fbpx
Search
Close this search box.

พารู้จัก ‘Atelophobia’ โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ

Atelophobia

กำลังรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ ทำอะไรก็กลัวทำผิดพลาด กังวลจิตตก จนสุดท้ายก็รู้สึกหมดไฟไม่มีแรงทำต่อซะงั้น ถ้าเพื่อน ๆ กำลังมีความรู้สึกนี้อยู่รึเปล่า ไม่แน่นะ ว่าอาจจะเข้าข่ายโรค ‘Atelophobia’ หรือ โรคกลัวตัวเองดีไม่พอ อยู่ก็ได้นะ

ซึ่งครั้งนี้ เอซียูเพย์ จะพาไปทำความรู้จักโรค ‘Atelophobia’ แล้วลองสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายโรคนี้ขนาดไหนและควรรักษาหรือบำบัดได้อย่างไร

อะเทโลโฟเบีย (Atelophobia) คืออะไร

‘อะเทโลโฟเบีย’ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการโฟเบีย หรือโรคกลัว ชนิดเฉพาะเจาะจง ซึ่งแตกต่างจากโรคกลัวความล้มเหลวทั่วไป  อะเทโลโฟเบีย มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยมาจากคำว่า Atelo ที่แปลว่าความไม่สมบูรณ์แบบ และคำว่า Phobia ที่แปลว่าความกลัว เมื่อนำมารวมกัน ก็กลายเป็นคำว่า อาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบนั้นเอง

อาการ ‘อะเทโลโฟเบีย’ เป็นอย่างไร?

  • โกรธหรือหงุดหงิด
  • รู้สึกหมดไฟ เหนื่อย ไม่มีแรงทำอะไร
  • ซึมเศร้า วิตกกังวลอย่างรุนแรง
  • ไม่สามารถยอมรับคำวิจารณ์ได้ 
  • ไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งอื่น นอกจากความกลัวได้
  • การมองโลกในแง่ร้าย มองหาข้อผิดพลาดของตัวเองเสมอ

ซึ่งอาการนี้เป็นสามารถทำให้เกิดอาการแพนิก ที่มีอาการเช่น

  • มีการหายใจที่ถี่รัว 
  • มีความตึงเครียดบริเวณกล้ามเนื้อ 
  • ปวดศีรษะ 
  • ปวดท้อง 
  • นอนไม่หลับ 
  • พฤติกรรมการกินที่ผิดแปลกไป

คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) vs โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ (Atelophobia)

‘เพอร์เฟคชั่นนิสต์’ กับ ‘อะเทโลโฟเบีย’ นั้นแตกต่างกัน ‘เพอร์เฟคชั่นนิสต์’ เป็นลักษณะบุคลิกภาพ มีมาตรฐานสูง ชอบทำทุกอย่างให้ดีที่สุด พยายามไม่มีจุดบกพร่อง 

แต่ ‘อะเทโลโฟเบีย’ เป็นความผิดปกติทางจิตใจ กลัวความผิดพลาด กลัวความล้มเหลว จนทำให้หลีกเลี่ยงในการทำสิ่งสิ่งนั้นไปเลย ซึ่งจะกระทบกับชีวิตประจำวันมาก ๆ ทั้งชีวิตการเรียน การทำงาน ไปจนถึงความสัมพันธ์

ถ้ามีอาการถึงขั้นนี้ควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเกิดข้อผิดพลาด ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจว่าจะทำได้อย่างสมบูรณ์แบบจะไม่ทำเลย
  • มีอาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น
  • มีความวิตกกังวลที่รุนแรง ชอบคิดหมกมุ่นว่าตัวเองจะทำอะไรผิดพลาดและกลัวว่าจะทำให้คนอื่นผิดหวัง
  • ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตทุกด้าน เช่น การทำงาน การเรียน ความสัมพันธ์ ครอบครัว

ทางเลือกการรักษา โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ

โรคนี้ไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินอาการด้วยคำถามเกี่ยวกับความกลัวของผู้ป่วย วิธีการรักษาจะมีหลากหลาย เช่น 

  • รับการบำบัด 

Cognitive Behavioral Therapy : เน้นแก้ความคิดที่เป็นปัญหา เปลี่ยนความคิดเพื่อให้พฤติกรรมเปลี่ยน ต้องหาเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงมองความผิดพลาดในแง่ลบมากกว่าที่จะมองว่าเป็นการเรียนรู้ 

Exposure therapy : ทำให้คุ้นชินกับความคิดนั้น ส่วนใหญ่วิธีนี้จะให้เผชิญกับสิ่งที่กลัว ค่อย ๆ เพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ชินไปทีละเล็กละน้อย

  • ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต

ปรับสมดุลร่างกายกินดี ออกกำลังกาย นอนให้เพียงพอ จะช่วยปัดความคิดลบได้ อาจฝึกการทำสมาธิจะช่วยในเรื่องของความวิตกกังวลและ panic attack ได้อีกด้วย

  • รักษาด้วยยา

ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก อาการนี้อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ยาก แพทย์อาจให้ยาจิตเวชเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคร่วมด้วย

หากใครที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับอาการที่กล่าวมาทั้งหมด แนะนำให้ไปพบ นักจิตบำบัด หรือ จิตแพทย์ เพื่อหาต้นตอของปัญหานี้และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ยิ่งรู้ทันเร็วเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ชีวิตและสุขภาพจิตกลับมาสดใสแข็งแรงอีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่