“พายุสุริยะ” กำลังเป็นเรื่องที่จับตามองของ NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า ความแรงของพายุสุริยะ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจะแรงสุดในปี 2568 โดยมีโอกาสเกิน 10 เปอร์เซ็น ที่อาจทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลกยาวนานเป็นเดือน ๆ ได้
พายุสุริยะ (solar storm) ไม่ใช่ศัพท์ทางการทางวิทยาศาสตร์ แต่คำที่ผู้คนเรียกกันเอง เกิดขึ้นจากการแผ่กระจายตัวออก ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า อย่าง ลมสุริยะ (solar wind) เปลวสุริยะ (solar flare) และ ก้อนมวลสารจากโคโรนา หรือ CME (coronal mass ejection) ถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์อย่างรุนแรง จนอาจเกิดปัญหาขึ้นกับระบบดาวเทียมที่โคจรรอบโลกได้
ในขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางถึงโลกในเวลา 8 นาที ลมสุริยะจะใช้เวลา 4 วัน และส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลกเราได้ เปรียบได้กับมี “พายุ” จากดวงอาทิตย์ พุ่งเข้าหาโลกของเรา
ซึ่งประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสาร ส่งผลทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นอัมพาต เช่น ดาวเทียมเสียหาย ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ รวมถึงจีพีเอส โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้
โดยปกติแล้ว “ลมสุริยะ” จะมีกระแสของรังสีคอสมิกที่ออกมาจากดวงอาทิตย์ เป็นประจำอยู่แล้ว โดยจะมีวงรอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีค่าสูงสุดในทุก 11 ปี ซึ่งก็จะมาครบในปี 2568 นี้ และโลกก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยอาจจะเกิด “พายุแม่เหล็กโลก (geometric storm)” ขึ้น ซึ่งส่งผลรบกวนบดบังสัญญาณของดาวเทียม ระบบการสื่อสาร และระบบสายส่งไฟฟ้า จนบางคนต่างกลัวว่านี่จะเป็นการล่มสลายทางเทคโนโลยีหรือเปล่า
ซึ่งความน่าจะเป็นที่พายุสุริยะจะสร้างความเสียหายกับระบบอินเทอร์เน็ตได้แบบนั้น คาดว่ายังต่ำมาก โดยจากผลการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 2021 ของ Sangeetha Abdu Jyothi ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัย the University of California, Irvine ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สรุปว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ มีโอกาสที่ระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกรบกวนเป็นเวลานานได้เพียง 1.6% – 12% แต่ถ้าเกิดขึ้นจริง ผลการศึกษาได้ประเมินว่า จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อินเทอร์เน็ตจะล่มได้มากกว่าเอเชีย อยู่สูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อวัน
อย่างไรก็ตามทางนาซ่าก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา เพื่อตรวจจับให้ได้ล่วงหน้าทันท่วงที เช่น นาซ่าได้ส่งจรวดปล่อยยาน Parker Solar Probe มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการป้องกันไม่เกิดหายนะอินเทอร์เน็ตอย่างที่กังวลกันโดย ยาน Parker Solar Probe นี้ยังเก็บข้อมูลของดวงอาทิตย์ ลมสุริยะ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการไขปริศนาฟิสิกส์ของดวงอาทิตย์
ยิ่งไปกว่านั้น นาซ่ายังได้ทำแบบจำลองที่รวมกันระหว่าง เอไอ ปัญญาประดิษฐ์ และ ข้อมูลดาวเทียม ที่จะสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยให้รู้ถึงสภาพภูมิอวกาศที่เลวร้ายได้ คล้ายกับไซเรนแจ้งเตือนพายุ โดยมันจะทำนายได้ว่า พายุสุริยะจะโจมตีโลกที่บริเวณใด ในเวลาเตือนภัยล่วงหน้า 30 นาที ซึ่งมากเพียงพอสำหรับการเตรียมและป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดกับระบบสายส่งไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่น ๆ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |