รู้หรือไม่ว่าฝากเงินเฉย ๆ ไว้ในธนาคารก็เสียภาษีได้เหมือนกัน ซึ่งภาษีที่ว่านั้นก็คือ “ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก” แล้วภาษีนี้ต้องมีเงินในธนาคารเท่าไหร่ ถึงจะถึงเกณฑ์จ่ายบ้าง ครั้งนี้ ACU PAY จะมาแชร์ความรู้เรื่องนี้และการฝากเงินแบบไม่เสียภาษีให้ด้วย ตามมาทำความรู้จักกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝากกันเลย
ถ้าได้รับดอกเบี้ยเงินและผลตอบแทนเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคาร “ทุกบัญชี” รวมกันภายใน 1 ปีปฏิทิน (1 มกราคม – 31 ธันวาคม) โดยมียอดรวมทั้งหมดเกิน 20,000 บาท เราต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยจ่าย ในปีนั้นทันที ตัวอย่างเช่น
กรณีที่ 1 มีเงินฝากในบัญชีเดียว
นาย A มีเงินฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ 1 บัญชี ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากปีนี้ เท่ากับ 20,000 บาทถ้วน ซึ่งยอดดอกเบี้ยนี้ยังไม่เกิดที่กฎหมายกำหนด (20,000 บาท) ดังนั้น นาย A ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากในปีนี้
ในทางกลับกัน นาย B มีเงินฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ 1 บัญชี ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากปีนี้ เท่ากับ 20,050 บาท ซึ่งยอดดอกเบี้ยนี้มากกว่ายอดที่กฎหมายกำหนด (20,000 บาท) ดังนั้น นาย B ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากในปีนี้
กรณีที่ 2 มีเงินฝากมากกว่า 1 บัญชี
นาย C มีเงินฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ 2 บัญชีที่ธนาคารเดียวกัน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละบัญชีเท่ากับ 10,500 บาทในปีนี้ โดยได้รับดอกเบี้ยรวมกัน 2 บัญชีเท่ากับ 21,000 บาท ซึ่งยอดดอกเบี้ยนี้มากกว่ายอดที่กฎหมายกำหนด (20,000 บาท) ดังนั้น นาย C ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากในปีนี้
ในปัจจุบันถ้ามีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่เราได้รับ เกิน 20,000 บาท ทางธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที แต่สำหรับใครที่แจ้งไม่ประสงค์ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เมื่อปี 62 คนนั้นจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ตั้งแต่บาทแรก
กรณีที่เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากยอดดอกเบี้ยที่ได้รับนั้น เรามีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยมายื่นภาษีประจำปี เพื่อขอคืนภาษีได้ ถ้าหากเรามีฐานภาษีไม่ถึง 15% ก็มีสิทธิได้คืนภาษี หรือถ้าหากเรามีฐานภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไปก็สามารถปล่อยให้หักไป แล้วไม่ต้องเอามายื่นภาษีก็ได้
สำหรับทางเลือกของคนที่ชอบฝากเงิน และอยากได้ดอกเบี้ยเต็ม ๆ โดยที่ไม่อยากเสียภาษี แนะนำ เงินฝากเผื่อเรียกของธนาคารรัฐต่าง ๆ เช่น ออมสิน ธ.ก.ส. และฝากประจำแบบปลอดภาษี ซึ่งระยะเงินฝากมีตั้งแต่ 24 – 36 เดือน และต้องฝากเงินรวมทั้งหมดตลอดระยะเวลาไม่เกิน 600,000 บาท โดยเงื่อนไขเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร เช่น ต้องฝากเงินเป็นจำนวนเท่ากันทุกเดือน สมมุติฝากเดือนละ 2,000 บาท ทุกเดือนจนครบกำหนดระยะเวลาฝาก ถึงจะได้รับดอกเบี้ยตามเงื่อนไข ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีจะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไป และไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% อีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้าง การฝากเงินในบัญชีก็มีเรื่องให้เราปวดหัวอยู่บ้างเหมือนกัน แต่การที่เราได้รู้ถึงหลักการเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก การขอเงินคืน และฝากเงินแบบไหนไม่เสียภาษี จะทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องภาษีมากขึ้นไม่มากก็น้อย
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |