fbpx
Search
Close this search box.

NASA เผย พายุสุริยะที่แรงขึ้น อาจทำให้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกล่มหลายเดือน

“พายุสุริยะ” กำลังเป็นเรื่องที่จับตามองของ NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า ความแรงของพายุสุริยะ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจะแรงสุดในปี 2568 โดยมีโอกาสเกิน 10 เปอร์เซ็น ที่อาจทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลกยาวนานเป็นเดือน ๆ ได้

พายุหรือลมสุริยะคืออะไร

พายุสุริยะ (solar storm) ไม่ใช่ศัพท์ทางการทางวิทยาศาสตร์ แต่คำที่ผู้คนเรียกกันเอง เกิดขึ้นจากการแผ่กระจายตัวออก ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า อย่าง ลมสุริยะ (solar wind) เปลวสุริยะ (solar flare) และ ก้อนมวลสารจากโคโรนา หรือ CME (coronal mass ejection) ถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์อย่างรุนแรง จนอาจเกิดปัญหาขึ้นกับระบบดาวเทียมที่โคจรรอบโลกได้

ในขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางถึงโลกในเวลา 8 นาที ลมสุริยะจะใช้เวลา 4 วัน และส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลกเราได้ เปรียบได้กับมี “พายุ” จากดวงอาทิตย์ พุ่งเข้าหาโลกของเรา

ซึ่งประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสาร ส่งผลทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นอัมพาต เช่น ดาวเทียมเสียหาย ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ รวมถึงจีพีเอส โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้

ทำไมถึงต้องเฝ้าระวังพายุสุริยะในปี 2568

โดยปกติแล้ว “ลมสุริยะ” จะมีกระแสของรังสีคอสมิกที่ออกมาจากดวงอาทิตย์ เป็นประจำอยู่แล้ว โดยจะมีวงรอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีค่าสูงสุดในทุก 11 ปี ซึ่งก็จะมาครบในปี 2568 นี้ และโลกก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยอาจจะเกิด “พายุแม่เหล็กโลก (geometric storm)” ขึ้น ซึ่งส่งผลรบกวนบดบังสัญญาณของดาวเทียม ระบบการสื่อสาร และระบบสายส่งไฟฟ้า จนบางคนต่างกลัวว่านี่จะเป็นการล่มสลายทางเทคโนโลยีหรือเปล่า

ซึ่งความน่าจะเป็นที่พายุสุริยะจะสร้างความเสียหายกับระบบอินเทอร์เน็ตได้แบบนั้น คาดว่ายังต่ำมาก โดยจากผลการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 2021 ของ Sangeetha Abdu Jyothi ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัย the University of California, Irvine ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สรุปว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ มีโอกาสที่ระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกรบกวนเป็นเวลานานได้เพียง 1.6% – 12% แต่ถ้าเกิดขึ้นจริง ผลการศึกษาได้ประเมินว่า จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อินเทอร์เน็ตจะล่มได้มากกว่าเอเชีย อยู่สูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อวัน

อย่างไรก็ตามทางนาซ่าก็พยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา เพื่อตรวจจับให้ได้ล่วงหน้าทันท่วงที เช่น นาซ่าได้ส่งจรวดปล่อยยาน Parker Solar Probe มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการป้องกันไม่เกิดหายนะอินเทอร์เน็ตอย่างที่กังวลกันโดย ยาน Parker Solar Probe นี้ยังเก็บข้อมูลของดวงอาทิตย์ ลมสุริยะ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการไขปริศนาฟิสิกส์ของดวงอาทิตย์ 

ยิ่งไปกว่านั้น นาซ่ายังได้ทำแบบจำลองที่รวมกันระหว่าง เอไอ ปัญญาประดิษฐ์ และ ข้อมูลดาวเทียม ที่จะสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยให้รู้ถึงสภาพภูมิอวกาศที่เลวร้ายได้ คล้ายกับไซเรนแจ้งเตือนพายุ โดยมันจะทำนายได้ว่า พายุสุริยะจะโจมตีโลกที่บริเวณใด ในเวลาเตือนภัยล่วงหน้า 30 นาที ซึ่งมากเพียงพอสำหรับการเตรียมและป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดกับระบบสายส่งไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่