรายเดือน (ตามมาตรา 82/3 วรรคสอง ประมวลรัษฎากร)
2. ในกรณีที่ภาษีขาย เท่ากับ ภาษีซื้อ
กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายเท่ากับยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการจึงไม่มีภาระต้องนําส่วนต่างนี้ แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีรายเดือนอยู่ดี
3. ในกรณีภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ
กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายน้อยยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ แต่ไม่มีหน้าที่ต้องนําส่งภาษี เพราะตนจ่ายออกไปมากกว่าที่เรียกเก็บได้ เนื่องจากหักออกจากภาษีขายไม่หมดนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถเลือกใช้ประโยชน์เป็นเครดิต ภาษีสําหรับการยื่นภาษีครั้งต่อไป หรือขอเงินคืนภาษีก็ได้
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จด VAT แล้ว จะได้ประโยชน์จากการซื้อขายสินค้าและบริการ คือ สามารถนํา VAT ที่ตัวเองจ่ายไปในฐานะภาษีซื้อมาหักกลบกับภาษีขาย ทําให้ภาระต้นทุนต่ําลงได้ เช่น จากเดิมต้นทุน 107 บาทจะเหลือเพียง 100 บาท เพราะลูกค้าของผู้ประกอบการจะเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อย่างไรก็ดี แม้ต้นทุนเรื่องสินค้าหรือบริการจะลดลง แต่การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะมีต้นทุนค่าทําบัญชีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจําเป็นต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อสังเกตในมิติการป้องกัน ในกรณีนี้หากเราจ่ายภาษีอย่างถูกต้องเราไม่ต้องกังวลใดๆ แต่หากเราไม่ได้มีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง อาจจะถูกโจมตีจากคู่แข่ง หรือถูกเก็บภาษีย้อนหลังได้
Reference : i Tax