เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เคยสังเกตไหมว่า ทำไมแต่ละประเทศเขาใช้พวงมาลัยไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำเอาคนขับรถสับสนไปเลยทีเดียว กับการใช้เส้นทางจราจรที่ไม่เหมือนกัน แล้วเพราะเหตุผลอะไรที่ทำให้พวงมาลัยอยู่ข้างซ้ายและข้างขวา ทำไมไม่ใช้ข้างเดียวให้เหมือนกันหมดไปเลย ครั้งนี้เอซียูเพย์จะพามาหาคำตอบกัน
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักรูปแบบการจราจร มีด้วยกัน 2 แบบคือ การจราจรชิดทางด้านซ้าย (Left Hand Traffic) คือการที่พวงมาลัยรถอยู่ด้านขวา ส่วนการจราจรชิดทางด้านขวา (Right Hand Traffic) คือพวงมาลัยรถอยู่ด้านซ้าย
ย้อนไปในสมัยโบราณ อัศวินที่ส่วนใหญ่ถนัดข้างขวา มักใช้เส้นทางบนท้องถนนด้วยการชิดซ้ายเป็นหลัก เพื่อที่พวกเขาสามารถใช้มือข้างขวาในการหยิบดาบสู้กับผู้ต่อสู้ได้ดีถนัดกว่า จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจราจรแบบชิดด้านซ้าย
แต่จุดเปลี่ยนของรูปแบบการจราจร เริ่มขึ้นในช่วงการปฏิวัติในฝรั่งเศส นโปเลียนมีคำสั่งให้ชาวบ้านย้ายไปใช้การจราจรแบบชิดขวาแทน เพื่อที่เขาจะต่อสู้กับศัตรูได้จากการควงดาบด้วยมือซ้าย ซึ่งการเปลี่ยนกฎนี้ส่งผลต่อประเทศอื่น ๆ ที่ฝรั่งเศสได้เข้าไปยึดครอง และยึดใช้กันมาถึงปัจจุบัน กลับกันประเทศอังกฤษยังคงยึดการจราจรแบบชิดซ้ายเหมือนเดิม
ซึ่งอาณาเขตที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จะมีการจราจรแบบชิดขวา ส่วนอาณาเขตที่ปกครองโดยอังกฤษก็จะมีการจราจรแบบชิดซ้าย จนในเวลาต่อมาแต่ละประเทศก็มีการปรับเปลี่ยนทิศทางให้สอดคล้องกับประเทศใกล้เคียง ขึ้นอยู่กับสถานที่และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ทำให้หลายพื้นที่มีการชิดขวาจะกลายเป็นระบบแบบใหม่และบางพื้นที่ก็ยังชิดซ้ายตามระบบเก่า
เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่เริ่มขับรถยนต์ชิดทางด้านซ้าย และเป็นยุคอาณานิคมที่กำลังต้องการเอกราช แต่หลังจากนั้นประเทศอเมริกาได้ต่อสู้จนได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษเรียบร้อย จึงทำให้ประเทศอเมริกาเปลี่ยนการขับรถ เมื่อการผลิตรถยนต์เกิดขึ้น เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) เป็นผู้ก่อตั้งรถยนต์ฟอร์ดที่เปลี่ยนธรรมเนียมการขับรถแบบใหม่ ด้วยการสร้างรถรุ่น โมเดล ที (Model T) ที่มีพวงมาลัยอยู่ด้านซ้าย ซึ่งหมายความว่าเวลาขับขี่ ผู้ขับต้องเปลี่ยนการใช้เส้นทางจราจรแบบชิดซ้ายเป็นชิดขวาแทน เพื่อที่ผู้โดยสารสามารถออกจากรถบนขอบทาง ซึ่งประเทศใกล้เคียงก็มีการเปลี่ยนวิธีการขับรถตามสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น แคนาดา สเปน ยุโรปตะวันออก และสแกนดิเนเวีย
เหตุผลที่ประเทศไทยคุ้นเคยกับพวงมาลัยขวา และขับรถชิดทางด้านซ้าย เป็นเพราะว่าประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ.1826 โดยใช้ไทยเป็นทางลัดติดต่อค้าขายกับอินเดีย เลยทำให้ประเทศไทยขับรถด้วยพวงมาลัยขวา ซึ่งอยู่คนละด้านกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่าง พม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งมีแค่มาเลเซียที่ขับรถฝั่งเดียวกัน
การขับรถด้วยพวงมาลัยขวามีจำนวนเพียงร้อยละ 10 ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก เพราะตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างประเทศจีน อเมริกา ยุโรป รวมไปถึงตะวันออกกลาง ส่วนใหญ่พวงมาลัยรถมักอยู่ด้านซ้าย
สำหรับประเทศที่ขับรถชิดขวา ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ บังกลาเทศ ศรีลังกา บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก สวาซิแลนด์ ปากีสถาน เคนยา แทนซาเนีย และฮ่องกง
ซึ่งการคิดจะให้เปลี่ยนข้างพวงมาลัยจากซ้ายไปขวาเหมือนกันหมดนั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทีมวิศวกรต้องคำนวณการถ่ายน้ำหนัก การเช็ทช่วงล่างและอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้รถยนต์ออกมามีสมรรถนะเหมือนกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |