fbpx
Search
Close this search box.

Nonfarm Payrolls คือ อะไร

Non farm payrolls คืออะไร
สารบัญ

         หลายๆ คนคงทราบกันดีว่า ถ้าเศรษฐกิจดีการจ้างงานก็จะดีตามขึ้นไปด้วย แต่ถ้าหากเหมือนกับในช่วงระยะที่ผ่านมานี้ตั้งแต่มีโรคระบาด หลายๆคนได้เห็นการจ้างงานที่ลดลง จากชะงักของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต้องทำการล็อคดาวน์ Nonfarm Payrolls จะเป็นตัวเลขที่วัดว่าในแต่ละเดือนจะมีการจ้างงานมากแค่ไหน

Nonfarm Payrolls คือ อะไร

          Nonfarm Payrolls หากแปลตรงๆตัวเลย ก็คือการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งในสหรัฐอเมริกาการจ้างงานจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรม และที่เรากำลังพูดถึงอยู่คือนอกภาคเกษตรกรรม ดังนั้น Nonfarm Payrolls จึงหมายถึงว่าอัตราการจ้างงานของธุรกิจต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาคการเกษตร เช่น ภาคการบริการ, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรมต่างๆ โดยไม่นับรวมไปถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร, ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหากำไรโดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐ

ความเป็นมาของ Nonfarm Payrolls

         ดัชนีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 โดยมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดของการจ้างงานกว่า 1.115 ล้านตำแหน่ง ในเดือน ตุลาคม 1983 ซึ่งเป็นการจ้างงานเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจละตินอเมริกาช่วงปี 1980 และการลดลงมากที่สุดคือ 699,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายนปี 2009 ที่ลดลงต่อเนื่องกว่า 14 เดือน นับตั้งแต่เกิดวิกฤติซับไพรม์ และค่อยๆ มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากนั้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในภายหลัง

ตัวเลข Nonfarm Payrolls แสดงถึงอะไร?

        ตัวเลขนี้เป็นการรวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งหมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งจะสะท้อนให้เราเห็นถึงการขยาย หรือ หดตัวทางเศรษฐกิจผ่านทางการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่มีแนวโน้มลดลงหรือเพิ่มขึ้น

        อย่างที่กล่าวไปข้างต้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น หรือภาพรวมเป็นบวก จะก่อให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการเป็นจำนวนมาก เมื่อความต้องการมีมากจนอาจทำให้กำลังแรงงาน หรือพนักงานบริการไม่เพียงพอในการผลิต หรือให้บริการ ดังนั้นการเพิ่มกำลังการผลิต หรือบริการจึงเป้นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะทำเพื่อให้สมดุลกับความต้องการ นั้นก็คือการจ้างงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง และยังสะท้อนรวมไปถึงมุมมองทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในอนาคตว่ายังมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะยังขยายตัวต่อเนื่อง จึงมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนทางการผลิต แต่ผู้ประกอบการได้คำนวณแล้วว่า การจ้างงานเพิ่มซึ่งสร้างต้นทุนแรงงานเพิ่มนั้นจะช่วยให้กิจการของตนมีผลกำไรที่มากขึ้น

           แต่ในกรณีตรงข้ามหากตัวเลขดังกล่าวติดลบ นั่นหมายถึงการที่เศรษฐกิจชะลอตัว การบริโภคน้อยลง และมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ไม่ดีนักในอนาคต ทำให้ตัวเลข Nonfarm Payrolls จึงเป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกดัชนีสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจในอนาคต ผ่านทางภาคธุรกิจที่มีการดำเนินงานจริงนอกภาคเกษตรกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่