fbpx
Search
Close this search box.

ทำไม “หมี” ถึงใช้เรียกตลาดขาลง “กระทิง” ถึงใช้เรียกตลาดขาขึ้น

สารบัญ

เพราะอะไรตลาด “หมี” ถึงใช้เรียกแทนตลาด “ขาลง”

              หากเราเคยดูสารคดีที่เกี่ยวกับหมี เราจะสังเกตได้ว่าเวลาที่เขาต่อสู้ หรือออกล่า ลักษณะท่าทางให้การต่อสู้ มีลักษณะที่ยืนขึ้น หรือยกตัวขึ้นมา และตว่ำมือตบลงไปที่คู่ต่อสู้ ในตลาดก็เช่นกัน ก่อนที่ตลาดจะตก หรือร่วงลงมา ก็จะทำการเทคตัว หรือยกตัวขึ้นก่อน จะทำการร่วงลงมาคล้ายๆ กับการตบ หรือตะปบลงมาของหมี ดังนั้น ด้วยลักษณะท่าทางของหมีเองจึงทำให้กลายตัวแทน หรือชื่อของตลาดขาลง ที่หลายๆคนอาจจะไม่ชอบสักเท่าไหร่ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่กระทิงกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมา

เพราะอะไรตลาด “กระทิง” ถึงใช้เรียกแทนตลาด “ขาขึ้น”

          ชื่อเรียกแทนตลาดขาขึ้นนี้เอง ก็มาจากลักษณะของการต่อสู้เช่นกัน ซึ่งในที่นี้ เป็นของ “กระทิง” ลักษณะการต่อสู้ของกระทิงเองจะเริ่มจากกดหัว และเขาลง เพื่อที่จะทำการขวิด และทิ่มแทงใส่คู่ต่อสู้ ในตลาดเองก็เช่นกัน ก่อนตลาดจะขึ้นจะมีการปรับตัวลงมาเพื่อปรับฐาน และกลับตลาดขึ้นไป หรือขวิดขึ้นไปนั่นเอง ดังนั้นกระทิงจึงได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของตลาดขึ้นที่ใครๆ เห็นก็ยิ้มไปตามๆ กัน

             และมีการสันนิษฐานว่าการใช้สัตว์เพื่อเปรียบเปรยภาวะตลาดหุ้นนั้นมีต้นกำเนิดมาจากการแสดงต่อสู้สัตว์ที่ได้รับความนิยมในอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 16 – 19 โดยหมีมีท่าทางการต่อสู้และพฤติกรรมการโจมตีเหยื่อด้วยการใช้อุ้งมือตะปบลง เหมือนราคาหุ้นที่ร่วงลงมา ขณะที่กระทิงจะต่อสู้โดยการขวิดขึ้น เหมือนราคาหุ้นที่ทะยานขึ้นนั่นเอง

          ส่วนสาเหตุที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ตลาดหมี” นั้น มีหลายทฤษฎีด้วยกัน โดยทฤษฎีหนึ่งได้เปรียบภาวะนี้กับ “การจำศีล” ของหมี ซึ่งนักลงทุนมักจะเก็บเงินทุนไว้ใน “ภาวะจำศีล” จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

              นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ตลาดกระทิง” (bull market) ซึ่งมีความหมายตรงข้าม โดยหมายถึงช่วงขาขึ้นของตลาดหุ้น และนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจ

          อย่างไรก็ตามไม่วว่า “ตลาดหมี” หรือ “ตลาดกระทิง” ย่อมีโอกาสเสมอ เพียงแต่เราต้องมีว่าเรายืนอยู่จุดไหนของตลาด เพื่อที่เราจะมองหาโอกาสในได้ในทุกสภาวะตลาดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่