fbpx
Search
Close this search box.

ข้อควรรู้และความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์

เทศกาลวันหยุดยาว ใกล้มาถึงแล้ว กับ “วันสงกรานต์” โดยวันสงกรานต์ถือเป็นช่วงที่คนนิยมกลับบ้านมากที่สุด เป็นเพราะวันสงกรานต์มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน หลายคนจึงมีการใช้พักร้อนเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้เวลาพักผ่อนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน วันนี้เอซียูเพย์ จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับวันสงสรานต์ให้มากขึ้นกันค่ะ

ความสำคัญของวันสงกรานต์

วันสงกรานต์เป็นวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเพื่อนบ้านที่จัดเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน ได้แก่ ประเทศลาว ประเทศเมียนมา ประเทศกัมพูชา โดยลักษณะการจัดงานจะคล้ายกัน แต่ก็มีความต่างเล็กน้อยตามพื้นที่ โดยวันสงกรานต์มีความสำคัญต่อประเทศไทย ดังนี้

  •   เป็นวันหยุดประจำปี
  •   ถูกจัดให้เป็นวันครอบครัว
  •   ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
  •   เปิดโอกาสพบปะสังสรรค์กันระหว่างกลุ่มเพื่อน

ความสำคัญหลัก ๆ ของวันสงกรานต์จะเน้นที่การพักผ่อน ถือเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา มีกิจกรรมทำร่วมกัน และมีการทำบุญถึงบรรพบุรุษ สงกรานต์จึงเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

ความเชื่อที่น่าสนใจในวันสงกรานต์

วันสงกรานต์เป็นเทศกาลที่คงอยู่มาอย่างยาวนาน รากเหง้าทางวัฒนธรรมหลายอย่างถ่ายทอดผ่านประเพณีสงกรานต์ โดยความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์และได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลาย ได้แก่

ตำนานนางสงกรานต์

นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ในแต่ละปีนางสงกรานต์จะไม่เหมือนกัน โดยอิงจากวันแรกของการเริ่มเข้าสู่วันสงกรานต์หรือวันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นตัวกำหนดนางสงกรานต์

โดย นางสงกรานต์ปี2567 นี้มีนามว่า นางสงกรานต์มโหทรเทวี มโหทรเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)

เรื่องเล่าพญาแถน
พญาแถนเป็นตำนานทางภาคอีสาน พญาแถนหมายถึงพระอินทร์และเป็นความเชื่อของการจุดบั้งไฟขอฝนด้วย เรื่องราวมีอยู่ว่าพญาคันคากเป็นคางคกทรงคุณธรรม เมื่อพญาแถนโกรธเคืองมนุษย์และไม่บันดาลให้ฝนตกลงมาถึง 7 เดือน ชาวนาเดือดร้อนเพราะขาดน้ำ พญาคันคากจึงยกทัพไปสวรรค์เพื่อสู่กับพญาแถน พญาแถนพ่ายแพ้และยอมสงบศึก โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าเมื่อใดที่มนุษย์จุดบั้งไฟสู่ฟ้าให้บันดาลฝนตกลงมา

กิจกรรมวันสงกรานต์

– การทำบุญตักบาตร นับว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันเดียวกันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย

 – ทำบุญให้บรรพบุรุษ การทำบุญเป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกในความคิดของคนไทย ประเพณีที่สำคัญอย่างวันสงกรานต์จึงมีการทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้การขึ้นปีใหม่เริ่มต้นด้วยอะไรดี ๆ

– รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เป็นการแสดงความกตัญญูรูปแบบหนึ่ง เป็นกิจกรรมที่รวมลูกหลานแล้วรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ โดยน้ำจะแทนความสงบร่มเย็น ดังกับอวยพรให้ผู้ใหญ่อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลานร่มเย็น

– การขนทรายเข้าวัด ในทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาคให้พบแต่ความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางพื้นที่มีความเชื่อว่า การนำทรายที่ติดเท้าออกจากวัดเป็นบาป จึงต้องขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เกิดบาป

– การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติมด้วย

– การเล่นน้ำสงกรานต์ มีความเชื่อว่าเป็นการชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีที่ผ่านเข้ามาออกไปจากชีวิต รวมถึงยังเชื่อว่าเป็นการช่วยชำระล้างจิตใจ และสิ่งที่เป็นภัยอันตรายต่างๆให้สิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นไหลไปกับน้ำนั่นเอง

วันสงกรานต์กลายเป็นส่วนหนึ่งในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยไปแล้ว  แม้จะเป็นเทศกาลที่มีประเพณีมีมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังคงอยู่คู่คนไทยสร้างความสุข สนุกสนานทุกครั้ง ไม่เพียงเฉพาะคนไทยเท่านั้น ต่างชาติเองต่างก็หลงรักในประเพณีอันดีงามนี้ด้วยเช่นกัน สงกรานต์ปีนี้อย่าลืมเล่นน้ำกันอย่างสุภาพ ดูแลความปลอดภัยกันด้วยนะคะทุกคนนนน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่