ถ้าใครไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ คงคุ้นเคยกับคำว่า อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) เป็นอย่างดี เพราะจำเป็นต้องแลกเงินบาทไปเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งการแลกเงินในแต่ละครั้ง ก็จะได้จำนวนเงินสกุลต่างประเทศมาไม่เท่ากัน มากบ้างน้อยมาก วันนี้เรามาดูกันครับว่าเพราะอะไร เราถึงแลกเงินได้มากน้อยไม่เท่ากัน
อัตราแลกเปลี่ยนคือ ‘ราคา’ ของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แสดงว่า เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะแลกเงินบาทได้ 34 บาทหรือเงิน 1 บาท จะแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ 0.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเราฟังข่าว หากเราได้ยินคำว่าเงินบาท ‘แข็งค่า’ นั่นแปลว่าเงินบาทมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หากเราได้ยินคำว่าเงินบาท ‘อ่อนค่า’ แปลว่าเงินบาทมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกันเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
เงินสกุลต่าง ๆ ก็เหมือนกับสินค้าชนิดหนึ่งที่ราคาถูกกำหนดโดยกลไกตลาด นั่นคือ ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนต้องการเงินบาทมากขึ้น ราคาของเงินบาทก็จะสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “เงินบาทแข็งค่า” ในทางกลับกัน ถ้ามีคนต้องการเงินบาทน้อยลง ราคาของเงินบาทก็จะปรับลดลง หรือที่เรียกว่า “เงินบาทอ่อนค่า” เงินสกุลต่าง ๆ มีการซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก โดยคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้นำเข้าส่งออก สถาบันการเงิน นักลงทุนต่างชาติ และกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ ที่ซื้อขายกันในตลาดโลก ก็จะส่งผ่านมาสู่อัตราแลกเปลี่ยนที่เราซื้อขายเงินสกุลต่าง ๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือผู้ให้บริการแลกเงิน
อัตราแลกเงินมีอยู่ 2 แบบ คือ Selling Rate (อัตราซื้อ) และ Buying (อัตราขาย) มีความหมายและวิธีการดูอัตราแลกเปลี่ยนดังนี้
Selling Rate เป็นราคาที่ธนาคารขายให้เราซื้อ เช่น ต้องการซื้อเงินสำหรับไปเที่ยวต่างประเทศ ธนาคารจึงขายเงินสกุลต่างประเทศให้เรา
Buying Rate เป็นราคาที่ธนาคารรับซื้อเมื่อเราขายหรือแลกเงิน เช่น หลังเรากลับมาจากต่างประเทศ ต้องการขายเงินสกุลต่างประเทศเป็นเงินไทย ธนาคารจะรับซื้อเงินจากเรา
หลักการจำง่ายๆ คือให้เรามองธนาคารเป็นที่ตั้งหากเราต้องการซื้อ ธนาคารจะเป็นคนขายให้เรา หากเราต้องการขาย ธนาคารจะเป็นคนซื้อเงินของเรา
อัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อเราอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นใคร หากเราเป็นคนที่ต้องการแลกเงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อเงินบาทแข็งค่า เราจะแลกเงินตราต่างประเทศได้มากขึ้นด้วยจำนวนเงินบาทเท่าเดิม แปลว่ายิ่งเงินบาทแข็งค่า การซื้อของในต่างประเทศของเราจะยิ่งถูกลง หากเราเป็นประชาชนทั่วไปที่ต้องบริโภคสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น สินค้าที่ต้องนำเข้า เช่น น้ำมัน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน จะมีราคาถูกลง ธุรกิจได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน โดยบริษัทที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต จะได้รับผลดีเมื่อเงินบาทแข็งค่า เพราะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจะมีราคาถูกลงเมื่อคิดเป็นมูลค่าเงินบาท แต่บริษัทที่เป็นผู้ส่งออกนั้นได้รับผลเสียเมื่อเงินบาทแข็งค่า เพราะเงินที่ได้จากขายสินค้าให้ชาวต่างชาติเมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทจะมีมูลค่าลดลง ในทางกลับกัน เมื่อเงินบาทอ่อนค่า กลุ่มผู้ที่ได้รับผลดีและผลเสียก็จะสลับกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เสมอธุรกิจที่ไม่ต้องการได้รับผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
อย่างไรก็ตามการขึ้นลงของค่าเงิน ไม่ได้มีแค่ปัจจัยภายในประเทศ ยังมีปัจจัยจากต่างประเทศอีกด้วย เช่น เมื่อเราเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า หรือแข็งค่าก็จะส่งผลต่อค่าเงินของบ้านเราด้วยเช่นกัน
ที่มา : bot
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |