fbpx
Search
Close this search box.

กกพ. ขึ้นค่าไฟ งวด ม.ค.- เม.ย. 2567 เฉลี่ย 4.68 บาท/หน่วย

ขึ้นค่าไฟ

หลังจากค่าไฟได้มีการปรับขึ้นลงมาตลอดในช่วงปี 66 ที่ผ่านมากนี้ ล่าสุดทางกกพ. เคาะขึ้นค่าไฟ งวดใหม่มกราคม – เมษายน 67 เฉลี่ยสูงถึง 4.68 บาท/หน่วย หลังเปิดรับฟังความเห็นไว้ 3 ทางเลือก เพื่อลดผลกระทบประชาชน แต่ต้องปรับให้สะท้อนต้นทุนบางส่วน

ค่าไฟปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 69.07 สตางค์/หน่วย

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้มีมติเห็นชอบตรึงค่าไฟจากเดิมที่ตามปกติจะต้องจ่ายที่ 4.45 บาทต่อหน่วย ในรอบบิลเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2566 ให้เหลือ 4.10 บาท/หน่วย และต่อมา 18 กันยายน 2566 การกระทรวงพลังงาน สามารถเจรจาทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาอีกที่ 3.99 บาท/หน่วย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่า Ft ขายปลีก งวดเดือนมกราคม – เมษายน 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย รวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาท/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากปัจจุบัน

โดยทาง กกพ. ให้เหตุผลว่าเหตุผลในการปรับราคาค่าไฟฟ้า จากงวดกันยายน – ธันวาคม เฉลี่ยรวมที่ 3.99 บาท/หน่วยมา อยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่า) เพื่อปรับให้สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น และคืนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ กฟผ. รับภาระไว้บางส่วน เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการดำเนินงาน และชำระคืนเงินกู้เท่าที่จำเป็น 

นอกจากนี้ กกพ. ขอเชิญชวนประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมกันประหยัดการใช้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่าย ๆ 5 ป. ได้แก่ ‘ปลด’ หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ‘ปิด’ หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ‘ปรับ’ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา ‘เปลี่ยน’ มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 และ ‘ปลูก’ เพื่อเป็นร่มเงาลดอุณหภูมิให้กับตัวบ้าน จะสามารถช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพง เพื่อลดภาระค่าครองชีพของตัวเองและภาระโดยรวมของชาติ

ค่าไฟ 4.68 บาท ส่งผลกระทบต่อภาระประชาชนอย่างไรบ้าง

อ้างอิงตัวเลขและแถลงของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 เติบโตเพียง 1.5% ตํ่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แตกต่างจากไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรก ของปี 2566 ที่ 1.8% และ 2.6% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวดีหนัก

ซึ่งการขึ้นค่าไฟในช่วงต้นปี 2567 แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง อาจส่งผลต่อรายได้ของคนทำงานลดลง ส่งผลเป็นวงจรที่ซ้ำเติมกัน นอกจากนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ การขึ้นค่าไฟจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่