fbpx
Search
Close this search box.

อัปเดตใหม่ กฎหมายจราจรประเทศไทย ปี 2567

อัปเดตใหม่ กฎหมายจราจรประเทศไทย ปี 2567
อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเรื่องที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น การมีกฎหมายการจราจรที่เข้มงวดขึ้น จะทำให้ผู้คนขับขี่กันอย่างระมัดระวัง และลดอุบัติเหตุได้มากขึ้น มาดูกันว่าในปี 2567 นี้ กฎหมายจราจร จะมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มบทลงโทษอย่างไรบ้าง

เนื้อหา

อัปเดตใหม่ กฎหมายจราจรประเทศไทย ปี 2567

อัปเดตกฎหมายจราจรใหม่ปี 2567

สำหรับกฎหมายจราจร 2567 ล่าสุดนี้ ได้เริ่มประกาศใช้กันไปเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยได้มีประกาศผ่านทาง พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 โดยได้ระบุถึงการปรับอัตราค่าปรับจากการทำผิดกฎจราจร การขับรถเร็วเกินความเร็วกำหนด เมาแล้วขับ การลืมพกใบขับขี่ รวมถึงกฎต่าง ๆ หลายประการ โดยความผิดแต่ละฐานมีการปรับอัตราค่าปรับ ดังนี้

1. โทษขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

กรณีที่มีการขับรถด้วยความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด จะต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิม 1,000 บาท

2. โทษเมาแล้วขับ

สำหรับใครที่เมาแล้วขับ หรือในขณะคนขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่วัดได้เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะมีโทษปรับและจำคุกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • เมาแล้วขับครั้งแรก มีโทษปรับอยู่ที่ระหว่าง 5,000 – 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เมาแล้วขับทำผิดซ้ำในระยะเวลา 2 ปี มีโทษปรับอยู่ที่ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. โทษขับรถย้อนศร

ถ้าเกิดขับรถย้อนศร คนขับขี่จะต้องเจอโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิม 500 บาท

4. โทษฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง

ถ้าเกิดผู้ขับขี่ที่ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร หรือที่เรียกกันว่า ขับรถฝ่าไฟแดง มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิม 1,000 บาท

5. โทษใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่

ถ้าผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่รถ จะต้องโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิม 2,000 บาท และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ขับขี่และผู้สัญจรคนอื่นบนท้องถนน ควรใช้อุปกรณ์เสริมหากต้องการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น หูฟัง หูฟังไร้สาย หรือใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อยึดโทรศัพท์กับส่วนหน้ารถ

6. โทษไม่พกใบขับขี่หรือใบขับขี่หมดอายุ

สำหรับโทษปรับในความผิดฐานไม่พกใบขับขี่ หรือใบขับขี่หมดอายุ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

  • กรณีที่ 1 ไม่พกใบขับขี่แล้วโดนเรียกตรวจ จะต้องเจอโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กรณีที่ 2 ใบขับขี่หมดอายุ ถูกเพิกถอนใบขับขี่ หรือถูกยึดใบขับขี่ แต่นำรถออกมาสัญจรบนท้องถนน จะต้องเจอโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

7. โทษไม่หยุดรถให้คนข้ามตรงทางม้าลาย

ถ้าผู้ขับขี่ไม่หยุดรถให้คนข้ามบริเวณทางม้าลาย จะต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิม 1,000 บาท

8. โทษไม่สวมใส่หมวกกันน็อกหรือหมวกนิรภัย

สำหรับผู้ขับขี่รวมถึงผู้โดยสารที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อก ต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิม 500 บาท

9. โทษไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

สำหรับผู้ขับขี่รวมถึงผู้ที่โดยสารมาในรถที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิม 500 บาท

10. โทษที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี

กรณีที่ในรถมีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จะต้องนั่งบนที่นั่งนิรภัย หรือ Car Seat โดยเฉพาะ หากไม่มีจะต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

11. แข่งรถในทางสาธารณะ

สำหรับผู้ขับขี่รวมถึงผู้โดยสารที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อก ต้องได้รับโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิม 500 บาท

อีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนกับผู้ใช้รถและท้องถนน ล่าสุดได้มีการปรับบทลงโทษสำหรับผู้ที่แข่งรถในทาง ดังนี้

  • กรณีเป็นผู้ที่รวมกลุ่มกันชักชวนให้แข่งรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป รวมถึงมีพฤติกรรมต่อไปนี้จะถือว่ามีความผิดเข้าข่ายในฐานพยายามแข่งรถ ได้แก่ มีการดัดแปลงสภาพรถที่จะนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อแข่งรถ มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมให้เห็นว่ากระทำการแข่งรถ ถือว่าผู้ขับขี่มีโทษ 2 ใน 3 ฐานแข่งรถในทาง มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กรณีเป็นผู้ประกาศหรือผู้ชักชวนให้เกิดการแข่งรถในทางสาธารณะ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ทั้งนี้ร้านที่ช่วยแต่งรถให้จะถือว่ามีความผิดร่วมด้วย ในฐานะเป็นผู้สนับสนุน มีโทษ 2 ใน 3 ฐานแข่งรถในทาง มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากกฎหมายจราจรที่กล่าวไปแล้ว ยังมีการปรับข้อกำหนดอีกหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดบนทางด่วน โดยอนุญาตให้รถจักรยานยนต์สามารถวิ่งบนทางด่วนได้ รถยนต์ 4 ล้อมีการปรับกำหนดความเร็วสูงสุดเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี ห้ามนั่งเบาะหน้ารถ เป็นต้น

รวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการชำระค่าปรับหลายวิธีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม รวมถึงเคาน์เตอร์ของกรมการขนส่งทางบก

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการปรับอัตราค่าปรับการทำผิด กฎหมายจราจรใหม่ 2567 นี้นั้น เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจรด้วยความเอาจริงเอาจัง เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมากขึ้น เพราะการรักษาวินัยในการทำขับขี่ ไม่ทำผิดกฎหมายจราจรนั้น ย่อมทำได้ง่ายกว่าการจ่ายค่าปรับหลายเท่า ดังนั้นขับขี่อย่างมีสติ เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่