แน่นอนว่าความสุขของคนเราไม่เท่ากัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘เงิน’ กับ ‘ความสุข’ นั้นมีความเชื่อมโยงบางอย่างที่ผูกโยงกับเราเอาไว้อยู่ ซึ่งเงินนั้นซื้อความสุขได้หรือไม่ได้ เรามาลองตอบคำถามนี้ด้วยตัวเองไปพร้อมกัน
“ถ้าคุณรวยขึ้น ความสุขของคุณก็เพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ เช่นกัน” คำพูดนี้ไม่ได้พูดลอย ๆ แต่มีงานวิจัยอ้างอิง โดย แมตต์ คิลลิงส์วอร์ท (Matthew Killingsworth) นักเศรษฐศาสตร์ ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ได้สำรวจชาวอเมริกันที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 18 – 65 ปี จำนวนทั้งหมด 33,391 คน โดยใช้แอป Track Your Happiness รวบรวมข้อมูลรายได้ ชีวิตทั่วไป และสอบถามความรู้สึกแบบเรียลไทม์ของพวกเขา
ซึ่งงานวิจัยนี้ได้โต้แย้งงานวิจัยในอดีตเมื่อปี 2010 แดเนียล คาห์เนแมน (Daniel Kahneman) ที่กล่าวว่า ความสุขสบายจะเพิ่มขึ้นตามรายได้ก็จริง แต่พอถึงจุดหนึ่ง ที่ผู้คนมีรายได้เกิน 75,000 เหรียญดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 2.6 ล้านบาท) เงินก็แทบจะไม่ส่งผลกับความสุขมากนัก
แต่ผลวิจัยใหม่ของ คิลลิงส์วอร์ท ได้ข้อสรุปว่า ผู้คนที่มีรายได้เกิน 75,000 เหรียญดอลลาร์ต่อปี ก็ยังมีแนวโน้มที่จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไปจนถึงคนที่มีรายได้สูงสุด 500,000 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 17 ล้านบาท) เลยทีเดียว
งานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่าเงินคือสาเหตุของความสุข แต่งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงินและความสุข ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งสองสิ่งนี้ต่างเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน สาเหตุนั้นมีด้วยกัน 2 สาเหตุหลัก ๆ
สาเหตุแรก คนที่มองเงินเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิต การมีเงินช่วยเติมเต็มปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ มีเงินพอจ่ายค่ารักษาพยาบาล มีบ้านที่ปลอดภัย ทำให้ไม่ต้องวิตกกังวลกับชีวิตวันข้างหน้าและแบ่งเบาความทุกข์ขั้นพื้นฐานลงไปได้
ซึ่งตรงกับทฤษฎี Hierarchy of Needs ของ มาสโลว์ ที่อธิบายความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ด้วยพีระมิด 5 ขั้น คือ
ทฤษฎีของมาสโลว์ได้อธิบายว่า มนุษย์จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองจากความต้องการขั้นพื้นฐานที่อยู่ในลำดับล่างสุดให้ได้ก่อน จึงจะสามารถขยับเพิ่มไปความต้องการที่สูงขึ้นได้ อย่างที่รู้กันว่าปัจจัยขั้นแรกและสองอย่าง ปัจจัยสี่ และความปลอดภัยในชีวิต นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่เรามีอยู่ ซึ่งถ้าหากไร้เงินแล้ว ความต้องการขั้นพื้นฐานอย่าง อาหารที่ดี บ้านที่ปลอดภัย เสื้อผ้าที่ใช้สวมใส่ และยารักษายามเจ็บป่วย ก็สร้างความทุกข์ให้เราได้ เงินเลยกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ซื้อความสุขสบายนั้นได้
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง คือ การให้ความสำคัญกับเรื่องเงิน โดยพบว่าคนที่ให้ความสำคัญกับเงินมากกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่นิยามความสำเร็จจากความมั่งคั่งร่ำรวย หรือผูกคุณค่าของตนเองไว้กับจำนวนเงินในบัญชี รถหรูซูเปอร์คาร์ กระเป๋าแบรนด์เนม ความสุขของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามรายได้ มากกว่าคนที่มองเงินเป็นปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิต
ความสุขนั้นมาจากปัจจัยอีกหลายอย่างในชีวิต และบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินซื้อ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ทำงานอดิเรกที่ชอบ หรือการให้ความหมายและคุณค่ากับตัวเอง
คิลลิงส์วอร์ท ได้กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่า คนที่รวยแต่มีความทุกข์นั้น เงินก็ไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ เงินเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่สามารถสร้างความสุขให้กับคนเราได้ และสุดท้ายการมีเงินไม่ใช่เคล็ดลับสู่ความสุขอะไร แต่อย่างน้อยเงินก็ช่วยเพิ่มความสุขสบายให้เราได้บ้าง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |