ถ้าให้นึกถึงเทศกาลที่มีสีแดง สิ่งแรกที่นึกถึงเป็นเทศกาลอะไร สำหรับผู้เขียนคงเป็นเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นเทศกาลเต็มไปด้วยผู้คนสวมใส่ชุดสีแดง กระดาษตัดสีแดง หรือแม้แต่ซองอั่งเปา แต่ก็นั่งนึกอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมสีแดง ที่ผู้ใหญ่ชอบบอกว่าใช้สีนี้จะเฮงจะรวย จึงกลายเป็นสีมงคลของชาวจีน วันนี้ เอซียู เพย์ จะพามาไขข้อสงสัยถึงต้นกำเนิด วัฒนธรรม และความเชื่อของชาวจีนกับสีแดงไปพร้อมกัน
ในสมัยโบราณชาวจีนนิยมสีแดงจากการบูชาดวงอาทิตย์ ไฟ และ เลือด เนื่องจากดวงอาทิตย์ช่วยให้พืชเติบโต ไฟช่วยขับไล่สัตว์ร้าย เลือดคือตัวแทนของมนุษย์ ดังนั้นสีแดงจึงเป็นสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีนในยุคนั้น
นอกจากนี้มีตำนานเล่าว่า ผู้ก่อตั้งและจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น (202 – 195 BC) ถูกแต่งตั้งให้เป็นบุตรแห่งจักรพรรดิแดง หลังจากนั้นเอง ผู้คนต่างหันมาบูชาสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งอำนาจและศักดิ์สิทธิ์
ส่วนการนิยมใช้สีแดงมากขึ้นของบรรพบุรุษชาวจีน น่าจะเริ่มต้นจาก “วันตรุษจีน” ตำนานพื้นบ้านเล่าว่า ในสมัยโบราณมีสัตว์ประหลาดนามว่า “เหนียน” (年) เข้ามาบุกทำร้ายผู้คนและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านตอนกลางคืนวันปีใหม่ แต่สัตว์ประหลาดตัวนี้มีจุดอ่อนสำคัญคือมันกลัวเสียงของประทัดและสีแดง ทำให้บรรพบุรุษชาวจีนต่างพากันสวมชุดสีแดง และประดับบ้านเรือนด้วยกระดาษที่ใช้ติดหน้าบ้าน โคม ประทัด ตลอดจนซองอั่งเปาล้วนเป็นสีแดง ในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย
แม้ว่าจักรพรรดิจีนในอดีตจะมีความโปรดเรื่องสีที่แตกต่างกัน แต่ทุกพระองค์ล้วนโปรดสีแดงเหมือนกัน สังเกตได้จากอาคารนับพันหลังและห้องนับหมื่นห้องในพระราชวังต้องห้ามกรุงปักกิ่งที่มีขนาด 720,000 ตารางเมตร สิ่งที่โดดเด่นที่สุดก็คงเป็นกำแพงวังและประตูวังที่ถูกทาด้วยสีแดงสะดุดตา พร้อมทั้งเสาและประตูขนาดใหญ่ที่ทาด้วยสีแดงเช่นกัน
นอกจากนี้ยุคราชวงศ์หมิง เนื่องจากเป็นราชวงศ์แซ่จู (朱แปลว่า สีแดงสด) ทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรมของชาติจึงส่งเสริมให้ใช้สีแดงเป็นหลัก เช่น ในพิธีแต่งงานของชาวจีน จึงมีสีแดงเป็นสีหลักในงาน ตั้งแต่ใบสัญญาหมั้นหมาย ชุดแต่งงาน ผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว การตกแต่งจวนและโคมไฟด้วยสีแดง โดยเชื่อกันว่าสีแดงจะทำให้ชีวิตยิ่งเพิ่มพูน ดังนั้นวัฒนธรรมสีแดงจึงค่อยๆแทรกซึมเข้าไปในทุกด้านของชาติจีนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติจีนในที่สุด
ในยุคราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงมีการใช้สีแดง สำหรับหนังสือที่ผ่านการพระราชวินิจฉัยโดยฮ่องเต้แล้วและออกแจกจ่ายออกไป เรียกว่า “ฉบับแดง” (红本) มากกว่านั้นยังมีตำนานเล่าว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงชอบใช้พู่กันแต้มหมึกสีแดงชาดทำเครื่องหมายลงบนหนังสือกราบทูลจากหัวเมือง เพื่อให้รู้ว่าหนังสือฉบับนั้นได้รับการวินิจฉัยหรือยังไม่ได้รับ และต่อมาวิธีการนี้ตกทอดมาถึง คุณครูจีนที่ใช้แต่เครื่องเขียนสีแดงในการตรวจแก้การบ้านจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าส่วนใหญ่สีแดงจะถูกนำใช้ไปในงานมงคล แต่ก็ไม่ใช่ใช้กันพร่ำเพรื่อได้ทุกโอกาส เช่น ชุดแดง หมวกแดง รองเท้าแดง จะถูกห้ามใช้ในการสวมใส่ไปร่วมงานอวมงคล ในสมัยราชวงศ์ถัง สีแดงและเหลืองกลายเป็นสีประจำพระองค์ของฮ่องเต้ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นสีของพระอาทิตย์ ซึ่งฮ่องเต้เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ และ “ฟ้าไม่อาจมีดวงอาทิตย์พร้อมกันสองดวง” ชาวบ้านและขุนนางจึงถูกสั่งห้ามสวมใส่ชุดสีแดงเหลืองโดยเด็ดขาด โดยชาวบ้านจะใส่ชุดสีเทา สีดำ หรือน้ำเงิน และเก็บชุดสีแดงไว้ใส่เฉพาะงานเฉลิมฉลอง งานมงคลเท่านั้น จนวัฒนธรรมสืบทอดมาถึงเหล่าอาม่า อากง และชาวจีนในปัจจุบันนั่นเอง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |