รู้ไหมครับว่าต้นทุนในการใช้เงินสดชำระสินค้าสูงกว่า e-Payment ถึง 3 เท่าและที่สำคัญต้นทุนของเงินสดยิ่งใช้ยิ่งแพง แต่ e-Payment กลับยิ่งใช้ยิ่งถูกเพราะอะไรลองมาดูกันครับ
เงินสด (Cash) คือ เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คที่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทางดราฟต์ของธนาคารและธนาณัติ หรือ หมายถึง สินทรัพย์ต่างๆ ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่าย ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันทีที่ต้องการ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ตลอดจนสิ่งที่ใกล้เคียงกับ เงินสด เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เป็นต้น
ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) คือ กระบวนการชำระเงินระหว่างผู้จ่าย/ผู้โอนเงินไปยังผู้รับเงินที่เกิดขึ้นผ่านผู้ให้บริการระบบชำระเงินe-Payment ของสถาบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หนึ่งในนั้นคือ การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ที่อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่มีบริการมากมาย
“ ทำไมเงินสดถึงมีต้นทุนสูงกว่า ”
หากเรามองในมุมผู้ใช้งานการใช้จ่าย หรือแม้แต่โอนจากเงินฝากในธนาคาร เราอาจจะมองไม่เห็นต้นทุน เพราะเราไม่ทราบถึงกระบวนการต่างๆ ว่าที่มาที่ไปของเงินสดเป็นมาอย่างไรกว่าจะถึงมือเรา ดังนั้นเรามาดูกระบวนการต่างๆ หรือที่มาที่ไปของเงินสดกันครับ
มีหน้าที่พิมพ์ธนบัตรและพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการตามสถานการณ์ และพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพสูง มีประสิทธิภาพในการจัดการและให้กิจการดำเนินไปได้โดยสม่ำเสมอ ตลอดจนดำเนินการพิมพ์ธนบัตรให้เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งมีทุนสำรองเงินตราตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นทุนหนุนหลัง
มีหน้าที่จัดธนบัตรที่พิมพ์ออกมาจากโรงพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปลอดภัยสูงสุดเพื่อรอการกระจายเพื่อใช้หมุนเวียนเศรษฐกิจ
มีหน้าที่ดูแลธนบัตรที่หมุนเวียนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้เราได้ใช้ธนบัตรที่มีสภาพดีอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ศูนย์จัดการธนบัตร ธปท. แต่ละศูนย์จะติดต่อทำธุรกรรมกับศูนย์เงินสดกลางของธนาคารพาณิชย์ในการจ่ายธนบัตรใหม่ให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันจะรับฝากธนบัตรที่ผ่านการตรวจนับคัดจากธนาคารพาณิชย์แล้ว เพื่อดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และเพื่อปรับยอดดุลบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์มีหน้าเป็นตัวแทนในการกระจายธนบัตรให้เราจากศูนย์จัดการธนบัตร ของธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อกระจายจากศูนย์เงินสดธนาคารพาณิชย์แล้ว ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้กระจายหรือส่งต่อให้เราโดยผ่านตู้ ATM หรือสาขาต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์เพื่อเป็นกระจายเงินสดให้ถึงมือเรานั่นเองครับ
จากกระบวนที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีหลายขั้นตอนมากๆ กว่าจะมาถึงมือของเรา ขั้นตอนทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะการผลิต การขนส่ง มีมูลค่าถึง 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยคิดเป็นต้นทุนของ ธปท. 4,000 ล้านบาท และที่เหลือเป็นของธนาคารพาณิชย์ในการขนส่งกระจายเงินสดสู่มือเรา และยังไม่รวมถึงต้นทุนของเราเองที่ต้องเดินทางไปกดเงินสด หรือธนาคาร หรือต้นทุนทางสังคมที่การถือเงินสดอาจจะเสี่ยงต่ออาชญากรรมได้เมื่อธนบัตรเก่า หรือมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตธนบัตรใหม่ จะต้องมีการส่งธนบัตรกลับไปยังโรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยย้อนกลับผ่านกระบวนการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น
จากภาพเราจะเห็นได้ว่าต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่เกิดจากการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น และระบบภายในผู้ให้บริการระบบชำระเงิน e-Payment ของสถาบันการเงิน ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเอง ส่วนต้นทุนแปรผันในการใช้แต่ละครั้งมีมูลค่าต่ำและมีต้นทุนคงที่ไม่ว่าจะมีมูลค่าธุรกรรมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหากเวลาผ่านไป และมีการใช้งานมากขึ้น ต้นทุนคงที่จะถูกแบ่งไปยังผู้ใช้บริการมากขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อรายการยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า“ต้นทุนของ e-Payment มีมูลค่าเพียงครึ่งหนึ่ง ถึง หนึ่งในสาม ของต้นทุนของการใช้ เงินสด” ซึ่งในต่างประเทศอย่างในไอซ์แลนด์เองการใช้เงินสดมีต้นทุนสูง ถึง US$2.57 ต่อรายการในขณะที่การใช้บัตรในการชำระเงิน มีต้นทุนเพียง US$0.61”หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ถูกลงกว่าร้อยละ 76 ของทุนต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในความจริงแล้วเงินสดมีต้นทุนสูงกว่าอย่างมาก และมีต้นทุนการจัดการสูงมากกว่า e-Payment หรือ e-Wallet เพราะฉะนั้น การที่เราค่อยเปลี่ยน หรือหันมาชำระสินค้า หรือบริการโดยระบบ e-Payment จะช่วยลดทุนต้นได้มหาศาลจากการใช้เงินสด แถมยิ่งใช้ ต้นทุนยิ่งถูกลง และยังมีข้อดีจากการที่เราใช้เงินสดน้อยลงอีกมากมาย
reference : ธนาคารแห่งประเทศไทย
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |