หลังๆ เคยได้ยินคำว่า “พันธบัตร” บ่อยขึ้น ฟังดูยาก งงๆ ไม่ค่อยเข้าใจแต่รู้มั้ยว่าเป็นอีกวิธีลงทุนนึงที่น่าสนใจอีกช่องทางนึง วันนี้จะมาอธบายเกี่ยวกับ พันธบัตรรัฐบาล อย่างง่ายๆ เพื่อคลายข้อสงสัยกัน
พันธบัตรรัฐบาล คือ ?
พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) หรือเรียกว่าตราสารหนี้รัฐบาล ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นการเก็บในรูปแบบเงินออมอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งได้ผลตอบแทนดีกว่าการออมในรูปแบบเดิมๆ เช่น การฝากประจำหรือออมทรัพย์ ดังนั้นพันธบัตรรัฐบาลจึงเป็นการลงทุนผสมการออมที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ยังให้ผลตอบแทนต่อเนื่อง ทั้งดอกเบี้ย เงินปันผล ซึ่งทุกท่านจะได้รับเงินเหล่านี้จากลูกหนี้ ซึ่งคือรัฐบาล และท่านมีสถานะเป็นเจ้าหนี้นั่นเอง
ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากที่ไหนได้บ้าง ?
1. ซื้อ “พันธบัตรรัฐบาล” ใน “ตลาดแรก” เลย
เวลารัฐบาลออกพันธบัตรมาขายให้กับเรา แล้วเราซื้อเป็นคนแรกโดยที่ยังไม่ผ่านมือใครมาก่อนเลย นั่นคือการซื้อขายใน “ตลาดแรก” วิธีการนี้คนออกพันธบัตร มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการออมเงิน นอกไปจากการฝากเงินในบัญชีธนาคาร หรือการออมอื่นๆ
ซึ่งในปัจจุบัน พันธบัตรประเภทนี้ที่มีขายให้เรา คือ “พันธบัตรออมทรัพย์”ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหรือพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
2. ซื้อใน “ตลาดรอง”
เป็นตลาดสำหรับคนที่ซื้อพันธบัตรจากตลาดแรกมาขายต่อให้นักลงทุนคนอื่นที่สนใจอยากซื้อพันธบัตร หรืออาจจะมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันไปเรื่อยๆ ซึ่งในตลาดรองก็ทำก็ซื้อพันธบัตรได้อีก 2 วิธี คือ
2.1 วิธีติดต่อซื้อขายกันเอง (Over The Counter : OTC)
วิธีนี้ไม่มีสถานที่ซื้อขายที่แน่นอน เพราะคนซื้อคนขายสามารถติดต่อตกลงสถานที่และราคากันเองหรืออาจจะติดต่อผ่านสถาบันการเงินคุยกันทางโทรศัพท์ เวลาตกลงราคากันก็อาจจะอ้างอิงจากราคาที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ก็ได้แต่ละแห่งจะบอกราคาไม่เท่ากัน ดังนั้นควรเปรียบเทียบราคาดูก่อนหลายๆ แห่ง ซึ่งค้นหารายชื่อสถาบันการเงินได้
2.2 ซื้อขายผ่านโบรคเกอร์
วิธีนี้จะต้องเปิดบัญชีกับโบรคเกอร์ก่อน เวลาจะซื้อขายก็ส่งคำสั่งซื้อขายเองหรือให้มาร์เก็ตติ้งตราสารหนี้ส่งคำสั่งให้ก็ได้ ผ่านระบบที่เรียกว่า Bond Electronic Exchange หรือ BEX ซึ่งสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ทุกประเภทเลยทั้งของรัฐและเอกชน โดยจะมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคอยกำกับดูแลอยู่ คล้ายๆ กับตลาดหุ้นเลย ต่างกันแค่สินค้าเท่านั้นเอง
ส่วนวิธีสุดท้ายอันนี้แถมให้ เพราะเป็นการซื้อพันธบัตรแบบอ้อมๆ นั่นก็คือ ซื้อผ่าน “กองทุนรวมพันธบัตร” นั่นเอง วิธีนี้ก็สามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกัน แต่เราต้องมีกองทุนในใจไว้ก่อน แล้วดูว่าเป็นของ บลจ. ของที่ไหน แล้วมีขายที่บล.หรือธนาคารไหนบ้าง เราก็สามารถพุ่งตรงไปขอเปิดบัญชีกองทุน แล้วก็บอกชื่อกองทุนที่เราต้องการซื้อ โอนเงินเข้าไป แล้วเราก็ได้เป็นหน่วยลงทุนกลับมา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีที่เราสามารถทำเองได้ เพียงแต่อาจจะมีความยากง่ายต่างกัน ถ้าเราชอบหรือสะดวกกับวิธีไหน ก็ไปซื้อพันธบัตรตามวิธีนั้นมาลงทุนกันได้เลย
พันธบัตรรัฐบาลปีงบประมาณ 2566 ล่าสุด มีอะไรบ้าง ?
อย่างไรหากต้องการอัพเดทว่ามีพันธบัตรรุ่นอะไร เปิดจำหน่ายเมื่อไรบ้างนั้นสามารถดูข้อมูลได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐบาล (bot.or.th)
พึงระลึกไว้เสมอว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลทุกครั้งก่อนตัดสินใจนะคะ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |