fbpx
Search
Close this search box.

ทำความเข้าใจ ภาวะ ‘PTSD’ ผลกระทบจากเหตุสะเทือนใจ

ภาวะ PTSD

หลังจากเกิดเหตุการณ์สูญเสียหรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน นอกจากการบาดเจ็บภายนอกแล้ว ภายในสภาพจิตใจของเราก็ยังได้รับผลกระทบเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็อาจส่งมากจนกระทบการใช้ชีวิตได้ ซึ่งครั้งนี้เอซียูเพย์ จะพามาทำความรู้จักกับที่โรค PTSD ว่ามีอาการและมีวิธีการรักษาอย่างไรได้บ้าง

PTSD เหตุสะเทือนใจที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ

โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder ที่เรารู้จักว่า “โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ” เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์คุกคามที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเกิดการบาดเจ็บที่มีความเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น การก่อการร้าย สงคราม การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจเป็นผู้ประสบเหตุโดยตรงหรือได้รับทางอ้อม โดยความเครียดเหล่านี้เองส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

อาการของโรค PTSD

  • รู้สึกเหมือนเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำ เช่น มีอาการฝันร้าย ฝันถึงเหตุการณ์นั้นบ่อย ๆ
  • พยายามหลีกเลี่ยงกับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ เช่น ไม่ไปในสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ พยายามไม่พูดถึง
  • อารมณ์หรือการคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เช่น รู้สึกห่างเหิน ไม่ยินดียินร้าย ไม่สามารถรู้สึกด้านบวกได้
  • ตื่นตัวมากเกินปกติ เช่น นอนไม่หลับ กลัวหรือตกใจ ง่ายกว่าปกติ
  • นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า การติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD

เพราะโรค PTSD นั้นจะส่งผลต่อจิตใจ รวมถึงด้านอารมณ์ของผู้ป่วยไปด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย 

  • โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
  • อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น

ทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญภาวะ PTSD

เมื่อเผชิญหน้ากับภาวะ PTSD ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สามารถเข้ารับการรักษาได้หลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้ 

  • เรียนรู้และรับมือ ถ้ามีภาวะข้างต้นต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
  • ดูแลตนเองมากขึ้น บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม
  • การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนความคิด หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัว และเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้อาจได้รับการพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่