ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการใช้ชีวิต เราทุกคนต่างทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงิน มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า เงินที่เราใช้กัน มีมูลค่าได้อย่างไร หรืออะไรที่ทำให้เลขในหน้าบัญชีมีค่า ถ้าอยากรู้แล้ว เดี๋ยว ACU PAY จะมาสรุปให้ฟัง
ในยุคโบราณนานมา มนุษย์ต้องการหาตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ทุกคน หรืออย่างน้อยคนที่เราทำการค้าขายด้วยยอมรับว่ามีมูลค่าขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า
ซึ่งตัวกลางซื้อขายในยุคแรกเป็นเปลือกหอย เครื่องประดับ หนังสัตว์ จนเปลี่ยนมาเป็นโลหะอย่าง ทองคำ เงิน ทองแดง หรือหลอมโลหะนั้นออกมาเป็นเหรียญ และด้วยความที่โลหะหายาก และมีราคา ทำให้เหรียญนั้นมีค่าจากปริมาณเนื้อโลหะที่ใช้สร้างเหรียญ
หลังจากที่ใช้เหรียญในการแลกเปลี่ยนมานาน ก็ค้นพบว่าเงินโลหะมีน้ำหนักมาก พกยาก จึงได้มีการนำทรัพย์สินมีค่า โลหะ ทองคำ มาฝากไว้กับบุคคลหรือห้างร้านต่าง ๆ ที่ทุกคนให้ความเชื่อถือ
โดยบุคคลนั้นจะออก “ตั๋วรับฝาก” หรือ “ตั๋วแลกเงิน” ให้กับผู้ฝาก พร้อมรับประกันว่าผู้ที่ถือตั๋วนี้จะสามารถนำตั๋วมาแลกคืนเป็นเงินหรือของมีค่าที่ฝากไว้ได้เสมอ เพราะเหตุนี้เอง คนในยุคนั้นเลยใช้ตั๋วเงิน แทนเงินโลหะในการซื้อขายแลก ทั้งยังสะดวกพกง่าย น้ำหนักเบา และกำเนิดเป็นยุคเงินกระดาษ
ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็น “ระบบมาตรฐานทองคำ” หรือ Gold Standard ระบบการเงินที่รัฐบาลทำการ “ตรึง” มูลค่าของเงินที่พิมพ์ออกมาไว้กับทองคำในอัตราตายตัว และรับประกันว่าใครก็ตามที่ถือธนบัตรและเหรียญที่รัฐบาลนั้นสร้างขึ้นสามารถนำธนบัตรและเหรียญมาแลกเป็นทองคำจากคลังของรัฐบาลได้ตามมูลค่าที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกอย่างก็คือเงินกระดาษในตอนนั้นทำหน้าที่เป็น “ใบแทนทองคำ” ซึ่งสามารถนำไปแลกเป็นทองคำได้ตามมูลค่าที่กำหนดไว้ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถพิมพ์เงินขึ้นตามอำเภอใจเพราะต้องมีทองคำมาค้ำไว้เสมอ
ในปี 1944 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบการเงินโลก ผู้แทนจาก 44 ประเทศ ได้ให้กำเนิดข้อตกลง Bretton Woods agreement หรือ “ระบบ เบรตตัน วูดส์” ที่เรียกได้ว่าเป็นระบบมาตรฐานทองคำสมัยใหม่ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐอเมริกา ที่มีทองคำสำรองในคลังเยอะสุดในเวลานั้น รับหน้าที่เป็นผู้ตรึงมูลค่าของเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ พร้อมรับประกันว่าใครก็ตามที่ถือดอลลาร์สามารถนำมาแลกเป็นทองคำจากคลังของรัฐบาลสหรัฐในอัตรา 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อทองคำ 1 ออนซ์ได้
ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็จะทำการเก็บเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ในคลังเป็นเหมือนสินทรัพย์สำรองเพื่อ “ตรึง” ค่าเงินของตัวเองไว้กับสกุลดอลลาร์ ที่ทำหน้าที่เหมือนทองคำต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งบางคนเรียกระบบนี้ว่า “มาตรฐานทองคำเทียม” (pseudo-gold standard) หรือการที่ทองคำในคลังของสหรัฐ ทำให้เงินดอลลาร์มีค่า ส่วนเงินดอลลาร์ (ที่ทำหน้าที่เหมือนกับทองคำ) ก็ทำให้เงินสกุลอื่น ๆ มีค่า
ข้อตกลง เบรตตัน วูดส์ ยังได้สร้างบทบาทใหม่ให้กับเงินดอลลาร์ในฐานะมาตรฐานใหม่สำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ รวมถึงยังได้ให้กำเนิด 2 องค์กรระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการค้าและการเงินระหว่างประเทศอย่าง IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก
เป็นเวลากว่าหลายสิบปีที่ระบบ เบรตตัน วูดส์ ช่วยส่งเสริมการค้าและการเงินระหว่างประเทศและทำให้ค่าเงินต่าง ๆ มีเสถียรภาพ ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐและประเทศต่าง ๆ มีการใช้จ่ายเงินมหาศาลไปกับด้านความมั่นคง และการแข่งขันกับสหภาพโซเวียต จนในช่วงสิ้นสุดทศวรรษ 1960 ก็เริ่มชัดเจนว่าสหรัฐไม่มีทองคำเพียงพอที่จะรองรับเงินทุกดอลลาร์ที่พิมพ์ออกมาตามข้อตกลง เบรตตัน วูดส์ อีกต่อไป
และจุดจบของระบบ เบรตตัน วูดส์ ก็เริ่มขึ้นในปี 1971 เมื่อประธานาธิบดีนิกสันได้ออกมาประกาศการปรับอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/ทองคำ จากเดิมที่ 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปเป็นที่ 38 ดอลลาร์ต่อออนซ์
รวมถึงยกเลิกการรับประกันแลกดอลลาร์เป็นทองคำจากคลังของรัฐบาล จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Nixon shock” ที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินระหว่างประเทศอย่างมาก จนทำให้หลายประเทศค่อย ๆ ยกเลิกการตรึงมูลค่าสกุลเงินไป และทำให้ระบบ เบรตตัน วูดส์ ล่มสลาย ในที่สุด
แล้วแบบนี้อะไรที่ยังทำให้เงินตราในสกุลต่างๆ ยังคงมีมูลค่าแบบในปัจจุบัน?
ต่อมาในช่วงปี 1980 ได้ถือกำเนิดมาตรฐานที่ทำให้เงินมีมูลค่าใหม่อีกครั้ง นั่นคือระบบที่เรียกว่า “เฟียต” (Fiat) หรือ “Fiat Money” ที่มาจากภาษาละตินว่า “มันจะเป็นแบบนั้น” (it shall be) หมายถึง เงินที่มีค่าเพราะรัฐบาลกำหนดให้มันเป็นแบบนั้น
ในระบบเฟียต สิ่งที่มอบมูลค่าให้กับธนบัตรในกระเป๋าและตัวเลขบัญชีในธนาคารของเราไม่ใช่ทองคำหรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้อีกต่อไป แต่เป็นการที่รัฐบาลรับประกันว่าเงินนี้สามารถชำระหนี้และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย โดยคุณค่าของเงินจะขึ้นอยู่กับนโยบาลการคลังที่รับผิดชอบและกฎหมายต่าง ๆ ในประเทศนั้น ๆ เป็นไปตามกลไกตลาด อุปสงค์-อุปทาน นโยบาย ความน่าเชื่อถือ และปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศที่รัฐบาลผู้ออกสกุลเงินถือครอง
ซึ่งการที่สามารถพิมพ์เงินออกมาได้มากเท่าที่ต้องการ ทำให้รัฐบาลและธนาคารมีเครื่องมือและอำนาจค่อนข้างเด็ดขาดในการควบคุมเงินในระบบและกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ อย่างไรก็ตาม เงินเฟียตก็มีข้อเสีย เช่น ไม่สามารถเก็บมูลค่าไว้ได้ในระยะยาว เนื่องจากอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อได้
หลังจากได้เห็นระบบการเงินของโลกผ่านการเปลี่ยนแปลง มาหลายร้อยหลายพันปี ไม่มีใครตอบได้ว่าระบบเงินเฟียต Fiat จะเป็นระบบการเงินสุดท้ายที่ดีที่สุดของมนุษยชาติหรือไม่
เพราะทุกวันนี้การเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) มีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะบิทคอยน์ และ Coinbase Wallet ที่ในหลายประเทศเริ่มเปิดให้ใช้แลกเปลี่ยนแบบถูกกฎหมายบางส่วนบ้างแล้ว ไม่แน่ว่าในอนาคตสกุลเงินดิจิทัลพวกนี้ อาจมาแทนที่ระบบเงินเฟียตก็เป็นไปได้
ถึงอย่างนั้น สิ่งเดียวที่ยังเหมือนเดิมคือ ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ระบบเงินก็ยังคงอยู่ แต่อาจมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |