fbpx
Search
Close this search box.

ตราสารหนี้ VS ตราสารทุน ต่างกันอย่างไร

ตราสารหนี้ VS ตราสารทุน

ใครที่กำลังเริ่มศึกษาการลงทุนหรือสนใจที่จะเริ่มลงทุนในตราสารหนี้ และ ตราสารทุน อาจเกิดคำถามที่ว่าทั้งสองตราสารที่ชื่อคล้ายกันนี้ มีความเหมือนความแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความเข้าใจ และความแตกต่างระหว่างการลงทุนสองอย่างนี้กัน

ฟตราสารหนี้ VS ตราสารทุน

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ (Bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ หรือ “นักลงทุน” มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” และผู้ออกตราสารมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะได้รับ “เงินต้น” คืนเมื่อครบกำหนดอายุ ตัวอย่างตราสารหนี้ที่เรารู้จัก เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A อยากขยายกิจการ โดยต้องใช้เงินจำนวนมาก บริษัทจึงยืมเงินคนอื่นมาทำธุรกิจที่เรียกว่า หุ้นกู้ ให้กับประชาชนเข้ามาซื้อ โดยหุ้นกู้แบ่งออกเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งในประเทศไทยมักกำหนดมูลค่าหุ้นกู้หน่วยละ 100 บาท และ 1,000 บาท

ซึ่งการลงทุนแบบนี้มีผลตอบแทนที่แน่นอน เพราะจะได้เป็นประจำ ทุก ๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือน ตราสารหนี้นั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป เฉลี่ยที่ 2 – 5% 

โดยถ้าลงทุนในพันธบัตรที่รัฐบาลเป็นผู้ออกจะมีความเสี่ยงต่ำกว่า การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ซึ่งการลงทุนนี้ต้องศึกษาให้แน่ใจก่อนว่า บริษัทที่ปล่อยหุ้นกู้นั้นมีฐานะที่มั่นคง มีเงินจ่ายดอกเบี้ยได้สม่ำเสมอและสามารถคืนเงินต้นได้

ตราสารหนี้ถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นต่ำผลตอบแทนที่ได้รับก็ต่ำเช่นกัน ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นั้นสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงได้ แต่ถ้าเราลงทุนในตราสารหนี้มากเกินไป ก็อาจทำให้การลงทุนนั้นขาดความมั่งคั่ง เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนกับอย่างอื่นได้

ตราสารทุน

ตราสารทุน (equity instrument) คือ ผู้ลงทุนในตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของธุรกิจ” ที่ออกตราสารและมีส่วนได้เสีย หรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของธุรกิจ ตราสารทุนที่ส่วนใหญ่เราเคยได้ยิน เช่น หุ้นสามัญ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น รวมไปถึง DW หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant) 

ผู้ถือตราสารทุนจะได้รับผลตอบแทนเรียกว่า “เงินปันผล” (dividend) แต่ธุรกิจที่ออกตราสารทุน ไม่มีข้อผูกพันว่าจะต้องจ่ายเงินปันผล ในส่วนของความเสี่ยงในตราสารทุนนั้น มีด้วยกันหลายปัจจัย เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น รวมถึงความเสี่ยงในด้านของการดำเนินงานของบริษัท อย่างการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือนโยบายบริษัท 

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท B เปิดให้เราร่วมลงทุน เมื่อเรานำเงินมาลงทุนทางบริษัทก็จะแบ่งสัดส่วนให้เป็นหุ้น และมีผลตอบแทนเป็น เงินปันผล ซึ่งทางบริษัทจะมีการกำหนดว่าเงินปันผลจ่ายกี่ครั้งและเมื่อไหร่ ขึ้นกับผลประกอบของในแต่ละปี

การลงทุนของตราสารทุนนั้น เราต้องมีความมั่นใจว่าธุรกิจที่เราจะเลือกลงทุนนั้นมีความมั่นคง มีโอกาสที่จะเติบโตและมีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน เราก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจที่เราสนใจอยากจะลงทุน ถึงแม้ว่าบางอย่างอาจไม่ได้ใช้เงินลงทุนมากนัก แต่ยังไงเราก็ต้องอยากเห็นธุรกิจของเรามีความเติบโตเป็นธรรมดาแน่นอน

ความแตกต่างระหว่าง ตราสารหนี้ กับ ตราสารทุน

อย่างที่รู้กันว่าทั้ง ตราสารหนี้ และ ตราสารทุน ต่างก็เป็นการลงทุนเหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน โดย ตราสารหนี้ “นักลงทุน” จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ในขณะที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ จะมีสถานะเป็น “ลูกหนี้” โดยเจ้าหนี้จะได้รับ “ดอกเบี้ย” เป็นผลตอบแทนตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบสัญญาจะได้รับ “เงินต้น” เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงได้อีกด้วย 

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ ตราสารทุน ที่จะต้องเป็น “เจ้าของกิจการ” หรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของธุรกิจ โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็น “เงินปันผล” ได้รับผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท ตราสารทุนจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น มีโอกาสขาดทุนแต่ก็มีโอกาสได้รับกำไรเป็นกอบเป็นกำได้เหมือนกัน

ไม่ว่าการลงทุนแบบไหนเราก็ต้องมีการศึกษาหาข้อมูลในสิ่งที่เราจะลงทุนเสมอ เพราะทุกการลงทุนนอกจากเงินและกำไรแล้ว ยังรวมถึงเวลาที่เราได้ลงทุนรวมไปด้วย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ตั้งไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่