fbpx
Search
Close this search box.

จับตามอง “ฉางอัน” แบรนด์รถค่ายยักษ์ใหญ่จากจีน หลังเลือกไทย เป็นฐานการผลิต รถ EV ส่งออกขายทั่วโลก

นับเป็นการลงทุนที่น่าจับตามอง หลัง “ฉางอัน” 1 ใน 4 บริษัทยักษ์ใหญ่กลุ่มยานยนต์ของจีน ตัดสินใจ เลือกไทยเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้า EV ส่งออกไปทั่วโลก ผ่านการลงทุนมากกว่า 9.8 พันล้านบาท 

สำหรับ บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของจีน ได้ประเดิม ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน เฟสแรก มูลค่ากว่า 8,800 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งฐานการผลิต รถยนต์พวงมาลัยขวา ทั้งประเภท BEV, PHEV, REEV (Range Extended EV)

ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นของนักลงทุนจีน ได้เบียดแซงนักลงทุนสัญชาติญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น สะท้อนภาพจีนกำลังให้ความสำคัญ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของไทย ที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจต่าง ๆ

ฉางอัน (Changan) ผู้ผลิตรถ รายใหญ่ในจีน

“ฉางอัน” เป็นแบรนด์รถจีน ที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 153 ปี และเป็นผู้นำเริ่มแรก ใน อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีประสบการณ์ผลิตและพัฒนารถยนต์หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารไปจนถึงรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ 

ฉางอัน ได้ ผลิตยานยนต์รุ่นแรกในปี 2502 ชื่อว่า Changjiang Type 46 เป็นยานยนต์ผลิตรุ่นแรกของจีน ซึ่งต่อมาในปี 2555 บริษัทได้จับมือกับ Suzuki, Ford และ Mazda ทำให้ฉางอันได้รับเทคโนโลยีจนสามารถผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้แก่ Suzuki Swift, Ford Focus และ Mazda 2 เพื่อขายในตลาดในประเทศจีนเอง 

และในปี 2560 ฉางอัน เป็นบริษัทของจีนเจ้าแรกที่ทำการเปิดตัวรถยนต์ไฮบริด รวมไปถึงการพัฒนารถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้รับคะแนนระดับ 5 ดาวในการทดสอบด้านมาตรฐานความปลอดภัย 

ปัจจุบันฉางอันได้จำหน่ายรถไปกว่า 90 ประเทศ และผลิตรถได้ถึง 2 ล้านคันต่อปี พร้อมโรงงานผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์อยู่ถึง 13 แห่ง จัดจำหน่ายอยู่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน, บราซิล, รัสเซีย, ไนจีเรีย และมาเลเซีย 

ประเทศไทย กับ แหล่งฐานโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

โดยฉางอันเลือกมาปักหมุดฐานโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น ก็เพื่อจะใช้เป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV PHEV REEV (Range Extended EV) และแบตเตอรี่ เพื่อส่งออก อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และแอฟริกาใต้

โดย ฉางอัน ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ ด้วย กำลังการผลิต 100,000 คันต่อปีในระยะแรก และจะเพิ่มกําลังการผลิตขึ้นเป็น 200,000 คันต่อปีในระยะที่ 2 เพื่อเป็นฐานการผลิตรถพวงมาลัยขวาส่งขายทั่วโลก 

ทั้งนี้ บีโอไอ ประเมินว่า การลงทุนในประเทศไทยของฉางอัน แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตลาดยานยนต์และบรรยากาศการลงทุนของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นการประกาศที่ชัดเจนว่าไทยมีโอกาสเติบโตและเป็นศูนย์กลางในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่