สำหรับใครคนไหนที่มีที่ดินเปล่า บ้านหรืออาคารปล่อยไว้ไม่มีคนอยู่เป็นระยะเวลานาน แถมยังไม่ค่อยกลับเข้าไปเช็กสภาพบ้านหรือที่ดินนั้นมานานแล้ว ต้องระวังให้ดี เพราะถึงเราจะถือโฉนดที่ดิน แต่นั่นก็ไม่ได้รับรองว่าเราจะเป็นเจ้าของที่ดินนั้นตลอดไป อาจเกิด “การครอบครองปรปักษ์” (Adverse Possession)ขึ้น ถ้ามีคนอื่นเข้ามาอยู่ที่ดิน-บ้านของเราเกิน 10 ปี แล้วเราจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไรบ้าง เรามาดูกันเลย
ครอบครองปรปักษ์ คือ การที่คนอื่นเข้าครอบครองทรัพย์สินของเราเป็นเวลาติดต่อกันตามกฎหมาย (สำหรับบ้านหรือที่ดิน 10 ปี และ สำหรับทรัพย์สินอื่น ๆ 5 ปี) ซึ่งจะทำให้คนนั้นได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์สิน ตามหลักในมาตรา 1382 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ระบุว่า
“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”
แต่ว่าการเป็นเจ้าของสิทธิ์ หรือเจ้าของที่ดินนั้นจะยังไม่สมบูรณ์ที่สุด ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนการได้ที่ดินนั้นมากับเจ้าหน้าที่ก่อน โดยผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินจะต้องไปร้องขอต่อศาล เพื่อให้มีคำพิพากษาว่า ผู้ครอบครองปรปักษ์คนนั้นมีสิทธิ์ในที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นให้ต้องไปดำเนินการสำนักทะเบียนที่ดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของที่ดินโฉนดเดิม เป็นชื่อของเจ้าของคนใหม่
ส่วนที่ดินมือเปล่า เช่น ที่ดินตาม ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์นั้นได้
โดยเฉพาะถ้าเรามีที่ดินเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครมารุกล้ำ หรือแอบครอบครองที่ดินของเรา ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ อาจฝากคนข้างบ้าน หรือคนระแวกที่ดินข้าง ๆ ช่วยดูให้ โดยมีข้อตกลงเป็นหนังสือสั้น ๆ และจ่ายค่าตอบแทนตามเหมาะสม ในกรณีที่เราไม่มีเวลาไปดูบ่อย ๆ
ควรติดป้ายหรือปักไว้ด้านหน้าของที่ดินว่า ที่ดินนี้เป็นที่ดินส่วนบุคคล ห้ามบุกรุก หรือห้ามเข้ามาใช้ครอบครอง และอาจระบุชื่อเจ้าของให้ชัดเจน หรือถ้าให้เห็นชัดเจนมากขึ้น อาจทำรั้วล้อมรั้วที่ดินเปล่านั้น เพื่อป้องกันคนนอกเข้ามาบุกรุกที่ดิน
การเสียภาษีที่ดินหรือโรงเรือนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือดำเนินการอื่น ๆ เพื่อให้มีบันทึกของเราไว้กับกรมที่ดิน หรือหน่วยงานราชการ จะเป็นตัวช่วยในการย้ำเตือนอยู่เรื่อย ๆ ว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ เช่น ยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่ หรือยื่นเรื่องขอคัดสำเนาโฉนดที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดิน เป็นต้น
ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ว่าใครมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของที่ดินนั้น เจ้าของที่ดินตามโฉนด มีสิทธิในการดำเนินเรื่องต่อสู้กันในชั้นศาลได้ตลอดจนกว่าจะมีคำตัดสิน
ดังนั้นถ้ามีใครซื้อที่ดินเปล่า ซื้อบ้านหรืออาคารทิ้งไว้แล้วไม่ค่อยได้เข้าไปดู ก็ต้องระวังกันเป็นพิเศษ อาจเข้าไปดูหรือทำประโยชน์กับที่ดินนั้น เพื่อป้องกันกฎหมายปรปักษ์ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันมานานในประเทศไทย
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |