fbpx
Search
Close this search box.

เจรจาประนอมหนี้ ที่ลูกหนี้ควรรู้

หากคุณกำลังตกอยู่ในวังวนของหนี้ ติดปัญหาชำระหนี้ไม่ตรงเวลา จากหนี้หลักหมื่นกลายเป็นหนี้หลักแสน จากแสนเริ่มขยับเป็นล้าน อย่าเพิ่งหนีปัญหาไป เพราะทุกปัญหาย่อมมีทางออก และทางที่เราสามารถทำได้ก็คือการขอ “เจรจาประนอมหนี้” กับสถาบันการเงิน

การประนอมหนี้คืออะไร

การประนอมหนี้ คือการขอเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เพื่อช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ เช่น ฟ้องร้องและยึดทรัพย์สิน และช่วยลดภาระในการชำระหนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ผ่อนคอนโดหรือผ่อนบ้านไม่ไหว

ข้อดีของการประนอมหนี้

การเจรจาประนอมหนี้มีประโยชน์คือ ช่วยปิดโอกาสดอกเบี้ยที่แสนโหดจนจ่ายไม่ไหว ช่วยให้เราวางแผนการเงินได้ดีขึ้น และทำให้เราไม่เสียประวัติทางการเงิน แต่การประนอมหนี้นั้นเหมาะกับลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ไม่เยอะ และมั่นใจว่าจะผ่อนไหวจนหมดเท่านั้น

การประนอมหนี้ทำได้หลายวิธี

  1. ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย

    วิธีนี้เรามักใช้กันบ่อยกับการผ่อนบ้านหลังผ่านไป 3 ปี ซึ่งเราสามารถขอลดดอกเบี้ยได้ ตัดเงินต้นและใช้หนี้ได้เร็วขึ้น ในส่วนของบัตรเครดิตสามารถขอให้ปรับการคิดดอกเบี้ยใหม่ได้ เช่นปกติจ่ายแบบขึ้นต่ำ แต่หากจ่ายไม่ไหว เงินต้นไม่ลดเลย สามารถขอเปลี่ยนวิธีการคิดดอกเบี้ยใหม่ อาจจะรวมยอดหนี้คงค้าง แล้วผ่อนเป็นแบบสินเชื่อบุคคลได้ แต่ต้องถูกยกเลิกสิทธิใช้บัตรทันที

  2. ขอลดค่างวด-ขยายเวลาชำระหนี้

    อย่างเช่น ต้องผ่อนบ้านเดือนละ 20,000 บาท แต่หลัง ๆ รายได้ไม่ค่อยมีสภาพคล่องหด จ่ายต่อไม่ไหว สามารถไปขอลดค่างวดในจำนวนที่เราไหว เพราะถ้ายังจ่ายเท่าเดิมอาจผิดชำระแน่นอน ซึ่งวิธีนี้จะต้องขอยืดเวลาการผ่อนควบคู่กันไป วิธีการประนอมหนี้นี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนยอดชำระต่อเดือนสูงกว่ายอดดอกเบี้ยต่อเดือนอย่างน้อย 500 บาท ซึ่งเราสามารถขอประนอมหนี้แบบนี้ได้เพียงครั้งเดียว และระยะเวลาในการชำระค่าผ่อนที่ต่ำกว่าปกตินั้นต้องไม่นานเกิน 2 ปี โดยวิธีนี้จะทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลงและขอขยายเวลากู้ได้จนอายุไม่เกิน 70 ปีเท่านั้น

  3. ขอผ่อนผันการค้างชำระ

    วิธีนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ไขหรือจัดการปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 36 เดือน จากนั้นค่อยชำระเงินที่ค้างไว้ดังนี้

    3.1) ขอจ่ายเป็นเงินก้อนเล็กทุกเดือน

    เหมาะกับคนที่ขาดรายได้หรือรายได้ไม่คงที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่มีรายจ่ายสูงต่อเนื่องจนไม่สามารถจ่ายค่าผ่อนได้

    3.2) ขอจ่ายเป็นเงินก้อนแบ่งเป็นงวด ๆ

    เหมาะกับคนที่ติดภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายค่าผ่อนบ้านได้ในช่วงเวลาที่ขอผ่อนผัน แต่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ที่ค้างไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

    3.3) ขอจ่ายเงินค้างทั้งหมดภายในระยะเวลาหนึ่ง

    เหมาะกับคนที่มีจำนวนเงินค้างจ่ายต่ำหรือไม่สูงมาก ติดภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายค่าผ่อนบ้านได้ในช่วงเวลาที่ขอผ่อนผัน แต่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ที่ค้างไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจมีรายได้จากการขายสินทรัพย์มูลค่าสูงอย่างบ้าน คอนโด ที่ดิน รถ เป็นต้น

  4. ขอลดค่าธรรมเนียม-ค่าปรับผิดชำระ
    สำหรับใครที่ผิดชำระไปแล้ว 1 – 2 เดือน จนเริ่มมีค่าธรรมเนียมและค่าปรับต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมา เราสามารถเข้าไปขอเจรจาลดค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับได้
  5. ขอโอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราวและจะซื้อคืน
    วิธีนี้ใช้ได้กับหนี้สินเชื่อบ้านเท่านั้น ลักษณะเหมือนกับการขายฝากแล้วเช่าบ้านตัวเองอยู่ โดยค่าเช่าจะคิดอยู่ที่ 0.4 – 0.6% ของมูลค่าหลักทรัพย์ และมักทำสัญญาเช่าเป็นรายปี ถ้าหนี้สูงกว่าราคาประเมินของหลักทรัพย์ ผู้กู้ก็ต้องชำระส่วนต่างภายในวันโอน วิธีนี้เหมาะกับคนที่คาดว่าจะขาดรายได้ภายใน 1 ปี ช่วยให้จ่ายค่าเช่าที่ต่ำกว่าค่างวดผ่อนในระยะยาวได้ โดยทำสัญญาจะซื้อคืน ถ้ามีศักยภาพเพียงพอเหมือนเดิม เจ้าหนี้จะขายคืนให้คิดราคาจากยอดหนี้คงเหลือ

จะเห็นได้ว่า การเจรจาประนอมหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินแต่ละคนที่ต่างกัน สิ่งสำคัญในการเลือกวิธีที่เหมาะสมเลยคือ ต้องประเมินสถานการณ์การเงินของเราก่อนอย่าง ว่ารายได้ลดลงเท่าไหน และระยะเวลาที่รายได้จะกลับมาอีกนานแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก

ส่วนการเจรจากับเจ้าหนี้จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ทั้งเงื่อนไข ระยะเวลา เทคนิคการต่อรอง ประวัติการผ่อนชำระ ตลอดจนความจริงใจและตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้หมดด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่