fbpx
Search
Close this search box.

แนวโน้มการเติบโตของ e-Wallet ของไทย
และประเทศเพื่อนบ้าน

    การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเทคโนโลยีให้เกิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือ e-Payment ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ปรับมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายที่หันชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ e-Wallet

แนวโน้ม-e-Wallet

        จากรายงานการเติบโตของ e-Wallet  ของ Buku สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในอีก 3 ปีหน้า ซึ่งแต่ละประเทศจะมีปัจจัยที่ส่งต่อการเปลี่ยนแปลงต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ ใน 4  ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะมีบริษัท หรือแอปฯ ที่ครองส่วนแบ่งการตลาด e-Wallet ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท หรือแอปฯ ท้องถิ่น ซึ่งแต่ละประเทศจะมีแนวโน้มในอีก 3 ปี(2025)จะเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรที่จะมาส่งผล และทำให้ใครเป็นผู้อยู่รอดในตลาด e-Wallet

เริ่มต้นที่ Thailand ประเทศไทย

     ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมั่งคั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งใน 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีอัตราการใช้งาน e-Wallet เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า และมีการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า โดยขณะนี้ มีการดำเนินการใช้ e-Wallet ส่วนใหญ่ผ่าน TrueMoney จากผู้ให้บริการมือถือ True ซึ่งถือส่วนแบ่งการตลาดกว่า 50% และอีกหนึ่งวิธีการชำระเงินที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คือบริการการชำระเงินแบบ real-time ผ่าน PromptPay ซึ่งมอบตัวเลือกการชำระเงินทั้งแบบ standalone และแบบการเติมเงินทันทีสำหรับ e-Wallet

- คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ e-Wallet ปี 2020 จำนวน 15 ล้านราย เพิ่มเป็น 45.3 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 จำนวน 492 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 3.7 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 มูลค่า 10.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 36.7พันล้านเหรียญสหรัฐ

- ส่วนแบ่งการตลาดในปี 2020

  • 52.6% TrueMoney 
  • 24.7%  RabbitLINE Pay 
  • 8.1%    อื่นๆ 
  • 5.7%    AirPay  
  • 4.9%    mPay 
  • 4.0%    GrabPay

**ข้อมูลข้างต้นเป็นการรวบรวมของปี 2020 ซึ่งในประเทศไทย AirPay ได้มีการรีแบรนด์เป็น ShopeePay เมื่อเดือนมีนาคม 2564 

- Key Takeaway

  • ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3 เท่าในปี 2025  และจะมีกำลังซื้อมากกว่าหลายประเทศ
  • PromptPay (พร้อมเพย์) คือตัวเลือกใหม่ในการชำระเงินแบบ real-time โดยมีแนวโน้มว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ e-Wallet ในประเทศ เนื่องจากจะทำให้การเติมเงินในบัญชีรวดเร็วและง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้

Malaysia ประเทศมาเลเซีย

        มาเลเซียคืออีกหนึ่งประเทศที่กำลังพัฒนา และมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกประเทศหนึ่ง โดยสะท้อนจากค่า GDP (Gross Domestic Product) สูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่การชำระเงินแบบ e-Payment ผ่าน e-Wallet ยังถือว่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน และตลาดหรือคนในประเทศยังรับความสนใจที่น้อย อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นข้อดี และเป็นโอกาสที่ดี เพราะในอนาคตมีโอกาสที่ e-Payment จะเติบโตได้สูงมาก 

- คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้คนในประเทศมี e-Wallet เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในอีก 3 ปี หรือประมาณ 33.6 ล้านบัญชี 
  • การธุรกรรม e-Wallet เพิ่มเป็น 3.7 พันล้านครั้ง ในปี 2025 
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 มูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 28.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

- ส่วนแบ่งการตลาดในปี 2020

  • 38.3% GrabPay 
  • 36.2% Touch N Go 
  • 22.4% Boost  
  • 03.1% อื่นๆ

- Key Takeaway

  • มาเลเซียเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับการชำระเงินผ่านมือถือ และจะตามประเทศ อื่นๆที่มีการใช้ e-Wallet ไปก่อนได้ทันในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • ตลาด e-Wallet ในมาเลเซียดำเนินการโดยบริษัทหลักๆ 3 บริษัท ได้แก่ GrabPay และ Touch ‘N Go ที่มีส่วนแบ่งการตลาดบริษัทละเกือบ 40% และ Boost ที่กำลังเติบโตและก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ขณะนี้มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 22%
  • GrabPay คือผู้ได้เปรียบในตลาดที่สุดในมาเลเซีย โดยเป็นแอปฯเดียวที่ที่มี Ecosystem ภายในตัว ด้วยฟีเจอร์การให้บริการที่ต่างๆที่หลากหลายครบถ้วน และยังได้รับการยอมรับเพื่อการใช้งานในประเทศมากกว่าคู่แข่งอื่นๆ

Singapore ประเทศสิงคโปร์

           แม้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 5.7 ล้านคน แต่ก็มีกำลังซื้อ และกำลังใช้จ่ายที่สูงพอสมควรสังเกตได้จาก GPD ต่อหัวที่สูงมาก และยังเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งภูมิภาคอีกด้วย ซึ่งสิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราการใช้งาน e-Wallet ถึง 95% ภายในปี 2025 และคาดว่าจะมีการทำธุรกรรมผ่านมือถือเพิ่มขึ้น 11 เท่า ไปพร้อมกับการเร่งเข้าสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัลระดับสูง แม้จะมีประชากรเพียงเล็กน้อย แต่บริการการชำระเงินผ่านมือถือก็เฟื่องฟูด้วยข้อเสนอมากมายจากแอปฯต่างๆ อย่าง Grab, telco wallet (Singtel Dash), wallet ของธนาคาร (DBS payLah!) และยังมีบริการแปลงบัตรโดยสารระหว่างประเทศเป็นดิจิทัลอย่าง EZ-Link

- คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ e-Wallet ปี 2020 จำนวน 1.8 ล้านราย เพิ่มเป็น 5.8 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 จำนวน 101 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 1.1 พันล้านครั้ง
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile wallet ปี 2020 มูลค่า 1.4พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 8พันล้านเหรียญสหรัฐ

- ส่วนแบ่งการตลาดในปี 2020

  • 35.3%  GrabPay
  • 23.5%  Favepay
  • 18.8%  DBS PayLah! 
  • 11.8%  SIngtel Dash
  • 5.90%  อื่นๆ 
  • 4.70%  EZ-Link 

- Key Takeaway

  • สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวย และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก จึงมีแอปฯ ที่พร้อมจะแข่งขันในตลาด e-Wallet ในอัตราการเติบโตที่สูงมาก เพราะคนสิงคโปร์มีกำลังซื้อที่สูงมาก ถึงแม้จะมีประชากรที่ไม่มากนัก
  • GrabPay เป็น e-Wallet ที่ใช้กันมากที่สุดในสิงคโปร์ แต่ผู้บริโภคจำนวนมากเลือกใช้ 2 แอปฯ โดยใช้ GrabPay เพราะมีฟังก์ชันการทำงานที่ครบครัน และหลากหลาย ในขณะที่ใช้ Favepay ไปด้วยเพราะมีโปรโมชันรางวัลต่างๆ มากกว่า
  • สิงคโปร์กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าประชากรราว 95% จะใช้บริการ e-Wallet ภายในปี 2025 

Vietnam ประเทศเวียดนาม

       ประเทศเวียดนามคล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตของการชำระเงินผ่านมือถือ โดยการเติบโตของธุรกรรม e-Wallet ในเวียดนามในปี 2025 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า และคาดว่าอัตราการใช้งานและมูลค่าธุรกรรมจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ซึ่งการดำเนินการให้บริการ e-Wallet ส่วนใหญ่เป็นของ Momo (Mobile Money) วอลเล็ตที่โดดเด่นในตลาด ด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% และเงินร่วมลงทุนจำนวน 230 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Momo มีฟังก์ชันการทำงานที่เหนือกว่าคู่แข่งและยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อเป็น Super App จากการรวบรวมเงินทุนครั้งล่าสุด

- คาดการณ์แนวโน้มในปี 2025

  • ผู้ใช้ e-Wallet ปี 2020 จำนวน 19.2 ล้านราย เพิ่มเป็น 57 ล้านราย
  • การธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 จำนวน 674 ล้านครั้ง เพิ่มเป็น 5 เท่า 
  • มูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน e-Wallet ปี 2020 มูลค่า 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 48.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

- ส่วนแบ่งการตลาดในปี 2020

  • 53.0% Momo
  • 25.2% ViettelPay
  • 10.6% AirPay 
  • 5.3%   ZaloPay
  • 4.0%   อื่นๆ 
  • 2.0%   GrabPay

- Key Takeaway

  • ประเทศเวียดนามมีตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าในทุกตัวชี้วัดหลัก
  • เนื่องจากประเทศมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนที่สูง เวียดนามจึงมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการใช้งานการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดนี้พร้อมสำหรับการเติบโตของ E-Commerce
  • Momo กลายเป็นบริษัทให้บริการ e-Wallet ที่โดดเด่น แต่ก็มีคู่แข่งที่กำลังเติบโต อย่าง Viettel ผู้ประกอบการจึงต้องประเมินเรื่องความยอมรับในการใช้งาน e-Wallet ของผู้ใช้เพื่อการแข่งขันในอนาคต

Reference : techsauce

เพื่อนๆ คิดว่า ทั้งโลกของเราในปี 2025 e-Wallet สามารถทำอะไรได้บ้างครับ

สามารถอ่านบทความเพิ่ม ข้อดีของ e-Wallet ได้ที่ e-Wallet (อีวอลเล็ท) มีต้องข้อดียังไง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่