แผนการเงินแบบ 4-3-2-1 นั้น เป็นหนึ่งในวิธีการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล โดยการแบ่งรายได้ของเรา ออกเป็น 4 ส่วน ตามเป้าหมายต่าง ๆ ตามนี้
ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ในการตั้งงบค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายใต้ budget ที่กำหนดไว้ แต่วิธีนี้จะช่วยให้เราใช้เงินภายในกรอบที่กำหนดได้ง่ายขึ้น โดยการแบ่งเงินเดือนของเราออกมา 40% แล้วคำนวณดูว่าในแต่ละอาทิตย์ต้องใช้เงินเท่าไรถึงจะพอดี เพราะถ้าเราไม่มีการแบ่งสัดส่วนเงินไว้ก่อน ก็จะทำให้เราเผลอใช้เงินจนเกินตัวได้ โดยตัวเลข 40% จะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน อย่าง ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ รวมไปถึงค่าช็อปปิงอื่น ๆ ถือว่าเป็นจำนวนที่พอดี
ก้อนที่สำคัญต่อมารองจากค่าใช้จ่าย นั่นก็คือ ภาระหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็น หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้สินรวม หรือค่าเช่าที่เราจ่ายในแต่ละเดือน การมีหนี้นั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าหนี้ของเรายังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยปกติแล้ว ภาระหนี้สินต่อเดือนที่ดี ควรจะอยู่ที่ประมาณ 35% – 45% ซึ่งภาระหนี้สินนี้จะเป็น ตัวบ่งบอกว่า สุขภาพทางด้านการเงินของเรา ยังดีอยู่หรือเปล่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ต่อเงินเดือนที่ 30% ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่กำลังของเราพอรับไหว สำหรับใครที่ยังไม่มีหนี้ ให้เก็บเงินส่วนนี้ไว้ อาจเก็บไว้เพื่อเตรียมตัวไว้ใช้กับภาระหนี้ในอนาคต เช่น กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ก็ได้เช่นกัน
เงินในส่วนนี้ เราควรเก็บอย่างน้อย 20% ของรายได้ นำไปกระจายทั้งเงินออม เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน และนำไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ เช่น ทองคำ หุ้น หรือกองทุนรวม
เบื้องต้นถ้าเรายังมีรายได้น้อย เราอาจเริ่มจากการเก็บเงินสำรองฉุกเฉินก่อน ให้เท่ากับรายจ่าย fixed cost 3-6 เท่า แล้วค่อยนำเงินที่เหลือมาลงทุน หรืออาจจะแบ่งย่อยในส่วน 20% นี้ ไว้ทั้งออมและลงทุนควบคู่กันไปก็ได้เช่นกัน ซึ่งการลงทุนนี้สำคัญมาก เพราะการลงทุนจะช่วยสร้างผลตอบแทน เพิ่มความมั่งคั่งระยะยาวให้กับเรา
อีกหนึ่งเรื่องการเงินที่ไม่ควรมองข้าม คือการทำประกันให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันชีวิตต่าง ๆ เพราะชีวิตคนเราย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอทั้งการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีเท่าไร ถ้าเงินที่เราตั้งใจเก็บมาหายไปกับการจ่ายค่ารักษาโรงพยาบาลไปหมด แทนที่จะนำเงินเก็บนั้นไปใช้ซื้อความสุขให้กับตัวเอง
การทำประกันจะช่วยให้เรามีฟูกหนา ๆ คอยรองรับในวันที่เราเกิดเหตุคาดไม่ถึงได้ โดยภาระเบี้ยประกันที่เราจ่าย ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อเดือน ก็จะช่วยให้เราสบายใจหายห่วงได้อีกเปลาะหนึ่ง
สุดท้ายแล้วไม่มีคำว่าสายเกินไปที่เริ่มกำหนดทิศทางการเงิน เพื่ออิสรภาพการเงินของตัวเราเองในอนาคต ซึ่งกลยุทธ์ 4-3-2-1 นี้ อาจเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยให้เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายหรือช่วยเราเก็บออมเงินได้ โดยเราสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนให้เหมาะสมกับสภาพเงินเดือนของเราได้เลย แต่ก็ไม่ควรจะลดหรือเพิ่มเกินกว่า 10% โดยเฉพาะเงินในส่วนที่เอาไว้ใช้ชำระหนี้สิน ซึ่งไม่ควรจะเพิ่มไปมากกว่านี้แล้ว
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |