fbpx
Search
Close this search box.

เงินเดือนเท่านี้ ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่

“เงินสำรองฉุกเฉิน” คือเงินก้อนพื้นฐานที่สำคัญอย่างมากในชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะเราต้องมีเงินสำรองเผื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือเผื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็น ตกงาน ภัยธรรมชาติ การเจ็บป่วย โรคระบาด แล้วเงินออมฉุกเฉินต้องมีจำนวนสัดส่วนเท่าไรถึงจะปลอดภัย ครั้งนี้ ACU PAY เตรียมคำตอบมาให้แล้ว

เงินสำรองฉุกเฉินต้องควรมีเท่าไร?

วิธีคิดเงินสำรองฉุกเฉิน ให้เราเริ่มจากจดรายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนออกมาก่อน เพื่อเราจะได้รู้ว่า ในแต่ละเดือนเราต้องใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น

  • ค่าที่อยู่อาศัย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าประกันภัย และค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทางค่าโทรศัพท์
  • ค่ารักษาสุขภาพ เช่น ค่ายาค่ารักษาที่ต้องใช้เป็นประจำทุกเดือน ค่าทำฟัน จัดฟัน
  • ค่าประกันต่าง ๆ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
  • ค่าบัตรเครดิต และหนี้สินต่าง ๆ
  • โดยปกติจะคำนวณเงินสำรองฉุกเฉินจากค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นหลัก โดยเกณฑ์การคำนวณจะแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ สำหรับมนุษย์เงินเดือน และสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์

ยุคนี้มีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไรถึงพอ ?

คำแนะนำทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญการเงินหลายคนให้เราเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ราว 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายหรือของรายได้ต่อเดือน แต่ในยุคปัจจุบันนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของเรามีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างยาวนาน ซึ่งจำนวนเงินสำรองฉุกเฉินที่เตรียมไว้ 3 – 6 เท่าอาจไม่เพียงพอเท่าแต่ก่อนแล้ว 

ค่าใช้จ่าย 

(บาท/เดือน)

เงินสำรองฉุกเฉิน 

3 เท่า

6 เท่า 

12 เท่า

10,000

30,000

60,000

120,000

15,000

45,000

90,000

180,000

20,000

60,000

120,000

240,000

25,000

75,000

150,000

300,000

30,000

90,000

180,000

360,000

40,000

120,000

240,000

480,000

50,000

150,000

300,000

600,000

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือคนที่มีรายได้ประจำ แนะนำให้เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินแบบเบสิกไว้ประมาณ 3 – 6 เท่าก็พออุ่นใจได้ แต่ถ้าอยากให้รู้สึกปลอดภัยหายห่วง อาจเตรียมเผื่อไว้ 6 – 12 เท่าก็จะยิ่งสบายใจมากขึ้น

เช่น ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน ก็ควรมีเงินเก็บฉุกเฉินอยู่ที่ 45,000 – 90,000 บาท หรือเก็บเผื่อไว้ 12 เท่าเป็น 180,000 เลยก็ยิ่งดี

สำหรับคนที่ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ รับอาชีพอิสระ พ่อค้า แม่ค้า ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ 6 – 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรือเผื่อไปอีกมากกว่า 12 เท่าก็ได้เช่นกัน เผื่อกรณีเลวร้ายที่สุดคือไม่มีคนจ้างงานนานถึง 1 ปี ก็จะทำให้ชีวิตเราเดินต่อได้ไม่สะดุด

เช่น ถ้าคุณมีรายจ่ายต่อเดือน 20,000 บาทต่อเดือน ก็ควรมีเงินเก็บฉุกเฉิน  120,000 – 240,000 บาท หรือเก็บเผื่อมากกว่านั้นอีกก็จะยิ่งปลอดภัย

นอกจากจะให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนให้เงินงอกเงยแล้ว เรื่องเงินสำรองฉุกเฉินก็เป็นหนึ่งในเงินก้อนที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ไม่มีการบังคับตายตัวว่าแต่ละคนควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไร ให้ลองคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน แล้วลองพิจารณาถึงเงินสำรองที่ควรมีเก็บให้เราไม่เดือดร้อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่