fbpx
Search
Close this search box.

ดัชนี PMI คืออะไร สะท้อนถึงอะไรบ้าง

ดัชนี PMI คืออะไร สะท้อนถึงอะไรบ้าง
สารบัญ

         ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index เป็นดัชนีที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากหนึ่งตัวในการวัดว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรอนาคต กำลังซื้ออยู่ในระดับไหนเพราะเกิดจากการสำรวจของผู้ประกอบของบริษัททั่วโลกกว่า 30 ประเทศครอบคลุมทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่สำคัญของโลกในทุกทวีป เพื่อนำข้อมูลมาทำดัชนี

ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index คืออะไร

           ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งความหมายตรงไปตรงมาไม่ซับในการทำความเข้าใจ เพราะทุกครั้งก่อนการผลิต หรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ บริษัทหรือองค์กรที่เป็นผู้ผลิต จะเป็นผู้ที่ทราบถึงความต้องการของตลาด หรือเป็นการที่จะต้องเตรียมสินค้า หรือบริการเพื่อตอบสนองผู้บริโภค ดังนั้นเมื่อทราบถึงปริมาณความต้องการ หรือเพื่อรองรับปริมาณความต้องการของตลาด บริษัทหรือองค์กร ย่อมได้รับคำสั่ง หรือออเดอร์ในการผลิต และสิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมคือ วัตถุดิบนั่นเอง และคนที่จะเป็นผู้ซื้อ หรือจัดหาวัตถุดิบจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากฝ่ายจัดซื้อ จึงทำให้ ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index เป็นดัชนีที่สำคัญอีกหนึ่งตัวเลยทีเดียว

ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index จัดทำโดยใคร?

มี 2 สถาบันหลักที่จัดทำดัชนี PMI โดยในสหรัฐฯ จัดทำโดย 

  1. ISM (Institute for Supply Management) ขณะที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลกจัดทำโดย IHS Markit Ltd 
  2. ส่วนประเทศจีนมีการจัดทำจากทั้งภาครัฐ และเอกชนโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd)
หากเราสังเกตุว่าทำไมต้องเป็นการสำรวจจากสหรัฐฯ และจีน เราทราบกันดีว่า สหรัฐฯ ประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง หรือด้านเศรษฐกิจเอง นี่จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมสหรัฐฯ จึงเหมาะเป็นผู้สำรวจ และในส่วนของประเทศจีน อย่างที่ทราบกันดีว่าเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ ของหลายๆ บริษัท และของโลก ตั้งอยู่ที่ประเทศจีนด้วยความได้เปรียบทางด้านต้นทุนดังนั้น หากจีนจะเป็นผู้สำรวจก็ไม่แปลกนัก เพราะว่าใกล้ชิดกับแหล่งข้อมูลและยังเป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงกำลังการผลิตได้อย่างครอบคลุมอีกด้วย

ตัวแปรที่ใช้ในการคำนวน ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index

          ตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณดัชนี PMI จะมีการถ่วงน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป 5 ตัวแปร ได้แก่ คำสั่งซื้อใหม่, ผลผลิต, การจ้างงาน, เวลาขนส่งของวัตถุดิบ และสินค้าคงคลังวัตถุดิบ หากเราสังเกตุตัวแปรเราพอจะทราบได้ว่า นี่คือ ส่วนหนึ่งของ Supply Chian ที่จะผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการผลิตให้เพียงพอ และพอดีต่อความต้องการอยู่เสมอ ดังนั้น หากมีคำสั่งซื้อใหม่ ฝ่ายจัดซื้อย่อมมีความสำคัญในการจัดเตรียมวัตถุดิบ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของฝ่ายผลิต นอกจากเป็นดัชนีที่สำคัญ และยังเป็นฝ่ายที่สำคัญอีกด้วยในกระบวนการผลิต เพื่อตอบความสนองความต้องการของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้น

         นอกจากนี้ จุดเด่นของดัชนี PMI ยังมีในเรื่องความถี่ของการจัดทำและความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมีการจัดทำเป็นประจำทุกเดือน มีความถี่มากกว่าข้อมูลจาก GDP ซึ่งมีการจัดทำรายไตรมาส ดังนั้น การใช้ดัชนี PMI เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต จึงสามารถสะท้อนความเป็นไปทางเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ซึ่งค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมายดังนี้

  • ถ้าดัชนี มีค่ามากกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวจากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี มีค่าเท่ากับ 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่จากระดับปัจจุบัน
  • ถ้าดัชนี มีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวจากระดับปัจจุบัน

เมื่อเราทำความรู้จัก ดัชนี PMI หรือ Purchasing Manager Index กันไปแล้ว ครั้งต่อไปหากเราได้ยินนักวิเคราะห์หรือ นักลงทุนพูดถึงคำว่า ดัชนี PMI เราก็จะสามารถประเมินแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจเบื้องต้นกันได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่