fbpx
Search
Close this search box.

รวมความเชื่อผิด ๆ ด้านการเงิน

ความเชื่อเปรียบเสมือนเข็มทิศที่นำพาเราไปสู่เส้นทางต่าง ๆ ถ้ามีความเชื่อดีก็จะนำพาไปสู่ชีวิตที่ดี ถ้ามีความเชื่อที่ผิดก็จะทำให้ชีวิตเราหลงอยู่กับที่ ความเชื่อในเรื่องการเงินก็เช่นกัน ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY มาพร้อมกับความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการเงินที่เราต้องลืมไปให้หมด เปลี่ยนความคิดใหม่ แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น

เนื้อหา

1. “หนี้สิน” ทุกอย่างล้วนไม่ดี

บางครั้งการเป็น “หนี้สิน” ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป ถ้าหนี้ที่ก่อนั้นจะสามารถสร้างอนาคตหรือความมั่นคงระยะยาวได้ เช่น  กู้เงินเพื่อการศึกษา หรือเพื่อที่อยู่อาศัย แต่หนี้ที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ ไม่ได้เพิ่มความมั่นคงทางการเงินเลย เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้บัตรเครดิต 

ซึ่งการเป็นหนี้ ต้องมีวินัยอย่างมาก ในการใช้คืนเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งหมด ดังนั้นถ้าเราแยก “หนี้ดี” และ “หนี้เสีย” ไม่ออก และไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจเป็นพันธะหนี้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดได้ 

2. “เงินสด” ดีกว่า “บัตรเครดิต” เสมอ

บัตรเครดิตมักถูกมองว่าเป็นสิ่งไม่ดี ทำให้คนเป็นหนี้ แต่ความจริงแล้วบัตรเครดิตนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกวิธี บัตรเครดิตหลายใบนั้น สามารถให้ประโยชน์ในรูปแบบของเงินคืน ส่วนลดค่า หรือนำคะแนนไปแลกสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้การมีประวัติเครดิตจะช่วยสร้างเครดิตในการกู้สินเชื่ออื่น ๆ ได้ โดยการใช้บัตรเครดิตให้ฉลาดและมีประโยชน์มากที่สุด คือการจ่ายให้ตรงเวลา ไม่จ่ายขั้นต่ำ และมีเงินสดไว้สำรองจ่ายเสมอ

3. จ่ายหนี้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก่อน แล้วค่อยออมเงินทีหลัง

การให้เงินออมเป็นเศษเงินเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ ไปแล้ว เป็นเรื่องที่ผิดอย่างมาก เพราะอาจทำให้มีเงินออม เงินสำรองฉุกเฉินที่ไม่เพียงพอ และก่อเป็นหนี้ต่อไปได้ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับเงินออมเป็นอันดับแรก จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเมื่อมีรายได้เข้ามา เราควรหักเงินออมก่อน โดยแบ่งเงินเป็นเงินออมฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายคงที่ในแต่ละเดือน 

4. การลงทุนมีไว้ให้กับคนรวยเท่านั้น

เรื่องลงทุนเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ ซึ่ง Warren Buffett มักกล่าวเสมอว่า “อย่าลงทุนในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ” โดยเขาเล่าว่าตัวเขาเองก่อนที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เขาต้องทำความเข้าใจก่อนว่าบริษัทนั้นจะทำเงินได้อย่างไร และหากบริษัทไหนซับซ้อนเกินกว่าที่จะเข้าใจได้เขาก็เลือกที่จะไม่ลงทุนในบริษัทนั้น นอกจากการลงทุนในสินทรัพย์แล้ว การลงทุนกับตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะในด้านทักษะ สกิล สุขภาพ ความรู้ ยิ่งรู้มาก ก็ยิ่งทำเงินได้มาก

5. ไม่ต้องมีประกันหรอก ถ้าสุขภาพยังดีอยู่

บางครั้งเรื่องที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว บางคนมักคิดว่าตัวเองสุขภาพแข็งแรงดี เลยยังไม่สนใจ แต่ตอนที่เราสุขภาพแข็งแรงที่สุด ควรจะเริ่มทำประกันไว้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีประวัติการเจ็บป่วย เพราะจะได้รับการคุ้มครองทั่วถึงทุกโรค แต่ถ้าทำตอนมีปัญหาสุขภาพแล้ว ก็อาจทำยากและมีเบี้ยแพงขึ้นด้วย

6. อายุยังน้อย ยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องเกษียณหรอก

ใครที่คิดว่าวางแผนเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว บอกเลยว่าคิดผิดมาก ๆ เพราะการวางแผนเกษียณช้าหรือเลื่อนเวลาออกไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เรามีเงินเก็บไม่ทัน แต่การเริ่มต้นวางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เรามีเวลามากขึ้นในการวางแผนออมเงิน และลงทุนพอร์ตที่หลากหลาย โดยใช้พลังของดอกเบี้ยทบต้น เพื่อให้ชีวิตวัยเกษียณไม่สะดุด

7. ธนาคารคือแหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยที่สุด

ธนาคารเป็นแหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยก็จริง แต่การเก็บเงินไว้ในธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีฝากประจำ หรือแม้แต่การออมเงินในบัญชีพิเศษที่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป เมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่ได้ทำให้เงินของเรางอกเงยขึ้น จนสามารถเอาชนะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตามได้ 

ซึ่งวิธีที่เอาชนะเงินเฟ้อได้นั้น คือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงหลากหลาย อย่าง กองทุนรวม, ตราสารเงิน, ตราสารหนี้ระยะสั้นและยาว, หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความเชื่อผิด ๆ ด้านการเงิน ที่กล่าวไป มีใครคิดแบบนั้นกันบ้างหรือเปล่า ? ถ้าคิดแบบนั้นให้สร้างความเชื่อใหม่ให้ถูกต้อง ปรับทัศนคติเพื่อโอกาสทางการเงินที่งอกเงย จัดการบริหารการเงินให้ถูกทาง เพื่อเกิดความมั่นคงในชีวิตจนถึงวัยเกษียณ

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่